การประเมินความเสี่ยงและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเสี่ยงต่อการปวดบริเวณคอ ไหล่ หลัง ของทันตบุคลากรในสถานพยาบาลของรัฐ จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ชลิตา ช่ออบเชย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ทันตบุคลากร, เมตริกความเสี่ยงต่อ MSDs, การปวด คอ ไหล่ หลัง , RULA

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดคอ ไหล่ หลังในทันตบุคลากร จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ทันตบุคลากรในสถานพยาบาลของรัฐ จังหวัดเพชรบุรี ทำการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2563 – กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 118 คน
โดยใช้แบบสอบถามประเมินความรู้สึกไม่สบายบริเวณคอ ไหล่ หลังของร่างกายจากการทำงาน การสังเกตท่าทางการทำงานด้วยการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดยใช้วิธี RULA (Rapid Upper Limb Assessment) และประเมินความเสี่ยงต่อการปวดคอ ไหล่ หลัง โดยเมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับเสี่ยงโดยใช้สถิติพหุถดถอยโลจิสติกส์แสดงค่า Adjusted odds ratio (ORAdj.) ช่วงความเชื่อมั่น 95%CI ที่ระดับ
นัยสำคัญ p-value < 0.05 ผลการศึกษาพบว่าระดับความรู้สึกไม่สบายทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของทันตบุคลากรในสถานพยาบาลของรัฐ จังหวัดเพชรบุรี ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยระดับความรู้สึกไม่สบายตั้งแต่ปานกลางขึ้นไป พบตำแหน่งที่มีปัญหาสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ คอ ร้อยละ 55.08 รองลงมา คือ ไหล่ ร้อยละ 46.61 และหลัง 41.53 ตามลำดับ และจากเมตริกความเสี่ยง ทันตบุคลากรมีความเสี่ยงสูงต่อการปวดคอ ไหล่ หลัง ร้อยละ 42.37 และเสี่ยงค่อนข้างต่ำ ร้อยละ 56.63 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับเสี่ยงสูงต่อการปวดคอ ไหล่
หลัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ทันตบุคลากรที่มีสถานภาพสมรสมีคู่ (ORAdj. = 5.26, 95%CI = 1.84 ถึง 15.03) ทันตบุคลากรที่มีโรคประจำตัว (ORAdj. = 4.49, 95%CI = 1.18 ถึง 16.98) อุปกรณ์สำหรับการออกหน่วยบริการทันตกรรมที่ไม่เหมาะสม (ORAdj. = 7.75, 95%CI = 1.57 ถึง 38.28) ท่านั่งที่หลังงอในการให้บริการทันตกรรม (ORAdj. = 3.00, 95%CI = 1.05 ถึง 8.56) และภาระงานที่มีความเสี่ยงอันตรายหรืออุบัติเหตุในระดับความเสี่ยงค่อนข้างสูง (ORAdj. = 3.69, 95%CI = 1.22 ถึง 11.13) ดังนั้นเมตริกความเสี่ยงนี้เป็นประโยชน์ต่อการเฝ้าระวัง และปัจจัยเสี่ยงที่พบสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการปวดคอ ไหล่ หลัง ในทันตบุคลากรได้ต่อไป

References

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2555 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงจากhttp://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/4_5_situation.pdf

ทรูปลูกปัญญา. ทันตแพทย์ [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงจาก https://www.trueplookpanya.com/explorer/occupation-step3/73.

นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล. อาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของทันตแพทย์. Journal of the Dental Association of

Thailand 2559; 67(2): 72-80.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, วรวรรณ ภูชาดา. ความเครียดจากการทำงานและการปวดคอ ไหล่ หลัง ในทันตบุคลากรจากโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดขอนแก่น. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2559; 28(3): 287-99.

Dajpratham P, Ploypetch T, Kiattavorncharoen S, Boonsiriseth K. Prevalence and associated factors of musculoskeletal pain among the dental personnel in a dental school. Journal of the Medical Association of Thailand 2010; 93(6): 714-21.

พรสวรรค์ ธนธรวงศ์. การศึกษาปัจจัยเสี่ยงจากการทำงานต่อการเกิดอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกของทันตแพทย์กลุ่มหนึ่ง. วิทยาสารทันต

สาธารณสุข 2554; 16(2): 9-23.

Chaiklieng S. and Suggaravetsiri P. Ergonomic risk and neck shoulder back pain among dental Professionals. Procedia manufacturing 2015; 3: 4900-5.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น:คลังนานาวิทยา; 2551.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, วิภารัตน์ โพธิ์ขี. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ปัจจัยเสี่ยงความเสี่ยงทางการยศาสตร์ และความชุกของการปวดหลังของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

Chaiklieng S. Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chip processing workers. PloS ONE 2019; 14(12):

e0224980. doi: 10.1371/jounal. pone. 0224980.

McAtamney L, Corlett E.N. RULA: a survey method for the investigation of work-related upper limb disorders Appl Ergonomics 1993; 24: 91-9.

Jahanimoghadam F, Horri A, Hasheminejad N, Hashemi Nejad N, Baneshi MR. Ergonomic Evaluation of Dental Professionals as Determined by Rapid Entire Body Assessment Method in 2014. Journal of Dentistry, Shiraz University of Medical Sciences 2018; 19(2): 155-8.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, รัชติญา นิธิธรรมธาดา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดคอ ไหล่ หลังของทันตบุคลากรในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดขอนแก่น.

วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2559; 46(1): 42-56.

Feng B., Liang Q., Wang Y., Andersen L.L., Szeto G. Prevalence of work-related musculoskeletal symptoms of the neck and upper extremity among dentists in China. BMJ Open 2014; 4: e006451. doi:10.1136/bmjopen-2014-006451.

Barghout N.H., Al-Habashneh R, AL-Omiri M.K. Risk Factors and Prevalence of Musculoskeletal Disorders among Jordanian Dentists. Clinical and investigative Medicine 2011; 39(6): S192-6.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, วรวรรณ ภูชาดา. ความเครียดจากการทำงานและการปวดคอ ไหล่ หลังในทันตบุคลากร จากโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดขอนแก่น. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2559; 28(3): 287-99.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-11