รูปแบบการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่จากการตรวจผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน ภายใต้สภาวะความชุกต่ำ ในพื้นที่อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา สิมมาทัน สำนักงาน้องกันควบคุมโรคที่ 7 จ.ขอนแก่น
  • นิชนันท์ โยธา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • นิภาพร ฮามพิทักษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • สมัย ทองพูล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาดูน
  • อิทธิเดช ไชยชนะ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่, การตรวจผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน, สภาวะความชุกต่ำ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่จากการตรวจผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านของผู้ป่วยโรคเรื้อน พัฒนาแผนการดำเนินงานและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่จากการตรวจผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน เพื่อหารูปแบบการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่จากการตรวจผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน ภายใต้สภาวะความชุกต่ำ โดยนำแนวคิดวงจรคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีทั้งหมด 2 ชุด ชุดที่ 1 แบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคเรื้อนระดับอำเภอ และระดับตำบล อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคเรื้อนระดับอำเภอและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 20 คน ชุดที่ 2 แนวทางการสนทนากลุ่ม โดยการอภิปรายและสนทนากลุ่ม กลุ่มเป้าหมายเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ และนักวิชาการสาธารณสุขจากโรงพยาบาลนาดูนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 10 คน ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุที่ไม่ได้มีกิจกรรมการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ในพื้นที่ ได้แก่ ด้านนโยบาย ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดของหน่วยงาน ด้านระบบบริการสาธารณสุข ขาดระบบการคัดกรองและการส่งต่อข้อมูล ด้านบุคลากรสาธารณสุข ขาดความรู้ และด้านประชาชน ขาดความตระหนัก ไม่สนใจ เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกับทีมสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ได้เกิดแผนในการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อนในพื้นที่ จำนวน 5 แผน ได้แก่ 1.พัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขด้านการควบคุมโรคเรื้อน 2.การค้นหาเชิงรุก (กลุ่มเสี่ยง) 3.พัฒนาศักยภาพให้ความรู้ด้านโรคเรื้อนกับแกนนำ อาสาสมัครชุมชน 4.พัฒนาศักยภาพ ให้ความรู้ในกลุ่มบุคลากรสาธารณสุข ด้านการจัดทำแผน ระบบการส่งต่อข้อมูล 5.กิจกรรมการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เพื่อการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค ผลการศึกษา ควรมีการพัฒนาระบบคัดกรองผู้ที่มีอาการสงสัยโรคเรื้อน จัดทำฐานข้อมูลผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน ผู้สัมผัสโรคในชุมชน การส่งต่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสานให้เกิดความเชื่อมโยงของระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ เพื่อให้ถูกกำหนดเป็นนโยบายในระดับพื้นที่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับทราบถึงข้อมูลสถานการณ์ของโรคและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพของคนในชุมชน กำหนดให้เป็นโรคที่ยังเป็นปัญหาในพื้นที่ เพื่อให้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสุขภาพตำบลในการจัดการปัญหาโรคเรื้อน มุ่งสู่การลดโรคอย่างเป็นรูปธรรม เกิดรูปแบบที่เหมาะสมของการดำเนินงานควบคุมโรคเรื้อนในสถานการณ์ความชุกต่ำ

 

References

กองโรคเรื้อน. คู่มือการวินิจฉัยและรักษาโรคเรื้อน. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2544.

ธีระรามสูต. บทบาทพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ราชวงศ์จักรีด้านงานโรคเรื้อน ในรอบ 105 ปีที่ผ่านมา. กรุงเทพฯ: บริษัท มาสเตอร์คีย์ จำกัด; 2555.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก (Active case finding) ในการป้องกันควบคุมวัณโรคเอดส์ซิฟิลิส โรคเรื้อน มาลาเรียและโรคพยาธิใบไม้ในตับ [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก:http://plan.ddc.moph.go.th/meettingplan/index.html.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์และนโยบายการดำเนินงานควบคุมโรคเรื้อนภายใต้สภาวะความชุกต่ำสำหรับบุคลากรสาธารณสุขระดับประเทศเขตจังหวัดและอำเภอปีงบประมาณ 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1503120201009045436.pdf

สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. การประเมินผลงานควบคุมโรคเรื้อนปี2558. นนทบุรี: สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค;2559.

ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์, พจนา ธัญญกิตติกุล. การประเมินประสิทธิผลโครงการกำจัดโรคเรื้อนในแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2561; 25(3): 109-20.

Aranka VB, Ruth MH, Mitzi MW, Mohammad AA,MishraCP,WimHV.Community stigma and desired social distance towards people affected by leprosy in Chandauli District, India. Leprosy Review 2019; 90(4): 418-32.

ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์. การประเมินประสิทธิผลโครงการกำจัดโรคเรื้อนภายใต้แผนยุทธศาสตร์โรคเรื้อน 5 ปี (พ.ศ.2553-2557) และแผนยุทธศาสตร์โรคเรื้อน 6 ปี (พ.ศ.2558-2563) พ.ศ.2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://rajpracha.ddc.moph.go.th/site/documents/research/Effectiveness%20of%20the%20Leprosy%20Elimination%20Program.pdf

สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค.คู่มือการวินิจฉัยโรคเรื้อน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักพิมพ์พระพุทธศาสนา; 2553.

Bloom BS.Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30