การสัมผัสความร้อนและการเจ็บป่วยจากความร้อนของเกษตรกรตัดอ้อย ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ทิพย์อัปษร วิชาทร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

เกษตรกรตัดอ้อย, การสัมผัสความร้อน, การเจ็บป่วยจากความร้อน

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ แบบพรรณนาภาคตัดขวาง (cross-sectional descriptive study)มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการสัมผัสความร้อนและการเจ็บป่วยจากความร้อนของเกษตรกรตัดอ้อย ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ จำนวนกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรตัดอ้อย 379 คน เก็บข้อมูลระหว่าง เดือนธันวาคม 2563 ถึง กุมภาพันธ์ 2564 ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สำหรับข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมการทำงาน อาการเจ็บป่วยจากความร้อนจากการทำงานตัดอ้อย บันทึกความเร็วลม และความชื้นสัมพัทธ์ ตรวจวัดอุณหภูมิ ด้วยเครื่อง Wet bulb globe temperature หรือ WBGT ของสภาพแวดล้อมในการทำงานตัดอ้อย ผลพบว่าเกษตรกรตัดอ้อยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 54.62 อายุเฉลี่ย 49.08 ปี อาการหรือผลกระทบจากการทำงานสัมผัสความร้อน พบร้อยละ 70.71 โดยสามลำดับแรกคือ กระหายน้ำหรือหิวน้ำอย่างรวดเร็ว ร้อยละ 43.83 รองลงมาคือ ผลประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ร้อยละ 38.26 และผิวหนังแห้ง ร้อยละ 32.80 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามระดับความรุนแรงของอาการ พบอาการที่ระดับรุนแรงมาก คือ อาการปวดเกร็งที่กล้ามเนื้อ แขน ขา หรือท้องหรือเป็นตะคริว พบสูงสุด รองลงมาคืออาการหน้ามืด และบวมที่ข้อเท้า ขา แขน มือ ตามลำดับ ด้านสภาพแวดล้อมคือความชื้นสัมพัทธ์ 51% - 64% ความเร็วลม 9 – 18 km/h การสัมผัสความร้อน WBGT เฉลี่ยคือ  30.64 องศาเซลเซียส และสูงสุด คือ 31.20 องศาเซลเซียส เทียบกับค่ามาตรฐานการสัมผัสที่อาจส่งผลเครียดจากความร้อน พบว่ามีความเสี่ยงปานกลาง จึงเสนอแนะให้มีการเฝ้าระวังอาการป่วยจากความร้อนและส่งเสริมการประเมินความเสี่ยงต่อการสัมผัสความร้อนของเกษตรกรตัดอ้อยในฤดูร้อนจัดเพื่อการป้องกันการเจ็บป่วยจากความร้อนของเกษตรกรและการลดของประสิทธิภพการทำงาน

References

Aragón–Durand F, Cramer W, Humphreys S, Kainuma M, Kala J, Mahowald N, et al. Special Report on Global warming of 1.5° C (SR15)-Chapter 1:Framingand Context [Internet]. 2018 [Cited 11 February 2020]. Available from: https://report.ipcc.ch/sr15/pdf/sr15_chapter1.pdf

วิกิพีเดีย. ภูมิศาสตร์ไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์2563]. เข้าถึงได้จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/ภูมิศาสตร์ไทย

Junior BB, Lago EMG, Martins ARB, Zlatar T, da CruzFM, Vasconcelos BM,etal. Healthrisks in tropical climate agriculture: a set of case studies of sugarcane workers. IJOOES 2019; 3(3): 44-52.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค.โรคและภัยสุขภาพจากอากาศร้อน [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/4_11_situation.pdf

ธัญญารัตน์ ทราบจังหรีด, อุไรวรรณ อินทร์ม่วง. การเจ็บป่วยที่สัมพันธ์กับความร้อนของเกษตรกร ตำบลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559; 9(2): 53-9.

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ จังหวัดชัยภูมิ.แผนพัฒนาจังหวัดชัยภูมิ พ.ศ.2561-2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oic.go.th/fileweb/cabinfocenter21/drawer005/general/data0000/00000311.pdf

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. รายงานพื้นที่ปลูกอ้อยปีการผลิต 2559/60 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-9999.pdf

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. รายงานการผลิตอ้อยของประเทศไทยประจำปีการผลิต 2560/61 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-3254.pdf

Health Data Center; HDC. อัตราป่วยโรคจากความร้อน (กลุ่ม Heat stroke) จากการทำงานเขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดชัยภูมิ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์2563]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.

สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยภูมิ. พื้นที่ตำบล และพื้นที่ทางการเกษตร จังหวัดชัยภูมิ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.moac-info.net/Chaiyaphum/index.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วีอินเตอร์พริ้นท์; 2549.

อุมา ลางคุลเสน, นันทวรรณ วิจิตรวาทการ. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความร้อนที่มีต่อเกษตรกรและพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2561; 24(6): 680-93.

Radir AF, Hashim Z, Phan K, Sao V, Hashim JH. The Impact of Heat on Health and Productivity Among Sugarcane Workers in Kampong Cham, Cambodia. Asia Pacific Environmental and Occupational HealthJournal 2017; 3(1): 9-19.

ปฐมฤกษ์ มีสมบัติ, สุนิสา ชายเกลี้ยง, อนุชนรา ตาลกุล คัสเธอร์. การประเมินความเสี่ยงต่อการป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับความร้อนจากการทำงานของเกษตรกรเพาะปลูก อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2563; 13(2): 45-63

กองวิศวกรรมการแพทย์. การศึกษาระบบปรับอากาศและการระบายอากาศสำหรับหน่วยจ่ายกลางเพื่อความสะอาดป้องกันการติดเชื้อของผู้ป่วยและความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน. [อินเทอร์เน็ต]. 254 [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤษภาคม 2564] เข้าถึงได้จาก: http://203.157.80.80/edoc/myfile/20210507115342_air.pdf

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.คู่มือการติดตามสภาพอากาศด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ www.thaiwater.net. [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤษภาคม 2564] เข้าถึงได้จาก: http://tiwrmdev.haii.or.th/web/attachments/ 292_webmanual-130654.pdf

Work place safety and health councilin collaboration with the ministryof manpower. Work place safety and health guidelines managing heat stress in the workplace [Internet]. 2020. [Cited 22 April 2021]. Available from: https://www.tal.sg/wshc/-/media/TAL/Wshc/Resources/Publications/WSH-guidelines/Files/Managing_Heat_Stress_in_the_Workplace.pdf

Boonruksa P, Maturachon T, Kongtip P, Woskie S. Heat stress, physiological response, and heat-related symptoms among Thai sugarcane workers. Int J Environ Res Public Health 2020; 17(17): 6363.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29