การประเมินผลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 โดยประยุกต์ใช้แนวทาง CIPP โมเดล

ผู้แต่ง

  • ประวีณา สัชชาพงษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7จังหวัดขอนแก่น
  • สิรินทิพย์ อุดมวงค์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • ดวงใจ ไทยวงษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค

บทคัดย่อ

การประเมินผลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 โดยประยุกต์ใช้แนวทาง CIPP โมเดล การศึกษานี้ เป็นการวิจัยประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทของการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าตามาตรฐานศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค 3) ประเมินกระบวนการตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค 4) ประเมินผลลัพธ์ตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค กลุ่มตัวอย่างคือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด รวม 23 แห่งจากการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สังเกต ของคณะผู้วิจัย ตามแบบประเมินตามแนวทาง CIPP โมเดลที่พัฒนาขึ้นจากมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค เก็บข้อมูลระหว่างเดือน พฤษภาคม 2563-
กรกฎาคม 2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ จำนวน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กผ่านการประเมินเพียง 3 แห่ง (ร้อยละ 13.04) โดยสามารถสรุปผลการประเมิน 6 ประเด็นตามตัวชี้วัด ดังนี้ 1) ผลการประเมินบริบท ส่วนใหญ่อยู่ระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.34 S.D. = 0.66) คิดเป็นร้อยละ 94.00 (บรรลุตามตัวชี้วัด) 2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ผ่านเกณฑ์ประเมิน ร้อยละ 67.91 โดยต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (ไม่บรรลุตามตัวชี้วัด) 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 56.09 (ไม่บรรลุตามตัวชี้วัด) 4) ผลการประเมิน ด้านผลลัพธ์ มีเกณฑ์ตัวชี้วัดดังนี้ 4.1) ผลการประเมินความรู้ของครูและผู้ดูแลเด็กผ่านเกณฑ์ร้อยละ 73.90 (ไม่บรรลุตามตัวชี้วัด) 4.2) ผลการประเมินด้านพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคผ่านเกณฑ์ประเมิน ร้อยละ 67.12 (ไม่บรรลุตามตัวชี้วัด) 4.3) ผลการประเมินด้านความพึงพอใจส่วนใหญ่ อยู่ระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.66 S.D. = 0.72) คิดเป็นร้อยละ 96.00 (บรรลุตามตัวชี้วัด)

ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรมีการจัดการเชิงระบบตามบริบทของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเพิ่มการกำหนดปัจจัยนำเข้าที่สอดคล้องในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ควรมีการประเมินจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำจุดอ่อนที่เกิดขึ้นมาปรับปรุง มีการถ่ายทอดความรู้และกระบวนการทำงานให้มีทักษะใน
การทำงานอย่างต่อเนื่อง

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. แนวทางการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย : 2556.

กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. โปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาด [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.boeeoc.moph.go.th

ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: 2550.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการประเมินศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย: 2555.

กรมควบคุมโรค สำนักโรคติดต่อทั่วไป. มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์เด็กปลอดโรค ฉบับที่ใช้ประเมินปีงบประมาณ 2561. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อทั่วไป: 2561.

สมนึก เลิศสุโภชวณิชย์, สมคิด คงอยู่, เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย, ปรารถนา สุขเกษม, รุ่งเรือง กิจผาติ. การศึกษาประสิทธิผลของมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสาร ควบคุมโรค 2557; 40: 310-20.

พรชนก รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, สมนึก เลิศสุโภชวณิชย์, กรรณิการ์ เจริญไทย, ณัฐทิชา หงษ์สามสิบหก. ผลการค้นหาเกณฑ์ที่เป็นประเด็นเพื่อการพัฒนาการ

ดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลตามมาตรการของกรมควบคุมโรค พ.ศ. 2561.

สำราญ ปะสีระวิเส. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กสู่มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค เทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2562.

กาญจนวรรณ บัวจันทร์. ความสำเร็จในการดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคของศูนย์เด็กเล็กที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 18 กุมภาพันธุ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.aihd.mahidol.ac.th/res/wpcontent/files/child/Review.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-11