ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์ในกิจกรรมที่ใช้บริการรถแห่ดนตรีสดของชุมชน จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การควบคุม, การบริโภคแอลกอฮอล์, รถแห่ดนตรีสด, กิจกรรมของชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์ในกิจกรรมที่ใช้บริการรถแห่ดนตรีสดของชุมชน จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนอำเภอหนองเรือ อำเภอเมือง และอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 420 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า อายุ สถานภาพสมรส ระดับชั้นที่สำเร็จการศึกษา ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน การประกอบอาชีพ ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับการแพทย์และสาธารณสุข ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับเครื่องดื่มสุรา เหล้า เบียร์ จำนวนสมาชิกที่อาศัยอยู่ร่วมกันในครัวเรือน ค่านิยม ความเชื่อการจัดกิจกรรมรื่นเริงที่ต้องมีแอลกอฮอล์และดนตรี และค่านิยม ความเชื่อการจัดกิจกรรมรื่นเริงที่ต้องใช้รถแห่ดนตรีสด การขออนุญาตใช้เสียง และการรับรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคแอลกอฮอล์ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์ในกิจกรรมที่ใช้บริการรถแห่ดนตรีสดของชุมชน จังหวัดขอนแก่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) แสดงให้เห็นว่าปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อการควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์ของชุมชนที่ใช้บริการรถแห่ดนตรีสด จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอาจพัฒนาเป็นแนวทาง หรือมาตรการที่เข้มงวดในการรควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์ของชุมชนที่ใช้บริการรถแห่ดนตรีสดต่อไป
References
คมชัดลึก. รถแห่แรงโตสวนกระแส รากหญ้าฟุบ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 9 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:https://www.komchadluek/news/ent/417704.
Bottomline. รถแห่ดนตรีสดจำเลยสังคม? [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2563].เข้าถึงได้จาก: https://bottomlineis.co/Entertranment_Live_Music_Car_Effect.
อรทัย วลีวงศ์.แอลกอฮอล์กับปัญหาอาชญากรรมความรุนแรงความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของสังคม (ร่าง 9 พฤษภาคม 2559) [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 11 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:cas.or.th/wp- content/uploads/2016/05/alh_social_safety_20160512.pdf
World Health Organization. Global status report on alcohol and health 2018. Geneva: World Health Organization; 2018.
ศิราณี ศรีหาภาค, ไพฑูรย์ พรหมเทศ, สุพิศตรา พรหมกูล, แสงดาว จันทร์ดา, น้ำทิพย์ ไพคำนาม, เสกสรรค์ ศรีหาภาค. สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการรับรู้นโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2563; 14(35): 362-73.
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการควบคุมทางสังคม: มิติทางสังคมวิทยาในกระบวนการยุติธรรมชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2550; 24(1): 18-32.
พัทยา สายหู. กลไกของสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน พ.ศ.2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.stat.bora.dopa.go.th.
Yamane T. Statistics an Introductory Analysis, 2nd ED. New York: Harper and Row; 1967.
เพ็ญพักตร์ ดารากร ณ อยุธยา. ความสำเร็จในการเลิกสุราของผู้ป่วยสุราที่มีโรคร่วมทางจิตเวช. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2556; 27 (1): 1-15.
รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทย ประจำปีพ.ศ.2560/ บรรณาธิการ สาวิตรี อั งษณางค์กรชัย พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:สหมิตรพัฒนาการพิมพ์(1992); 2562.
Chansaeng S, Ketrat K, Nan-udon R, Komolmalai W, Soonthorn S, Sutheeprasert T. Factors related to alcohol consumption behavior among secondary school male in NonthaburiProvince. Community Health Development Quarterly Khon Kaen University 2018; 6(2): 197-213.
ยุพา จิ๋วพัฒนกุล, ธนิษฐา สมัย. การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของครอบครัวไทย.วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(2): 305-11.
ชุติมา บุญกลาง. การศึกษาการดำเนินยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ ระดับชาติในจั งหวัดอำนาจเจริญและศรีสะเกษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี 2561; 7(2): 136-44.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น