ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ธนธร กานตอาภา โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการสูบบุหรี่, ปัจจัยเสี่ยง, ประถมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

    

การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 229 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 6 ส่วนได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพแวดล้อม ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ด้วยสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก (Multiple logistic regression) นำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วย Adjusted Odd Ratio (ORadj) และช่วงเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 (95%CI)

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง เคยสูบบุหรี่ ร้อยละ 25.33 ปัจจุบันยังสูบบุหรี่ ร้อยละ 3.90 เริ่มลองสูบบุหรี่ครั้งแรกที่อายุเฉลี่ย 9+1.44 ปี ส่วนใหญ่ได้บุหรี่มวนแรกจากเพื่อน ร้อยละ 46.55 ได้จากรุ่นพี่ที่โรงเรียนร้อยละ 22.41 และได้จากบุหรี่ที่ทิ้งแล้ว ร้อยละ10.34 สถานที่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่สูบที่บ้าน ร้อยละ 32.76 และสูบที่นัดพบกับกลุ่มเพื่อน ร้อยละ 27.59 ความรู้เรื่องอันตรายของบุหรี่ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่และการรับรู้ความสามารถตนเองในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่อยู่ในระดับดี ร้อยละ54.15, 64.63 และ 70.30 ตามลำดับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศชาย (ORadj=17.50, 95%CI: 3.86-79.41, p-value<0.001)การกระทำในสิ่งที่พ่อแม่ห้ามประจำ(ORadj=6.72,95%CI:0.80-56.26,p-value<0.001) การไม่ได้อยู่อาศัยกับพ่อแม่ (ORadj=1.48, 95%CI: 0.64-3.44, p-value<0.006)ความรู้สึกอยากทำตามเมื่อเห็นคนในครอบครัวคนใกล้ชิดสูบบุหรี่ หรือเห็นภาพคนสูบบุหรี่จากสื่อต่างๆ (ORadj=3.07, 95%CI: 0.52-18.10,p-value = <0.001) และการรับรู้ความสามารถในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในระดับไม่ดีและปานกลาง (ORadj=1.96, 95%CI: 0.78-4.93, p-value = 0.010) ดังนั้น ควรส่งเสริมให้สถาบันครอบครัวโรงเรียน และชุมชนเป็นแบบอย่างที่ถูกต้องต่อการไม่สูบบุหรี่ และร่วมกันสร้างการรับรู้ความสามารถในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ของเด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายให้อยู่ในระดับดี จะส่งผลให้เด็กซึ่งย่างเข้าสู่วัยรุ่นสามารถปฏิเสธการสูบบุหรี่ได้

References

สมเกียรติ วัฒนาศิริชัยกุล. ตำราวิชาการสุขภาพ การควบคุมการบริโภคยาสูบ. กรุงเทพมหานคร. เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่; 2550.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. สถิติการสาธารณสุข พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

สำนักสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร. รายงานสถิติรายปีประเทศไทย 2557. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร; 2557.

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2561.กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์; 2561.

สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนงานควบคุมบริโภคยาสูบ ปี 2560-2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 16 ม.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://plan.ddc.moph.go.th

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: วิทยาพัฒน์; 2552.

ณัฐวุธ แก้วสุทธา, วิกุล วิสาลเสสถ์, ศศิวิมล อภิวัฒน์, ดลพร ถกลวิบูลย์. สถานการณ์การสูบบุหรี่ในเด็กประถมศึกษา กับบทบาทวิชาชีพทันตแพทย์. วารสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (SWU Dent J.) 2557; 7(2): 103-19.

ชลลดา ไชยกุลวัฒนา, ประกายดาว สุทธิ, วิชานีย์ ใจมาลัย. พฤติกรรมสูบบุหรี่และปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นตอนต้นจังหวัดพะเยา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 27(3):57-66.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, ศรีสุดา วนาลีสิน, ลัดดา แสนสีหา, ขวัญพนมพร ธรรมไทย, พิศสมัย อรทัย. ความแข็งแกร่งในชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นไทย.รามาธิบดีพยาบาลสาร (Ramathibodi Nursing Journal) 2554; 17(3): 430-43.

สุรีรัตน์ เวียงกมล, พรนภา หอมสินธุ์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. ต้นทุนชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ระยะแรกของนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2560; 31(2): 91-108.

Acting on Smoking Health (ASH). ASH Fact Sheet: Young people and smoking [Internet]. 2014 [Cited 16 January2021]. Available from: https://ash.org.uk/information-and-resources/fact-sheets/young-people-and-smoking/

ธิติ บุดดาน้อย, สุทิน ชนะบุญ, เบญญาภา กาลเขล้า. พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2562; 2(1): 139-52.

นัสสรา หงส์ร่อน. แนวคิดทฤษฎีบุคลิกภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 16 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:http://personnel.labour.go.th/attachments/article/1053/006%20(1).pdf

เสวภา วัชรกิตติ. จิตวิทยาทั่วไป แปลจาก Psychology ของ Robert E. Siverman. กรุงเทพมหานคร:ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2537.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม Theories and Techniques in Behavior Modification. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31