การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในจังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • รัชนี เต็มอุดม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
  • ศิริลักษณ์ ใจช่วง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
  • กนกพร ไทรสุวรรณ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
  • พเยาวดี แอบไธสง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
  • บารเมษฐ์ ภิราล้ำ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การรับรู้ความสามารถของตนเอง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดนครพนม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์ และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยแบบสอบถาม จำนวน 599 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ (Appreciation Influence Control, AIC) ในพื้นที่นำร่อง 2 อำเภอ และขั้นตอนที่ 3 ประเมินการพัฒนารูปแบบ หลังนำรูปแบบไปใช้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่มในตัวแทนประชาชนของ 2 ชุมชนๆ ละ 30 คน รวม 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและนำเสนอค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิง ใช้สถิติ Paired t-test และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดนครพนม ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเอง (β = 0.35, p < 0.001) การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกัน (β = 0.08, p = 0.027) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโรคจากแหล่งข่าวประเภทบุคคล (β = 0.16, p < 0.001) และการรับรู้ข่าวสารด้านการติดเชื้อภายในจังหวัด (β = 0.12, p < 0.001) 2) ได้รูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบด้วย การมีปฏิญญาหมู่บ้าน “สัญญาใจสวมใส่หน้ากาก” “นกกาเหว่าเฝ้าลูก” การแยกและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางเข้ามาในหมู่บ้าน “บอกเล่าข่าวจริง” สื่อสารและให้ความรู้การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ “บอกข่าวเล่าลูก” สื่อสารเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกหลานที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเดินทางกลับหมู่บ้าน และ 3) หลังนำรูปแบบไปใช้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองและการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) บทเรียนที่ได้พบว่า การให้ข้อมูลเชิงประจักษ์สร้างความน่าเชื่อถือในการรับรู้ การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้กระบวนการ AIC เสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเองและการรับรู้ข่าวสาร ด้วยความร่วมมือของชุมชน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศ

References

World Health Organization. WHO Director-General's opening remarks at the media briefing on COVID-19 - 11 March 2020 [Internet]. 2020 [Cited 1 February, 2020]. Available from: https://www.who.int/director-general/speeches/detail/who-director-general-s-opening-remarks-at-the-media-briefing-on-covid-19---11-march-2020.

JHU CSSE. COVID-19 Dashboard by the Center for Systems Science and Engineering (CSSE) at Johns Hopkins University [Internet]. 2020 [Cited 1 June, 2020]. Available from: https://www.arcgis.com/apps/opsdashboard/index.html#/bda7594740fd40299423467b48e9ecf6.

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา วันที่ 31 มกราคม 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php.

World Health Organization. WHO Director-General's remarks at the media briefing on 2019-nCoV on 11 February 2020 [Internet]. 2020 [Cited 1 March, 2020]. Available from: https://www.who.int /dg/speeches/detail/who-director-general-s-remarks-at-the-media-briefing-on-2019-ncov-on-11-february-2020.

Flaxman S, Mishra S, Gandy A, Unwin HJT, Mellan TA, Coupland H, et al. Estimating the effects of non-pharmaceutical interventions on COVID-19 in Europe. Nature 2020 (Aug); 584(7820): 257-61.

Namwat C, Suphanchaimat R, Nittayasoot N, Iamsirithaworn S. Thailand’s Response against Coronavirus Disease 2019: Challenges and Lessons Learned. OSIR 2019: 13(1): 33-7.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. รายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำวัน [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/PR.PH.NKP/.

Becker MH. The Health Belief Model and Sick Role Behavior. Health Education Monographs 1947; 2(4): 409-19.

McLeod DM, Wise D, Perryman M. Thinking about the media: a review of theory and research on media perceptions, media effects perceptions, and their consequences. Review of Communication Research 2017; 5: 35-83.

Khazaee-Pool M, Shahrvsand S, Naghibi SA. Predicting Covid-19 Preventive Behaviors Based on Health Belief Model: An Internet-Based Study in Mazandaran Province, Iran. J Mazandaran Univ Med Sci 2020; 30 (190): 56-66 (Persian).

Rad RE, Takhti HK, Azad MH, Mohseni S, Aghamolaei T, Norazian F, et al. Predicting COVID-19 Preventive Behaviors based on Protection Motivation Theory in Hormozgan, Iran [Internet]. 2021. [Cited 31 January, 2021]. Available from: https://assets.researchsquare.com/files/rs-51301/v1/f6298367-65cb-48f7-b0e1-20eea72f644c.pdf

Kebede Y, Yitayih Y, Birhanu Z, Mekonen S, Ambelu A. Knowledge, perceptions and preventive practices towards COVID-19 early in the outbreak among Jimma university medical center visitors, Southwest Ethiopia. PLoS ONE 2020; 15(5): e0233744.

Poonaklom P, Rungram V, Abthaisong P, Piralam B. Factors associated with preventive behaviors towards coronavirus disease (COVID-19) among adults in Kalasin Province, Thailand 2020. OSIR 2020 Sep; 13(3): 78-89.

ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, ทักษิกา ชัชวรัตน์. ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2563; 21(2): 29-39.

ชนัญธวีร์ ฐิตวัฒนานนท์. การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์:กรณีศึกษาชุมชนในตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2553; 34(2): 99-104.

เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์, ธีรศักดิ์ พาจันทร์, จิรพงศ์ วสุวิภา. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสารธารณสุขภาคใต้ 2562; 6(1): 26-38.

คมสรรค์ ชืนรัมย์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินของโรงพยาบาลสุคิรินด้วยเทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC) [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา; 2559.

Creswell JW, Plano-Clark VL, Gutmann ML, Hanson WE. Advanced mixed methods research designs. In A. Tashakkori and C. Teddlie (Eds), Handbook on mixed methods in the behavioral and social sciences. Thousand Oaks: CA Stage; 2003.

Zhong BL, Luo W, Li HM, Zhang QQ, Liu XG, Li WT, et al. Knowledge, attitudes, and practices towards COVID-19 among Chinese residents during the rapid rise period of the COVID-19 outbreak: a quick online cross-sectional survey. International journal of biological sciences 2020; 16(10): 1745-52.

นิรัชรา จ้อยชู. ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพกับการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน. Rama Nurs J 2014; 20(2): 236-48.

Barati M, Bashirian S, Jenabi E, Khazaei S, Karimi-Shahanjarini A, Zareian S, et al. Factors Associated with Preventive Behaviours of COVID-19 among Hospital Staff in Iran in 2020: An Application of the Protection Motivation Theory. Journal of Hospital Infection 2020; 105(3):430-3.

Kasl SV, Cobb S. Health Behavior, Illness Behavior, and Sick-Role Behavior. Archives of Environmental Health: An International Journal 1996; 12(4): 531-41.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 [อินเตอร์เน็ต]. 2021 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/g_menu2.php.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-07