รูปแบบการพัฒนาพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า แบบบูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโมเดลเชิงตรรกะตามนโยบายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ (พชพ.): องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร
  • บุญทนากร พรมภักดี
  • จุลจิลา หินจำปา
  • คณยศ ชัยอาจ
  • กิตติศักดิ์ สีสด

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนาพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหารูปแบบการพัฒนาพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า แบบบูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโมเดลเชิงตรรกะตามนโยบายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ (พชพ.): องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น รูปแบบ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ขั้นตอนในการวิจัยประกอบด้วย 1)  วิเคราะห์สภาพปัญหาการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่  2) การสังเคราะห์รูปแบบการประเมินผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า 3) ทดลองใช้รูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า 4) ประเมินผลรูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า และ 5) ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน ประกอบด้วย นายอำเภอ  โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  โรงเรียน แกนนำชุมชน อสม. มัคทายกวัด ปราชญ์ชาวบ้าน และประชาชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูล ประเด็นการสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจ และแบบประเมินประสิทธิภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อจัดหมวดหมู่ แยกแยะประเด็นตามหลักวิชาการ สามารถสรุปผลการวิจัย ดังนี้

1) การวิเคราะห์สภาพปัญหาในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า มีปัญหาเกี่ยวกับการประเมินผลความสำเร็จในการดำเนินงานของหน่วยงานภาคีเครือข่าย การสร้างความรอบรู้ของนักเรียนและประชาชน ระบบข้อมูลโปรแกรมสัตว์ และระบบข้อมูลโปรแกรม ร.36

          2) การสังเคราะห์การพัฒนาพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า แบบบูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโมเดลเชิงตรรกะตามนโยบายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ (พชพ.) มี 3 องค์ประกอบ     1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ บุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการ งบประมาณโครงการ  สื่อสนับสนุนประชาสัมพันธ์ ความรู้เรื่องการประเมินผลโรคพิษสุนัขบ้า ระบบข้อมูลโปรแกรม ร.36 ระบบข้อมูลสัตว์ และแผนการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน 2) กระบวนการ ได้แก่ การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการวางแผนตามแนวทางของการใช้โมเดลเชิงตรรกะ เริ่มจากการวิเคราะห์สภาพปัญหา  การกำหนดผลลัพธ์  การวิเคราะห์แรงเสริมแรงต้าน กำหนดแผนที่ชี้ทิศและการจัดประเภทและลำดับโครงการ  และชุดโครงการโมเดลเชิงตรรกะ การลงมือปฏิบัติ โดยดำเนินงานตามชุดโครงการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า  การสังเกตผลโดยหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินงานประเมินความสำเร็จ และการสะท้อนผล โดยการคืนข้อมูลผลการติดตามการดำเนินงานตามชุดแผนงานและโครงการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า  และ 3) ผลลัพธ์ของโครงการ

3) ผลจากการใช้รูปแบบการพัฒนาพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า แบบบูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโมเดลเชิงตรรกะตามนโยบายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ (พชพ.)

          3.1) ผลลัพธ์ระยะสั้นชุดโครงการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ได้แก่  แผนการเรียนการสอนเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า โปรแกรมการจัดการฐานข้อมูลสัตว์  สื่อหมอลำ 5 ย.  คู่มือของข้อมูลผู้สัมผัส ร.36  และสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนในการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า  

          3.2) ผลลัพธ์ระยะกลาง  พบว่า ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อโครงการค่อนข้างสูง โดยบุคลากรหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (  =4.30, S.D = 0.62)  ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ในระดับมากที่สุด (  =4.38, S.D = 0.38)  และผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าได้รับการฉีดวัคซีน และมีแนวโน้มของผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และในปี 2562 ไม่พบหัวสัตว์ให้ผลบวกโรคพิษสุนัขบ้า  

                   3.3) ผลลัพธ์ระยะยาว พื้นที่ อบต.เมืองพลมีแนวโน้มของการประกาศพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ตามเกณฑ์คือไม่มีสัตว์ที่เป็นหัวบวกในพื้นที่ติดต่อกัน 2 ปี และไม่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า

          4) การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า 4 มาตรฐานโดยภาพรวมมาตรฐานด้านความถูกต้อง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.45, S.D. = 0.28) ภาพรวมมาตรฐานด้านความเป็นไปได้ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.14, S.D.= 0.47) ภาพรวมมาตรฐานด้านความเหมาะสม ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.32, S.D. = 0.29) และภาพรวมมาตรฐานด้านการใช้ประโยชน์ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.35, S.D. = 0.14)

References

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า โครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีฯ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป ข้อมูลรายงานผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าโปรแกรม ร.36 ข้อมูลสะสม ณ วันที่ 1 ม.ค.- 22 ก.ค.2561 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2562].เข้าถึงได้จาก http://r36.ddc.moph.go.th/r36/index.php/webboards/category/4

เคโก๊ะ อาไก, จิราพร ชมพิกุล, ชีระวิทย์ รัตนพันธ์. พฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของเจ้าของสุนัขในจังหวัดนครปฐม ประเทศไทย.วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา 2558; 13(1) : 17-28.

หทัยกาญจน์ ยางศรี, สงครามชัย ลีทองดี, จมาภรณ์ ใจภักดี. รูปแบบการดำเนินงานและการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชน เพื่อให้เป็นเขตพื้นที่ปลอดโรค อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 12(2): 86–97.

สุวิมล ว่องวานิช. การออกแบบและประเมินโครงการโดยใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง.วารสารการวิจัยสังคมศาสตร์ 2552; 1: 7-25.

Kellogg WW. Logic model development. [Internet].[cited 2019 Jan 5].Available from: http://www.wkkf.org

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. Australia: Deakin University Press; 1988.

ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิตตอน 58: เอ ไอ ซี (AIC).วารสารหมอชาวบ้าน 2535; 14(161); 0-4.

ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6 . กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

ประคอง กรรณสูต. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์; 2542.

Stufflebeam DL. Educational evaluation and decision making. Illinois : Peacock ;1981.

พรเทพ ศิริวนารังสรรค์, สุรชัย โชคครรชิตไชย. การศึกษาการจัดบริการสาธารณสุขระดับอำเภอ: กรณีศึกษาพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2561; 8(1); 152-61.

Anderson AA. The community builder’s approach to theory of change. Roundtable on community change, The Aspen institute; 2010.

Torghele K, Buyum A, Dubruiel N, Augustine J, Houlihan C, Alperin M, et al. Logic model use in developing a survey instrument for program evaluation: emergency preparedness summits for schools of nursing in Georgia. Public Health Nursing 2007;24(5): 472–79.

Helitzer D, HollisC, Urquieta de Hernandez B, Sanders M, Roybal S, Deusen VI. Evaluation for community-based programs: The integration of logic models and factor analysis. Eval Program Plan 2010; 33(3): 223- 33.

Jaegers L, Dale MA, Weaver N, Buchholz B, Welch L, Evanoff B. Development of a program logic model and evaluation plan for a participatory ergonomics intervention in construction. Am J Ind Med 2014;57(3):351-61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30