ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดีในกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยางบ่ออี จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • บังอร พิมพ์จันทร์ นักศึกษาแขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • มุกดา หนุ่ยศรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

โปรแกรม, พฤติกรรมป้องกันโรค, มะเร็งท่อน้ำดี

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบพฤติกรรมป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี ระหว่างก่อนและหลังทดลอง ในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ และหลังทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ และเปรียบเทียบการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ หลังทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งท่อน้ำดี อายุระหว่าง 35-60 ปี มีท่อน้ำดีหนาระดับปานกลางและระดับมาก จำนวน 59 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ในการคัดเข้าศึกษาจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยางบ่ออี เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 29 คน และจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเรือ เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 30 คน โดยให้ทั้งสองกลุ่มมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันในด้านอายุ และระดับความหนาของท่อน้ำดี เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดีกลุ่มเสี่ยง ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดแบบจำลองพรีสีด-โพรสีด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม 3 ส่วน (1) ข้อมูลทั่วไป  (2) พฤติกรรมป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา 0.96 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.79 และ (3) ผลการตรวจพยาธิใบไม้ตับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติการทดสอบที สถิติการทดสอบวิลคอกซันแมทซ์แพร์ซายน์แรงค์ และสถิติการทดสอบความแตกต่างค่าสัดส่วน  ผลการวิจัย พบว่า (1) หลังทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีพฤติกรรมป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดีโดยรวมและรายด้านทุกด้านสูงกว่าก่อนทดลอง กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดีด้านการรับประทานอาหารสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ มีพฤติกรรมการออกกำลังกายและพฤติกรรมโดยรวมเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) หลังทดลอง กลุ่มทดลองมีการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (p-value>0.05)

Author Biography

บังอร พิมพ์จันทร์, นักศึกษาแขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

การศึกษา

  • 2537 ประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์  วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • 2541  ปริญญาตรี สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต(บริหารสาธารณสุข)  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • 2542  ปริญญาตรี สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • 2544  ปริญญาตรี สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • 2549 ปริญญาโท สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ชีวสถิติ)  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • 2554 ปริญญาเอก Doctor of Philosophy Program in Public Health  (Ph.D.), International Program, Graduate School, Khon Kaen University,                                   Thailand

References

นิตยา ฉมาดล. ภาพวินิจฉัยของมะเร็งท่อนํ้าดี ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2557.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจคัดกรองวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี. พิมพ์ครั้งที่ 2, อาคม ชัยวีระวัฒนะ, เสาวคนธ์ ศุกรโยธิน, อนันต์ กรลักษณ์, ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ, (บรรณาธิการ). นนทบุรี: กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2554.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2559. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2560.

Sripa B, Kaewkes S, Sithithaworn P, Mairiang E, Laha T, Smout M, et al. Liver fluke induces cholangiocarcinoma. PLoS Med 2007 Jul;4(7):e201.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. รายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด รอบที่ 1/2560. สุรินทร์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์; 2560.

คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขอำเภอชุมพลบุรี. สรุปผลการดำเนินงานด้านสาธารณสุข สำหรับการตรวจนิเทศงานระดับจังหวัดรอบที่ 2/2561. สุรินทร์: โรงพยาบาลชุมพลบุรี; 2561.

Mairiang E, Laha T, Bethony JM, Thinkhamrop B, Kaewkes S, Sithithaworn P, et al. Ultrasonography assessment of hepatobiliary abnormalities in 3359 subjects with Opisthorchis viverrini infection in endemic areas of Thailand. Parasitol Int 2011 Mar;61(1):208-11.

นพดล พิมพ์จันทร์, บรรจบ ศรีภา, เอมอร ไม้เรียง, พิศาล ไม้เรียง, การคัดกรองภาวะท่อน้ำดีหนาในกลุ่มเสี่ยงมะเร็งท่อน้ำดีในชุมชนที่มีอัตราชุกของโรคพยาธิใบไม้ในตับสูง : ประสบการณ์เบื้องต้น. การสัมมนาระบาดวิทยา และการป้องกันควบคุมโรค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 16; 21 มีนาคม 2556; โรงแรมเจริญโฮเต็ล จังหวัดอุดรธานี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น.

Green L, Kreuter M. Health program planning: An educational and ecological approach. 4th ed. New York, NY: McGrawhill; 2005.

บุรี ทิพนัส, ประวัติบุญ โกมุด. ผลของการใช้รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเสี่ยงต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำชี : กรณีศึกษาอำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2551. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2552; 2(1): 96-104.

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. การกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชน ในการประชุม สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 (ธันวาคม 2557). กรุงเทพ: สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 4 เมษายน 2559]; เข้าถึงได้จาก: https://www.youtube.com/watch?v=dZ12lKtWgiU.

เลิศรัช วงษ์ราช, สันดุษิต เพ็งสา. วีดีทัศน์แสดงการผ่าตัดมะเร็งตับและท่อนํ้าดี. อุดรธานี: โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2559]; เข้าถึงได้จาก: https://www.youtube.com/watch?v=IxFV11aN8eA.

Sripa B, Yongvanit P, Pairojkul C. Etiology and Pathogenesis of Cholangiocarcinoma:Introduction to the Association with Liver Fluke Infection. Srinagarind Med J 2005;20 (3):122-34.

วีระพล วิเศษสังข์, รติกร ชาติชนะยืนยง, ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล. โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวต่อการลดการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับในกลุ่มวัยแรงงานตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2560;24(3):61-74.

กาญจนา ฮามสมพันธ์, จีระศักดิ์ เจริญพันธ์, จิราพร วรวงศ์. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของหัวหน้าครัวเรือน ตำบลบ้านฝาง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2559;23(2):9-22.

สราวุธ จำปาพันธุ์. ผลของโครงการพัฒนาศักยภาพภาคีสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-29