ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยด้วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยวัณโรคปอด ที่มารับบริการที่คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วิศณุ นันทัยเกื้อกูล โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

วัณโรคปอด, ปัจจัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบย้อนหลังเพื่อหาสาเหตุของโรค (Matched case – control study)และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเจ็บป่วยวัณโรคปอดของผู้ป่วยที่มารักษาที่คลินิกวัณโรคโรงพยาบาล  ภูเวียงอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานควบคุมวัณโรคให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพชุมชนต่อไป โดยมีกลุ่มศึกษา (Case) จำนวน 62 คน คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นวัณโรคปอดรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่คลินิกวัณโรคโรงพยาบาลภูเวียงระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 31 มีนาคม 2563  กลุ่มควบคุม (Control) คือคัดจากประชาชนทั่วไปที่ไม่เคยป่วยเป็นวัณโรคปอดจากทะเบียนพื้นฐานของหมู่บ้านเดียวกันโดยการสุ่มอย่างง่ายที่เป็นเพศเดียวกันและมีอายุห่างกันไม่เกิน 5 ปี จำนวน 62 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ร้อยละของระดับการศึกษาและค่าOdds Ratio จาก Mcnemar chi-square test for matched pair data ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านการศึกษา ดัชนีมวลกาย การมีโรคประจำตัว และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับการป่วยด้วยวัณโรคปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001)  โดยที่กลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไปมีโอกาสป่วยด้วยวัณโรคปอดน้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาอยู่ร้อยละ 98.00 กลุ่มตัวอย่างที่มีดัชนีมวลกายน้อยกว่าปกติ มีโอกาสที่จะป่วยเป็นวัณโรคปอดเพิ่มขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่มีประวัติดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีโอกาสที่จะป่วยเป็นวัณโรค 7.41 เท่า ของกลุ่มที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ผู้สัมผัสวัณโรคร่วมบ้านและการนอนหลับพักผ่อนไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับการป่วยเป็นโรควัณโรคปอด

References

World Health Organization [WHO]. GlobalTuberculosis Report. Geneva: WHO; 2017.

สำนักวัณโรค. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ.นนทบุรี: สำนักวัณโรค; 2557.

ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์. สถานการณ์วัณโรคของประเทศไทยและแนวทางแก้ไข. วารสารวัณโรคโรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤติ 2551; 29: 169-72.

กรมควบคุมโรค. เอกสารประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ กรมควบคุมโรคปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2559.

สำนักวัณโรค. ระบบรายงานผลการดำเนินงานวัณโรคในปีงบประมาณ 2560 [ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 6 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tbthailand.org/data

ปิยวรรณ สิงห์คำป้อง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดวัณโรคปอดในผู้สัมผัสร่วมบ้านที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรคจังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

นงนุช เสือพูมี.ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้กับพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของประชาชนตำบลสวนกล้วย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2556; 23(2): 79-93.

บารเมษฐ์ ภิราล้ำ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจังหวัดนครพนม [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต].ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

สุขสมประสงค์ ดีไชยรัมย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

สมพร ขามรัตน์.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2558; 22(1): 22-32.

Khaliq A, Khan IH, Akhtar MW, Chaudhry MN. Environmental Risk Factors and Social Determinants of Pulmonary Tuberculosis in Pakistan. Epidemiology (sunnyvale) 2015; 5(3): 201.

ศรีธณา ศรีทา. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคในพื้นที่อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31