การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารโทลูอีนผ่านทางการหายใจของพนักงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง

ผู้แต่ง

  • พฤกษา โชตนะ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โทลูอีน, ประเมินความเสี่ยง, พนักงานสถานีบริการน้ำมัน, Hippuric acid

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารโทลูอีนผ่านทางการหายใจของพนักงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง โดยใช้ผลความเข้มข้นของสารโทลูอีนในบรรยากาศ ตัวชี้วัดทางชีวภาพการสัมผัสโทลูอีน (Hippuric acid, HA) ในปัสสาวะพนักงาน และประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพโดยใช้เมตริกความเสี่ยง พบว่าความเข้มข้นเฉลี่ยของสารโทลูอีนในการศึกษานี้มีค่าเท่ากับ 40.30±66.67 ppb ความเข้มข้นเฉลี่ยของ HA ในปัสสาวะคือ 422.71±977.97 mg/g Cr พนักงานที่มีระดับ HA เกินค่าแนะนำปลอดภัย (BEI) ร้อยละ 3.13 โดยพบความสัมพันธ์ระหว่างชั่วโมงการทำงานกับ HA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value =0.019) จากการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพใช้เมตริกความเสี่ยงโดยค่าความเข้มข้นของโทลูอีน พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูงกว่ายอมรับได้ซึ่งพบที่ระดับเสี่ยงต่ำ (ระดับ 2) ร้อยละ 60.42 ความเสี่ยงต่อสุขภาพจากเมตริกที่ใช้ผล HA พบว่าส่วนใหญ่พนักงานมีความเสี่ยงต่อสุขภาพที่สูงกว่ายอมรับได้ โดยพบที่ระดับเสี่ยงต่ำ (ระดับ 2) ร้อยละ 67.19 และพบความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงต่อสุขภาพจากเมตริกความเข้มข้นของโทลูอีนในบรรยากาศและจากเมตริกความเข้มข้นของ HA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) การพบว่าพนักงานมีการสัมผัสสารโทลูอีนผ่านตัวชี้วัดทางชีวภาพและความสัมพันธ์ของความเสี่ยงทางสุขภาพจากการใช้ตัวชี้วัดทางชีวภาพนี้ จึงมีประโยชน์ในการนำไปใช้ในการเฝ้าระวังการสัมผัสสารโทลูอีนในพนักงาน และเพื่อประโยชน์ในการศึกษาต่อไปด้านประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในแต่ละอาชีพหรือจำเพาะมากขึ้นด้านความแตกต่างของลักษณะงาน

References

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. โรคจากโทลูอีน [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 22 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จา:/http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/58

Cruz, L. P. S., Alves, L. P., Santos, A. V. S., Esteves, M. B., Gomes, Í. V. S., Nunes, L. S. S. Assessment of BTEX Concentrations in Air Ambient of Gas Stations Using Passive Sampling and the Health Risks for Workers. JEP 2017;8:12–25.

ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์. การประเมินการรับสัมผัสสารโทลูอีนและรูปแบบการใช้ชีวิตของ พนักงานเก็บกวาดขยะของสำนักงานเขตแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2559;11(2):3–21.

กลุ่มสถิติการขนส่งกองแผนงานกรมการขนส่งทางบก. สถิติกรมการขนส่งทางบก [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก:https://web.dlt.go.th/statistics

ATSDR. Toluene symptoms [อินเทอร์เน็ต]. 2015 [เข้าถึงเมื่อ 23 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก:https://www.atsdr.cdc. gov/ToxProfiles/tp.asp?id=161&tid=29

สุนิสา ชายเกลี้ยง, อุมากร ธงสันเทียะ, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. การประเมินการสัมผัสสารโทลูอีนของพนักงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 2562;4(1):6–12.

ACGIH. TLVs and BEIs based on the documentation of the threshold limit values for chemical substances and physical agents & biological exposure indices 2019. Cincinnati, Ohio, USA.

กรมธุรกิจพลังงาน. สถิติสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง. ขอนแก่น: สำนักงานพลังงานจังหวัดขอนแก่น; 2562.

มาริสา กองสมบัติสุข, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์, อรวรรณ แก้วบุญชู. ปริมาณการรับสัมผัสสารตัวทำละลายอินทรีย์ที่ส่งผลต่อระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกของตำรวจจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร. JMHS 2556;20(3):16-24.

NIOSH. Hydrocarbons, Aromatic: Method 1501. In: Eller PM, ed. NIOSH Manual of Analytical Methods. 4th rev. ed. Cincinnati, OH: U.S. Department of Health and Human Services, Public Health Service, Centers for Disease Control, National Institute for Occupational Safety and Health 2003, DHHS (NIOSH) Publication No. 94-113

สุนิสา ชายเกลี้ยง, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, ศศิธร ตั้งสวัสดิ์, วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยใช้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของการสัมผัสสารเบนซีนในพนักงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560;26(2):272–80.

Chaiklieng S, Pimpasaeng C, Suggaravetsiri P. Assessment of benzene exposures in he working environment at gasoline stations. EA 2015;8(2):56–62.

Chimplee T, Taneepanichskul N. Benzene and toluene exposure in relation to their health effects among sky-train station guards in Bangkok, Thailand. Journal of Health Research 2015;29 Suppl 2:S177–84.

Hosaini PN, Khan M F, Mustaffa NIH, Amil N, Mohamad N, Jaafar SA, et al. Concentration and source apportionment of volatile organic compounds (VOCs) in the ambient air of Kuala Lumpur, Malaysia. Natural Hazards 2017;85(1):437–52.

Bahrami A, Jonidi A, Folladi B, Mahjub H, Sadri Q, Motamedzade M. Comparison of urinary O-cresol and hippuric acid in drivers, gasoline station workers and painters exposed to toluene in west of Iran. PJBS 2005;8(7):1001–5.

Yimrungruang D, Cheevaporn V, Boonphakdee T, Watchalayann P, Helander HF. Characterization and health risk assessment of volatile organic compounds in gas service station workers. EA 2008;2:21–2.

Chaiklieng S, Pimpasaeng C, Thapphasaraphong S. Benzene Exposure at Gasoline Stations: Health Risk Assessment. Hum. Ecol. Risk Assess 2015;21(8):2213–22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31