รูปแบบการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการภาครัฐ, PMQA, การดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เกี่ยวข้อง โดยเป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รวมทั้งสิ้น 40 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน หัวหน้า/ รองหัวหน้ากลุ่มงาน จำนวน 13 คนผู้ปฏิบัติงานจาก 13 กลุ่มงานๆ ละ 2 คน จำนวน 26 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น แบบประเมินการมีส่วนร่วม แบบประเมินคะแนนตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และแบบเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน สถิติอนุมาน Paired t-test เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการ มีส่วนร่วมก่อนและหลังการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.08 (S.D.=0.53) ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับสูง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.68 (S.D.=0.47) ซึ่งหลังจากที่คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริการจัดการภาครัฐเข้าร่วมและมีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพการบริการจัดการภาครัฐ ทำให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามเกิดการมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการประเมินคะแนนตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พบว่า หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ ก่อนการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ ได้คะแนนด้านกระบวนการทำงาน 2.8 คะแนน ด้านประสิทธิผลการปฏิบัติการ 2.6 คะแนน ภาพรวม 2.7 คะแนน หลังการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ พบว่า ได้คะแนนด้านกระบวนการทำงาน 4.4 คะแนน ประสิทธิผลการปฏิบัติการ 4.2 คะแนน ภาพรวม 4.3 คะแนน
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม คือ 1) นโยบาย โดยผู้บริหารให้ความสำคัญ 2) การมีส่วนร่วม และมีการบูรณาการทำงานร่วมกัน และ 3) มีการติดตามประเมินผล และสรุปผลการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
References
กองยุทธศาสตร์และแผน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561.นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข;2561.
งานนิเทศงานและประเมินผล กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข. คู่มือการนิเทศงานสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2562.มหาสารคาม:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม;2563.
งานนิเทศงานและประเมินผล กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข.คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการ (KPIs) ประจำปีงบประมาณ 2562. มหาสารคาม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม;2563.
Kemmis S, McTaggart R. The action research reader. Geelong: Victoria: Deakin University Press; 1988.
พรชัย ดีไพศาลสกุล. ความคาดหวัง และการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการโรงพยาบาล เพื่อศึกษาการรับรู้และความคาดหวังของผู้รับบริการในคุณภาพบริการโรงพยาบาล. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 2557;6(1):573-92.
ลำพูน ฉวีรักษ์. การประยุกต์ใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเพื่อการปรับปรุง คุณภาพการบริการของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกรณีศึกษา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตระการพืชผลจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี 2555;10(4):95-102.
ทิพย์วรรณ จูมแพง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ของหน่วยงานระดับเขต กระทรวงสาธารณสุข. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2555;7(2):38-52.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น