ความรู้ และการปฏิบัติตัวของอาสาสมัครสาธารณสุขต่อการป้องกันโรคโควิด 19 จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สุวัฒนา อ่อนประสงค์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • พิทักษ์ กาญจนศร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
  • คณยศ ชัยอาจ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, โควิด-19

บทคัดย่อ

การศึกษานี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ การปฏิบัติตัวของอาสาสมัครสาธารณสุขในการป้องกันโรค โควิด 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และศึกษาแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคโควิด 19 ในชุมชน เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) โดยวิจัยเชิงปริมาณ และวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน 2563 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ อสม. จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยสุ่ม อสม. แบบง่าย ในการตอบแบบสอบถาม และคัดเลือกแบบเจาะจงเพื่อสัมภาษณ์เชิงคุณภาพแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์เนื้อหาในข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า อสม.จำนวน 900 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 83.33 อายุเฉลี่ย 49.77 ปี (S.D.=9.10) มาตรการที่คิดว่ามีผลต่อการลดโรคมากที่สุด คือการอยู่บ้าน ร้อยละ 62.56 ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 ส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับสูง ร้อยละ 98.56 (Mean = 11.20 S.D. = 0.62) การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องทุกครั้ง ตั้งแต่ร้อยละ 79.90 ขึ้นไป ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด 19 ของ อสม. มีความรอบรู้ระดับดี ร้อยละ 100 ผลการสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่มเกี่ยวกับการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคโควิด 19 จำนวน 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านที่มีผู้ติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อ ผลการสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม พบว่า อสม. มีการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค โควิด 19 ในชุมชนตามมาตรการของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และดำเนินการร่วมกับเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการระดมทรัพยากรเพื่อป้องกันควบคุมโรค การตรวจเยี่ยม และการเสริมพลังผู้ติดเชื้อ

References

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 31 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 31 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no118-300463nn.pdf

รัฐบาลไทย. ประกาศและคำสั่ง [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27963.

ราชกิจจานุเบกษา. แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. เล่มที่ 137 ตอนที่ 24 ก ณ วันที่ 25 มีนาคม 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/A/024/T_0001.PDF.

สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ. อสม. มดงานในระบบสุขภาพของไทยที่ประเทศอื่นยากเลียนแบบ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 31 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://hrdo.org%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A1-%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%82%E0%B8%AD/

Cochran WG. Sampling Techniques. 3nd Ed., New York: John WileyandSons, Inc; 1977.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

วิญญ์ทัญญู บุญทัน, พัชรภรณ์ ไหวคิด, วิภาพร สร้องแสง, ชุติมา สร้อยนาค, ปริศนา อัครธนพล, จริยาวัตร คมพยัคฆ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ 2563; 12(2): 323-37.

วีรนุช ไตรรัตโนภาส, พัชราภรณ์ อารีย์, ปุณยนุช พิมใจใส. การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคและพฤติกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในผู้สูงอายุ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2564.

Bloom BS. Mastery learning. UCLA-CSEIP Evaluation Comment. Losangeles: University of California at Los Angeles; 1968.

ศุภัชญา ภวังค์คะรัต, สมภพ อาจชนะศึก, ปิยะณัฐ นามชู. ศึกษาสถานการณ์การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 16 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/(Full_paper_edit)_A_Study_of_COVID-9_Surveillance,_Prevention_and_Control_in_Communities_(1)_dec_jan_21.pdf

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีระธรรม, นวพร ดำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563; 14(2): 92-103.

วิทยา ชินบุตร,นภัทร ภักดีสรวิชญ์. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564; 6(2): 304-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30