การพัฒนารูปแบบการป้องกันวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก โดยกระบวนการชุมชนมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • มุกดา วิเศษ โรงพยาบาลโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์
  • นพดล พิมพ์จันทร์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยางบ่ออี

คำสำคัญ:

วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก, รูปแบบการป้องกัน, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) ยังขาดรูปแบบการป้องกันที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ จึงทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมากโดยการมีส่วนร่วมของขุมชน กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวอย่างในการจัดเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ และการพัฒนารูปแบบการป้องกัน XDR-TB โดยกระบวนการชุมชนมีส่วนร่วม คัดเลือกแบบเจาะจงจากบุคลากรสาธารณสุข ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บุคลากรจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านวัณโรคและตัวแทนประชาชนในชุมชนจำนวน 15 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่จะทดลองใช้รูปแบบการป้องกัน XDR-TB ที่พัฒนาขึ้น เลือกแบบเจาะจงกับกลุ่มเสี่ยงในชุมชนในพื้นที่อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 30 คน ดำเนินกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ระหว่างเดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562  เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้ การสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการคัดกรองวัณโรค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลต่างด้วย Paired T-test และวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการป้องกันวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมากที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด มี 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างองค์ความรู้เรื่องวัณโรค XDR-TB และส่งเสริมสุขภาพให้กับกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ 2) การเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงและประชาชนในหมู่บ้าน โดยคัดกรองเชิงรุกด้วยวาจา การเอ็กซเรย์ปอด และการตรวจทางอณูวิทยา และ 3) สร้างแนวทางการติดตามและเฝ้าระวังผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่ ผลการเปรียบเทียบความรู้เรื่องวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการป้องกัน XDR-TB พบว่า ในด้านความรู้ หลังการทดลองกลุ่มเสี่ยงมีค่าเฉลี่ยความแตกต่างคะแนนความรู้เกี่ยวกับวัณโรค การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคในการปฏิบัติเพื่อป้องกันวัณโรค แรงจูงใจในการป้องกันวัณโรคและการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันวัณโรค หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยความแตกต่างคะแนนเพิ่มมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ดังนั้น การดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกัน XDR-TB โดยกระบวนการมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถป้องกันวัณโรคและวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมากในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

World Health Organization. Tuberculosis [Internet]. 2020 [cited 2020 March 7]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/tuberculosis.

ทิราภรณ์ กาญจนพันธุ์, อรศรี วิทวัสมงคล. แนวทางการรักษาวัณโรคดื้อยา ตามคำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อ สมาคมโรคทรวงอกประเทศสหรัฐอเมริกา และสมาคมโรคทางเดินหายในสหภาพยุโรป ปี พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2563 มีนาคม 20]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pidst.net/A919.html.

World Health Organization. Global tuberculosis report 2019. Geneva: World Health Organization; 2019.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. รายงานการตรวจราชการรอบที่ 1/2562. สุรินทร์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์; 2562.

นพดล พิมพ์จันทร์, บังอร พิมพ์จันทร์, สุภาพร ใจกล้า, สมศักดิ์ เหลาคม. รายงานการสอบสวนโรคเบื้องต้น กรณีโรควัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรง บ้านกะทะ หมู่ 12 ตำบลเมืองบัว อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยางบ่ออี; 2562.

ธนชล วงศ์หิรัญเดชา, เอกราช มีแก้ว, ฆาลิตา วารีวนิช, ผกาวัลย์ แดหวา, วรญา อํานวยผล, กุสุมา สว่างพันธ์ และคณะ. การสอบสวนผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก จังหวัดภูเก็ต เดือนเมษายน 2561 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจําสัปดาห์ 2562; 50(24): 357-65.

World Health Organization. WHO consolidated guidelines on drug-resistant tuberculosis. Geneva: World Health Organization; 2019.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health Promotion in Nursing Practice. 6th ed. Boston: Pearson; 2011.

Montaisong K. The factors predicting tuberculosis preventive behaviors among the tuberculosis contacts in the Bangkok area and perimeter [Master of Nursing Science]. Pathumtani: Thammasat University; 2016.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Geelong,Victoria: Deakin University Press.; 1988.

วีระวุธ แก่นจันทร์ใบ, สุมัทนา กลางคาร, สรญา แก้วพิทูลย์. ผลของโปรแกรมการสร้างการรับรู้ต่อการป้องกันวัณโรคปอดของผู้สัมผัสร่วมบ้าน อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2561; 25(1): 79-90.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-29