ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับน้ำตาลสะสมในเลือด ความดันโลหิตและอัตราการกรองของไต ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อิสรีย์ ปัดภัย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ดวงฤดี โชติกลาง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อัจฉรา ชนะบุญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ฐิติกานต์ เอกทัตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ณิชกานต์ มีลุน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง, ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

             

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 2) ศึกษาอัตราป่วยโรคไตเรื้อรังระยะต่างๆในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 3) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและผลตรวจระดับดีในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง โดยเป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และหรือผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 4 แห่งจาก 4 อำเภอ จำนวน 250 คน อายุ 18 ปีขึ้นไป  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม-แบ่งชั้น หลายขั้นตอน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติตัวแบบผสมเชิงเส้นวางนัยทั่วไป นำเสนอการเปรียบเทียบอัตราส่วน และค่าความเชื่อมั่นที่ 95% CI

           ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 250 ราย ส่วนใหญ่มีระดับอัตราการกรองของไตลดลงเล็กน้อย เป็นระยะที่ 2 ร้อยละ 38.80 มีผลการตรวจระดับไม่ดี ร้อยละ 78.00 และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับผลการตรวจเพื่อชะลอโรคไต ได้แก่ ทักษะความเข้าใจเกี่ยวกับการชะลอโรคไตระดับสูง ทักษะการประเมินตนเองเกี่ยวกับการชะลอโรคไตเรื้อรังระดับสูง ทักษะการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรังระดับสูง มีความสัมพันธ์กับผลการตรวจระดับดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  โดยผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงพบอัตราการกรองของไตผิดปกติได้มากถึงเกือบ 1.83 ใน 3.00 และพบผลการตรวจเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรังอยู่ในระดับไม่ดีถึง 2.34 ใน 3.00 โดยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการชะลอโรคไตเรื้อรังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการชะลอโรคไตเรื้อรังระดับสูง ได้แก่ ทักษะความเข้าใจ ทักษะการประเมินตนเอง และทักษะการตัดสินใจปฏิบัติที่ถูกต้องสามารถเป็นแนวทางในการบริหารจัดการระบบการให้ความรู้เพื่อชะลอโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อไป

References

World Health Organization. Diabetes. [Internet]. 2016 [Cited 8 December 2019]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes.

สุปราณี สูงแข็ง, สมพร แวงแก้ว. การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานในจังหวัดอุดรธานี วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2017; 24(2): 1-9.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/document/file/download/powerpoint/2015.pdf.

Bunloet Arkhom, Amorn Premgamone, Pattapong Kessomboon. Prevalence and associated factors of I-sarn syndrome among the diabetic patients and hypertensive patients in rural communities, public health region 7, Thailand. Srinagarind Medical Journal 2018; 33(2): 122-29.

ประเสริฐ ธนกิจจารุ. สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. วารสารกรมการแพทย์ 2558; 40(4)

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. โครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://ckd.kku.ac.th.

กรมอนามัย กองตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข. ตัวชี้วัด [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก : http://data.ptho.moph.go.th/inspec/2562/inspec62_2.pdf

วิชัย เทียนถาวร. เบาหวาน ภัยเงียบ ทุก 8 วินาทีตาย 1 คน [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.matichon.co.th/columnists/news_1747055.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ดีไซร์; 2554.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med 1998; 17(14): 1623-34.

Doloh Suhainee, Norjahari Saleh. Factors affecting the can control blood sugar levels in the blood of patients with type 2 diabetes, Bannang Sata District Yala Province. Thammasat University Hospital Journal Online 2019; 4(3): 27-30.

Kristine Sørensen, Stephan Van den Broucke, James Fullam, Gerardine Doyle, Jürgen Pelikan, Zofia Slonska, et al. Health literacy and public health: a systematic review and integration of definitions and models. BMC public health 2012; 12(1): 1-13.

ชนวนทอง ธนสุกาญจน์, นรีมาลย์ นีละไพจิตร. การสำรวจความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ (Health Literacy) สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nkp-hospital.go.th/th/H.ed/mFile/20180122115054.pdf

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป (Thai Guidelines on the Treatment of Hypertension) ฉบับปรับปรุง 2558 [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihypertension.org/files/GL%20HT%202015.pdf

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 Clinical Practice Diabetes 2017 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmthai.org/attachments/article/443/guideline-diabetes-care-2017.pdf.

Issaree Padphai, Pannee Banchonhattakit, Sirirat Anutrakulchai.. Indian Journal of Public Health Researh Development 2020; 11(4): 776 –9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31