ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ในหญิงตั้งครรภ์ ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ปี 2561
คำสำคัญ:
ปัจจัย, ไวรัสตับอีกเสบบี, หญิงตั้งครรภ์, ปทุมธานีบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในหญิงตั้งครรภ์ จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้คือ ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่ขึ้นทะเบียนฝากครรภ์ของโรงพยาบาลสังกัด กระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 จากฐานข้อมูล Health Data Center (HDC) จำนวน 6,502 ราย โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลนั้นใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ หาความสัมพันธ์ของ ตัวแปรเชิงคุณภาพใช้สถิติ Chi-square test ผลการศึกษา พบว่า จากข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่ขึ้นทะเบียนฝากครรภ์ จำนวน 6,502 ราย มีผลการตรวจ HBsAg เป็นบวก จำนวน 29 ราย ความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในหญิงตั้งครรภ์ เป็นร้อยละ 0.4 ของจำนวนหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์ที่มีผลตรวจ HBsAg เป็นบวกและเป็นลบแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดพบว่า มีอายุเฉลี่ย 28 ปี หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 40 ปีมีการติดเชื้อสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ ร้อยละ 3.1 อายุครรภ์อยู่ในช่วงสัปดาห์ที่ 15 - 28 ร้อยละ 1.2 และพบความชุกของการติดเชื้อในการตั้งครรภ์ครั้งที่มากกว่าหรือเท่ากับ 4 ร้อยละ 2.1 นอกจากนี้พบว่า อายุ อายุครรภ์ จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ในหญิงตั้งครรภ์ ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในหญิงตั้งครรภ์ จังหวัดปทุมธานี ปีงบประมาณ 2561 มีขนาดที่ต่ำ อย่างไรก็ตามการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในหญิงตั้งครรภ์นั้น สามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้ ดังนั้นการดำเนินการป้องกันควบคุมโรค จึงควรให้ความสำคัญกับการตรวจวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบบีในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ทุกราย เพื่อให้สามารถควบคุมการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในหญิงตั้งครรภ์และป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
References
World Health Organization. Hepatitis B and breastfeeding [Internet]. 2009 [cited 2020 Apr 13]. Available from:http://www.who.int/wer.
Kowdley KV. The cost of management chronic hepatitis B infection: A global perspective. Journal of gastroenterology 2004;38:132-33.
สำนักสารสนเทศ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. โชว์ผลงานรอบ 20 ปีป้องกันโรค “ไวรัสตับอักเสบบี” [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 13 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.moph.go.th/ops/iprg.
ไกลตา ศรีสิงห์, ธิติมา เงินมาก, นัดดา แปดสี. ความชุกไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2015;52(3):200-5.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 [อินเทอร์เน็ต]. 2015 [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:http://www.boe.moph.go.th.
กระทรวงสาธารณสุข. ฐานข้อมูล 43 แฟ้ม [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 มิถุนายน 2562].เข้าถึงได้จาก:https://pte.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=1c1b8e24aff59258a806f122e264031e#.
Bureau of Epidemiology. Annual epidemiology surveillance report 2006-2015. Bangkok: Thailand Ministry of Public Health; 2015.
อัมพร เฮงประเสริฐ. ไวรัสตับอักเสบบี และซีในหญิงตั้งครรภ์ ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
นันทวัน กลึงเทศ, นัยนา วัฒนกุล. อุบัติการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เอดส์ และซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.
พรสวรรค์ เห็นภูมิ. ความชุกของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี และซิฟิลิส ในหญิงที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
Amsalu A, Ferede G, Eshetie S, Tadewos A, Assegu D. Prevalence, infectivity, and associated risk factors of hepatitis B virus among pregnant woman in Yirgalem hospital, Ethiopia: Implication of screening to control mother-to-child transmission. Journal of pregnancy 2018;363 :1687-9.
Gedefaw G, Waltengus F, Akililu A, Gelaye K. Risk factor associated with hepatitis B virus infection among pregnant women attending antenatal clinic at Felegehiwot referral hospital Northwest Ethiopia, 2018: an institution base cross-sectional study. BMC Research Notes 2019;12: 509.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น