ความชุกของโรคไตเรื้อรังและการใช้ยาแอสไพรินในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
แอสไพริน, โรคไตเรื้อรัง, โรคเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
โรคไตจากเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่พบได้บ่อย ในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งสาเหตุของโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานเกิดได้จากหลายปัจจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Descriptive cross-sectional study) เพื่อศึกษาความชุกของโรคไตเรื้อรังและการใช้ยาแอสไพรินในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มารับบริการที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2561 จำนวน 975 คน วิเคราะห์หาความชุกโดยสถิติการประมาณค่าสัดส่วนและนำเสนอช่วงเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.4 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 64.1 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 57.7 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 87.2 สิทธิการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่ คือ หลักประกันสุขภาพ ร้อยละ 86.0 มีระดับดัชนีมวลกาย อยู่ในระดับ อ้วน ร้อยละ 42.1 มีโรคร่วม ร้อยละ 77.0 สูบบุหรี่ ร้อยละ 20.0 ดื่มสุรา ร้อยละ 20.3 มีระยะเวลาที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 35.0 มีภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ร้อยละ 70.4 ระดับ LDL อยู่ในระดับน้อยกว่า 100 mg/dL ร้อยละ 60.7 มีระดับ FBS อยู่ในระดับตั้งแต่ 126 mg/dL ขึ้นไป ร้อยละ 78.8 มีระดับ HbA1C อยู่ในระดับตั้งแต่ 7.5 % ขึ้นไป ร้อยละ 55.8 มีภาวะ Microalbuminuria ร้อยละ 28.9 ความดันโลหิต Systolic ตั้งแต่ 140 mmHg ขึ้นไป ร้อยละ 19.4 พบความชุกของโรคไตเรื้อรัง ร้อยละ 24.9 (95% CI = 22.2 – 27.7) และความชุกของการใช้ยาแอสไพริน ร้อยละ 62.8 (95% CI = 59.6 – 65.8) สรุปและข้อเสนอแนะ ความชุกของโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีภาวะ Microalbuminuria ดังนั้น เพื่อลดหรือชะลอการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และเฝ้าระวังการเกิดโรคไตเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะ Microalbuminuria มากยิ่งขึ้น และพบความชุกการใช้ยาแอสไพรินในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สูง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ดังนั้น ควรมีการประเมินประสิทธิภาพของการใช้ยาแอสไพรินในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ของยาแอสไพริน
References
International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas. 8th ed. Brussels: International Diabetes Federation; 2017.
Aekplakorn W, Chariyalertsak S, Kessomboon P, Assanangkornchai S, Taneepanichskul S, Putwatana P. Prevalence of Diabetes and Relationship with Socioeconomic Status in the Thai Population: National Health Examination Survey, 2004 – 2014 J Diabetes Res 2018; 2018:1-12.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2561. กรมควบคุมโรค; 2562.
กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานะสุขภาพ Health Data Center [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก:https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=e71a73a77b1474e63b71bccf727009ce&Id=5d523ced4c9569123109fa6f4071d35f#
ประเสริฐ ธนกิจจาร. Current Situation of Chronic Kidney Disease in Thailand. วารสารกรมการแพทย์ 2558; 40(5).
Jung JH, Tantry US, Gurbel PA, Jeong YH. Current Antiplatelet Treatment Strategy in Patients with Diabetes Mellitus. Diabetes Metab J 2015;39(2): 95–113.
American Diabetes Association. Cardiovascular Disease and Risk Management: Standards of Medical Care in Diabetes 2019. Diabetes Care 2019; 42(Sup1): S103–23.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 (Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017). ปทุมธานี: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย.กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2552.
Abi Khalil C, Omar Omar M, Al Suwaidi J, Taheri S. Aspirin Use and Cardiovascular Outcome in Patients with Type 2 Diabetes Mellitus and Heart Failure: A Population‐Based Cohort Study. J Am Heart Assoc 2018;7(21):1-11.
Jitraknatee J, Ruengorn C, Nochaiwong S. Prevalence and Risk Factors of Chronic Kidney Disease among Type 2 Diabetes Patients: A Cross-Sectional Study in Primary Care Practice. Sci Rep 2020;10(1):6205.
ณิชชาภัทร ยอดแคล้ว, พรนภา ศุกรเวชศิริ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 7 ขอนแก่น 2562;26(2):24–35.
อัจฉรา เจริญพิริยะ, อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว, งามจิต คงทน. ความชุกโรคไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช.วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2560;31(1):73–82.
Guo K, Zhang L, Zhao F, Lu J, Pan P, Yu H, et al. Prevalence of chronic kidney disease and associated factors in Chinese individuals with type 2 diabetes: Cross -sectional study. CMAJ 2016;30(5):803–10.
Rodriguez-Poncelas A, Garre-Olmo J, Franch-Nadal J. Xavier Mundet-Tuduri, Joan Barrot-De la Puente, Gabriel Coll-de Tuero. Prevalence of chronic kidney disease in patients with type 2 diabetes in Spain: PERCEDIME2 study. BMC Nephrol 2013;14(46):1-8.
American Diabetes Association. Classification and Diagnosis of Diabetes: Standards of Medical Care in Diabetes 2019. Diabetes Care 2019; 42(Sup1): S13–28.
วรรณคล เชื้อมงคล, กนกกานต์ บุญเรือง, กมลวรรณ ตุ้มภู่.การใช้แอสไพรินเพื่อป้องกันปฐมภูมิต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2.ศรีนครินทร์เวชสาร 2562; 34(2): 184-9.
วัชรวรรณ ขอบคุณ, จุฬาภรณ ลิมวัฒนานนท์, สุพล ลิมวัฒนานนท์.สถานการณ์การสั่งใช้ยาป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานในโรงพยาบาลชุมชน.วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2557; 9 (ฉบับพิเศษ):99-103.
Chootong R, Jamulitrat S. Prevalence of Aspirin Prescriptions among Type 2 Diabetic Patients in Songklanagarind Hospital. SMJ. 2018;36(1):35-44.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น