การพัฒนาระบบเฝ้าระวังในแรงงานต่างด้าวเขตสุขภาพที่ 7 และ 8

ผู้แต่ง

  • ศศิธร ตั้งสวัสดิ์ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • สารัช บุญไตรย์ บุญไตรย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • วันทนา กลางบุรัมย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ระบบเฝ้าระวัง, แรงงานต่างด้าว

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อในแรงงานต่างด้าว พื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 และ 8 ระยะเวลาที่ทำการศึกษา มิถุนายน 2560 - มิถุนายน 2561 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับผิดชอบงานเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวของหน่วยงานที่เกี่ยวทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 20 คน การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ วิเคราะห์สภาพปัญหา ระยะที่ 2 กำหนดเป้าหมาย พันธกิจร่วมกัน และพัฒนาข้อเสนอการบริหารจัดการระบบ ระยะที่ 3 ปรับปรุงระบบและนำสู่การปฏิบัติ ข้อมูลเชิงปริมาณจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข รายงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (รายงานเฝ้าระวังโรค 506 ระบบเฝ้าระวังป้องกันโรคในแรงงานต่างด้าว) รายงานจากสวัสดิการแรงงานจังหวัด รายงานการจัดบริการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานจากเขตสุขภาพที่ 7 และ 8 ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่มและการสอบถามผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องโดยเลือกผู้รับผิดชอบแบบเจาะจงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการสังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ในระยะที่ 1 ยังไม่มีระบบการจัดการฐานข้อมูลแรงงานต่างด้าวที่เป็นระบบในเขตสุขภาพ มีข้อจำกัดด้านคุณภาพข้อมูล ยังไม่มีจุดประสานงานหรือกลไกการขับเคลื่อนงานที่ชัดเจน ระยะที่ 2 วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดข้อเสนอการบริหารจัด การกำหนดเป้าหมาย และมาตรการร่วมกัน ระยะที่ 3 นำระบบมาบริหารจัดการกำหนดแผนงาน และมาตรการแนวทางในการปฏิบัติงานสาธารณสุขในกลุ่มแรงงานต่างด้าวของเขตสุขภาพที่ 7 และ 8 สู่การปฏิบัติในพื้นที่ โดยปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดระบบ คือ การบูรณาการงานของภาคส่วนเกี่ยวข้อง และการกำหนดให้งานเฝ้าระวังสาธารณสุขในกลุ่มแรงงานต่างด้าวเป็นวาระร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

References

สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 พฤษภาคม 26]. เข้าถึงได้จาก: https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2561/dec2561-4.pdf

สำนักงานคณะ กรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะ กรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2559.

กรมการจัดหางาน สำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว. สถานการณ์แรงงานต่างด้าว [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2561 ตุลาคม 9]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/alien_th/61ee8d6236022c00f2c38cad2cc74ae.pdf

United Nations. International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights [Internet]. 2020 [Cited 2020 May 26]. Available from: https://www.ohchr.org/en/professionalinterest/pages/cescr.aspx

United Nations. International Convention on the Protection of the Rights of All Migrant Workers and Members of Their Families 1990 [Internet]. 2020 [Cited 2020 May 26]. Available from: https://www.ohchr.org/EN/ProfessionalInterest/Pages/CMW.aspx

ศูนย์กฎหมาย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. หลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุขประชากรต่างด้าว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว SRRT ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31