ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านการยศาสตร์ ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อและกระดูก ในกลุ่มแรงงานเย็บเสื้อผ้าโหล กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อุทัย แก้วกลม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ณัฐพล ทนุดี ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

การยศาสตร์, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

บทคัดย่อ

โรคกล้ามเนื้อและกระดูก ในปัจจุบันพบผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงานที่มีลักษณะการทำงานไม่ถูกต้องเป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดโรคสูงขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านการยศาสตร์ ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อและกระดูก ในกลุ่มแรงงานเย็บเสื้อผ้าโหล กรุงเทพมหานคร เปรียบเทียบผลก่อน/หลัง โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 44 คัดเลือกโดยเกณฑ์การคัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรนณานำเสนอค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อน-หลังด้วย Paired t–test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการดำเนินงานตามโปรแกรม กลุ่มศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ตามส่วนของร่างกายที่ส่งผลต่ออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อลดลง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) โดยสรุปการจัดกิจกรรมตามโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านการยศาสตร์ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อและกระดูก ในกลุ่มแรงงานเย็บเสื้อผ้าโหล กรุงเทพมหานคร

References

International Labour Organization. Work, peace and resilience [Internet]. 2018 [Cited 26 March 2018]. Available from: http://www.ilo.org/global/topics.

วิสันติ เลาหอุดมโชค. สถานการณ์การดำเนินงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย ปี 2561. กระทรวงแรงงาน; 2561.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รวมสถิติประเทศไทย ปี 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 23 มีนาคม 2562]. เข้าถึงจาก: http://www.statbbi.hso.go.th

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคและการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 23 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.envocc.ddc.moph.go.th

Simonsen GJ, Gard G. Swedish Sonographers' perceptions of ergonomic problems at work and their suggestions for improvement. Journal Of BMC Musculoskeletal Disorders 2016;17:391

ณัฐพล ทนุดี. รายงานการสำรวจกลุ่มแรงงานนอกระบบที่ทำอาชีพเย็บผ้าโหล ในเขตพื้นที่ภาษีเจริญ. สรุป รายงานประจำปี 2561. กรุงเทพมหานครฯ; 2561.

จันจิรา ทิพวัง, กาญจนา นาถะพินธุ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดกล้ามเนื้อของ กลุ่มอาชีพเย็บผ้าโหล ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารสำนักงานป้องกัน ควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2559;23(1):46-61.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, ธวัชชัย คำป้อง, วรวรรณ ภูชาดา. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการสัมผัส ปัจจัยเสี่ยงการยศาสตร์ของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป. The Public Health Journal of Burapha University 2561;12(1):99-111.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall; 1977.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก (ชุดย่อฉบับ ภาษาไทย)(WHOQOL - BREF – THAI) [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nursing.go.th/SidebarMenu

สุวัฒน์ ชำนาญ, ณัฐจาพร พิชัยณรงค์, รณรุทธ์ บุตรแสนคม. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้าน การยศาสตร์ ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดจาก การทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2559;23(3):56-66.

ณัฐพล ทนุดี, น้ำเงิน จันทรมณี, บุญลือ ฉิ่มบ้านไร่. ผลของโปรแกรมการจัดการด้านการยศาสตร์ใน การแก้ไขอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำงานของกลุ่มสตรีปักผ้าชาวไทยภูเขา อำเภอปง จังหวัดพะเยา. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา 2561;19:133-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31