ความชุกการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในหญิงตั้งครรภ์ พื้นที่เขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • พิสมัย สุระกาญจน์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • นิชนันท์ โยธา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • สุพัตรา สิมมาทัน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์, ไวรัสตับอักเสบ บี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายพรรณนา เพื่อหาความชุกการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และระบาดวิทยาเชิงพรรณนาในหญิงตั้งครรภ์พื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่ขึ้นทะเบียนฝากครรภ์ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.2557-ธันวาคม
พ.ศ.2561 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวนและร้อยละ

ผลการศึกษาพบว่าหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 มีความชุกการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในปี พ.ศ. 2557–2560 ร้อยละ 1.02 1.07 0.85 1.09 และ 1.13 ตามลำดับ มีอายุอยู่ในช่วง 27–35 ปี ร้อยละ 48.6 รองลงมาคือในช่วง 19 - 26 ปี ร้อยละ 30.6 อายุน้อยสุด 14 ปีและอายุมากสุด 47 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง และค้าขาย ร้อยละ 34.72 จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษามากที่สุดร้อยละ 27.86 ฝากครรภ์ครั้งแรกในไตรมาสที่ 1 ร้อยละ 59.67 รองลงมาคือไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 31.6 ส่วนใหญ่เป็นการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 ร้อยละ 39.29 รองลงมาคือการตั้งครรภ์ครั้งที่ 1 และ 3 ร้อยละ 30.77 และ 21.83 ตามลำดับ ในระหว่างการตั้งครรภ์ได้รับการดูแลทั่วไป
เหมือนหญิงตั้งครรภ์ปกติร้อยละ 58.41 รองลงมาคือส่งปรึกษาอายุรแพทย์ และส่งต่อโรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลศูนย์ ร้อยละ 19.54 และ 18.92 ตามลำดับ

จากผลการศึกษาควรมีระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกและป้องกันการเกิดภาวะตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับในอนาคต

References

บุญเติม แสงดิษฐ, ชัยพล บัณฑิตสิงห์, ดุสิต จันทยานนท์. การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังในชายหนุ่มไทย: ปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข. เวชสารแพทย์ทหารบก. 2557; 67: 79-84.

ศูนย์ประสานงานโรคตับอักเสบจากไวรัส สำนักเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไวรัสตับอักเสบ พ.ศ. 2560-2564. พิมพ์ครั้งที่ 2. เจ เอส การพิมพ์ กรุงเทพฯ; 2560.

กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรคห่วงปัญหาโรคตับอักเสบ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://pr.moph.go.th/iprg/

module.php?mod=news_print&idHot_new=84964.

Custer B, Sullivan S, Thomas K, Kris V. Global epidemiology of hepatitis B virus. J Clin Gastroenterol. 2004; 38:158-68.

Merican I, Guan R, Amarapuka D, Alexander MJ, Chutaputti A, Chien RN, et al. Chronic hepatitis B virus infection in Asian countries.JGastroenterol Hepatol. 2000; 15: 1356-61.

เฉลิมรัฐ บัญชรเทวกุล. ไวรัสตับอักเสบซี. วารสารกรมการแพทย์ 2558; 2: 6-10.

Centers for disease control and prevention.Hepatitis B Information [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก:http://www.cdc.gov/hepatitis/hbv/hbvfaq.htm#overview.

World Health Organization. Regional action plan for viral hepatitis in South-East Asia: 2016-2021; 2017.

ศูนย์ประสานงานโรคตับอักเสบจากไวรัส กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานการถ่ายทอดโรคไวรัสตับอักเสบ บี จากแม่สู่ลูก. กรุงเทพมหานคร: เจ เอส การพิมพ์; 2561.

Charline L, Pierrick A, Khamduang W, Kawilapat S, N Ngo-Giang-Huong, Ongwandee S, et al. Prevalence of chronic hepatitis B virus infection in Thailand: a systematic review and meta-analysis. International J of Infectious Dis. 2016; 5: 136-43.

McMahon BJ, Alward WL, Hall DB, Heyward WL, Bender TR, Francis DP, et al. Acute hepatitis B virus infection: relation of age to the clinical expression of disease and subsequent development of the carrier state. J Infect Dis. 1985; 151: 599-603.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-11