พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ กลุ่มวัยทำงานในจังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ ใจเที่ยง คณะเเพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สรวิศ บุญญฐี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ปฏิพัทธ์ วงค์เรือง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ,สุขบัญญัติ 10 ประการ,วัยทำงาน

บทคัดย่อ

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทย พฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสมของวัยทำงาน มีผลทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ 10
ประการของวัยทำงานในจังหวัดพะเยา โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นรูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ นำเสนอด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความรู้ ความเข้าใจ ระดับสูง ร้อยละ 69.4 ทัศนคติ ระดับสูง ร้อยละ 64.5 ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม ระดับปานกลาง ร้อยละ 58.8 และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ระดับปานกลาง ร้อยละ 55.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ โรคประจำตัว ความรู้ ทัศนคติ สถานภาพและปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศและรายได้ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ กลุ่มวัยทำงานส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติ 10 ประการ อยู่ในระดับปานกลางโดยมี อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ โรคประจำตัว ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมดังกล่าว

References

Susser M. Health IS A human right: an epidemiologists perspective on the public health. Am J Public Health 1993. (In Thai)

Office of the Primary Health Commission. National Health Plan according to the National Economic and Social Development Plan No. 5(1982-1986); Nonthaburi. 1984. (In Thai)

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health, Division of Health EducationNational commandments happiness. (4th edition). Nonthaburi: Division of Health Education Ministry of Public Health. 2008. (In Thai)

Office of Health Promotion. Working people at risk of chronic diseases [Internet]. 2018 [cited 2020 Jan 18]. Available from: http://www.thaihealth.or.th. (In Thai)

W.G.cochran. Sampling Techniques. XVII + 413 S. New York : London.1963.

Conbach, L. Joseph. Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill, (1984).

ธวัช วิเชียรประภา. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร

มหาบัณฑิต]. จังหวัดชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2555.

วารินทร์ ปุยทอง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังดง จังหวัดกาญจนบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2547.

Ukkhati A, Dhammasaccakarn W, Prom-in S. Factors affecting health behavior in terms of national health recommendations among village-health volunteers in Satun province. Songklanagarind Medical Journal 2008 ; 26(6): 527-538. (In Thai)

Srijun P, Charoendee S, Chaitiang N, Juwa S, Kadkhaow A, Sangsrichan C. Factors related to health care behaviors based on 10 National health recommendation among teenager in Phayao Province. Public Health & Health Laws Journal 2019: 5(1): 31-40. (In Thai)

อัญชลี นพรัตน์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในตำบลบ้านปรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม [วิทยานิพนธ์

ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2552.

ณัฏฐภาส พรหมา. ความรู้และพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2553.

ฐปนัท อินทรสาลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ของอาสาสมัครสาธารณสุขในเทศบาลนครนนทบุรี. [วิทยานิพนธ์

ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2552.

Wongsawat S, Srisuppanich P. Knowledge and Health Behavior as National Health Recommendation of Boromarajonani Nakhonratchasima NursingCollege Students. Journal of Nursing and Education (JONAE) 2011. 4(3): 113-125. (In Thai)

KitRungrot T, NaoSuwan K, Promsuwan J. The factors related to health behaviors following national health recommendation of secondary school’s students in Songkhla province. [Bachelor of nursing science thesis]. Songkhla: Boromarajonani College of Nursing Songkhla; 2006.

สุวัฒน์ ศิริแก่นทราย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของอาสาสมัครสาธารณสุข [Internet]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 5 กุมภาพันธ์

. เข้าถึงได้จาก http://conf.neu.ac.th/home/index.php.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-11