ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสัมผัสตะกั่วของผู้ประกอบอาชีพคัดแยกซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในพื้นที่ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • พรทิวา ถาวงค์กลาง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การสัมผัสตะกั่ว, ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นรูปแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสัมผัสตะกั่วของผู้ประกอบอาชีพคัดแยกซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2562 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่าง 98 คน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์กับการสัมผัสตะกั่ว (ระดับตะกั่วในเลือด ³ 5 mg/dL) โดยใช้สถิติ Simple logistic regression นำเสนอด้วยค่า Odds ratio (OR) ที่ช่วงความเชื่อมั่น 95% และ p-value ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า ระดับตะกั่วในเลือดกลุ่มตัวอย่างมีค่ามัธยฐาน เท่ากับ 4.11 μg/dL  (Min-Max=0.01-17.47) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 40.82 มีค่าระดับตะกั่วในเลือด ³  5 μg/dL เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสัมผัสตะกั่วพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (OR = 19.00, 95%CI = 4.18 – 86.20,  p-value = <0.001) ระยะเวลาประกอบอาชีพ ³ 8 ปี (OR = 4.31, 95%CI = 1.80-10.33, p-value = 0.001) ไม่มีระบบถ่ายเทอากาศในบริเวณทำงาน (OR = 3.83, 95%CI = 1.59 – 9.31,  p-value = 0.003) และคัดแยกแบตเตอรี่
(OR = 2.73, 95%CI = 1.19-6.26,  p-value = 0.018)

จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการในการป้องกันการสัมผัสตะกั่วโดยตรงของผู้ประกอบอาชีพ โดยเน้นให้มีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและการระบายอากาศในบริเวณที่ทำงาน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการสัมผัสตะกั่วในผู้ประกอบอาชีพคัดแยกซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป

References

European commission. Directive 2002/96/EC of the European parliament and the council of 27 January 2003 on waste electrical and electronic equipment (WEEE). Official Journal of the European Union 2003; 24-39.

กระทรวงอุตสหกรรม. ประกาศกระทรวงอุตสหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 [ออนไลน์]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.jetro.go.jp/ext_images/thailand/thai/pdf/hazardlist13_tha.pdf

สายใจ วิทยาอนุมาส. การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ. รายงานทีดีอาร์ไอ 2560; 133: 3-4.

องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด. ทะเบียนผู้ประกอบการคัดแยะขยะอิเล็คทรอนิกส์ ปีงบประมาณ 2561. กาฬสินธุ์; องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด.

ชัญญาภัค จันทดวง. ชนิดและปริมาณของชิ้นส่วนที่ถูกคัดแยกได้จากขยะอิเล็กทรอนิกส์ ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2561.

Xu X, Zeng X, Boezen H.M,Huo X. E-waste environmental contamination and harm to public health in China. Frontiers in Medicine 2015, 9(2): 220-228.

กรมควบคุมมลพิษ. ยุทธศาสตร์การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เชิงบูรณาการ ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ - ๒๕๖๔ ฉบับผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๘. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด; 2558

CDC. Lead Elevated Blood Levels 2016 Case Definition [Internet]. 2019 [cite 2019 Oct 1] Available from: https://wwwn.cdc.gov/nndss/conditions/lead-elevated-blood-levels/case-definition/2016/

โรงพยาบาลฆ้องชัย. รายงานผลตรวจสารโลหะหนักทางห้องปฏิบัติการชันสูตร 2563. กาฬสินธุ์; โรงพยาบาลฆ้องชัย.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2548. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น; ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมศักดิ์ ศรีภักดี. การเปรียบเทียบปริมาณตะกั่วในผู้ปฏิบัติงานซ่อมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ปฏิบัติงานในการผลิตแบตเตอรี่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2544

กองอาชีวอนามัย. เอกสารวิชาการ เรื่อง พิษตะกั่ว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2535

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-29