ผลของโปรแกรมการจำกัดแป้ง (Low Carb) ร่วมกับการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กง ในการดูแลสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : อาหารพร่องแป้ง, โปรแกรมการจำกัดแป้ง(Low Carb) ร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ เคลื่อนไหวไทยชี่กงในการดูแลสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงเบาหวานบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมการจำกัดแป้ง (Low Carb) ร่วมกับกการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงในการดูแลสุขภาพและเพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือด(FBS),BMI และเส้นรอบเอวก่อนและหลังการใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 71 คน ระยะเวลาศึกษาระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 – 31 มกราคม 2563 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบคัดกรอง และเครื่องมือที่ใช้ทดลองเป็นโปรแกรมการจำกัดแป้ง(Low Carb) ร่วมกับการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงในการดูแลสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้ระยะเวลา 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมานเปรียบเทียบความแตกต่างระดับน้ำตาลในเลือด ดัชนีมวลกาย ก่อนและหลังการจัดโปรแกรม ด้วยสถิติ Paired sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมประชาชนกลุ่มเสี่ยง ค่าเฉลี่ย ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตตัวบน ระดับความดันโลหิตตัวตัวล่าง ดัชนีมวลกาย และรอบเอว น้อยกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.001, <.001, <.001, <.001, <.001 ตามลำดับ) โดยพบว่า มีความพึงพอใจมากที่สุดจำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 76.1 และความพึงพอใจมากจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 23.9
คำสำคัญ : อาหารพร่องแป้ง, โปรแกรมการจำกัดแป้ง(Low Carb) ร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ
เคลื่อนไหวไทยชี่กงในการดูแลสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน
References
เอกสารอ้างอิง
สุกฤษฎ์ ถอสุวรรณ์. (2562). นั่งเฉยๆก็ผอมได้.“เสียเวลาลดพุง ถ้าไม่รู้สิ่งนี้”พิมพ์ครั้งที่ 4. นครสวรรค์:สำนักพิมพ์ หมอทีม Dr.Team.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCDคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. พิมพ์ ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาสินธุ์. รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวาน พ.ศ. 2562. [อินเตอร์เน็ต]. 2562.[เข้าถึงเมื่อ 24 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://ksn.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php.
โรงพยาบาลห้วยเม็ก. รายงานผลการคัดกรองโรคเบาหวาน 2563. ฐานข้อมูล HOSxP; โรงพยาบาลห้วยเม็ก; 2563
กองการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. อาหารพร่องแป้ง (Low Carb Diet).พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: บริษัท วี อินดี้ ดีไซน์ จำกัด; 2561.
เพชราภรณ์ คำาเอี่ยมรัตน์. (2558). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองตามหลัก3อ.2ส. ของประชาชน กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน ตำบลทุ่ม อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อัจฉรา แสนไชย. (2553). ผลของการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2.
อรชร ปอแก้ว และทรงอภิรัชต์ อ่อนอัฐ. (2562). ผลของการใช้โปรแกรมการจำกัดแป้ง (Low Carb)ในการดูแลสุขภาพของเจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย ร่วมกับการใช้ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโรงพยาบาลพนาปี 2562.
Atkins RC. (1992). Dr. Atkins New Diet Revolution, New York, Avon Books.
Bloom, Benjamin S. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York: McGraw - Hill.
David Ludwig, Ebbeling CB et al. (2018). Effects of a low carbohydrate diet on energy expenditure during weight loss maintenance: randomized trial.
Gerald Reaven. (1988) Role of insulin resistance in human disease. 1988"
House, Robert J. & Mitchell, Terence R. (1974). “Path-Goal theory of leadership”. Journal of Contemporary Business.
Volek JS, Phinney SD, Forsythe CE et al. (2009X Carbohydrate restriction has a more favorable impact on the metabolic syndrome than a low fat. Lipids.
WebMD. Breakfast: Is It the Most Important Meal? สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น