ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค อำเภอชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, วัณโรค, ชายแดนไทย-กัมพูชาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคในอำเภอเขตชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ ผู้ป่วยวัณโรคที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอำเภอเขตชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 1 - 31 มีนาคม 2563 จำนวน 149 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับคุณภาพชีวิตด้วยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติกนำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า ORadj, 95%CI และค่า p-value
ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง ร้อยละ 81.88 และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับคุณภาพชีวิต แบ่งระดับคุณภาพชีวิตออกเป็น 2 ระดับ พบว่า ผู้ป่วยวัณโรคมีคุณภาพชีวิตระดับดี ร้อยละ 17.45 คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 91.11 ±6.60 คะแนน เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์แต่ละตัวแปรกับคุณภาพชีวิต พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อาชีพ (OR=3.64, 95%CI=1.18-11.22, p-value=0.024) และรายได้ (OR=3.32, 95%CI=1.38-7.97, p-value=0.007) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ กับคุณภาพชีวิตทีละหลาย ๆ ตัวแปร พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายได้ (ORadl=3.13, 95%CI=1.29-7.63, p-value=0.012) ดังนั้นควรมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพ และพัฒนาอาชีพที่มีอยู่ให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตขดีขึ้นตามไปด้วย
References
พุทธิไกร ประมวล, ดร จิราพร เขียวอยู่ และนงลักษณ์ เทศนา. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนจากเสมหะบวกเป็นเสมหะลบ เมื่อสิ้นสุด 2-3 เดือนแรกของการรักษา ผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกรายใหม่ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 14(4). 93-105.
มะลิณี บุตรโท และพรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2556) การป้องกันวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อที่ขึ้นทะเบียนรักษา อำเภอประโคนชัย อำเภอกระสัง และอำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น. 18(3). 11-21.
รัชณีกรณ์ ปาทา และพรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค เครือข่ายสุขภาพบัวแดงภักดีสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. 8(1). 5-13.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2561). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2561. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2562). TBCM Online. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2562. จาdhttps://tbcmthailand.ddc.moph .go.th.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย. (2557). แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์กรอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย ข้อมูลสำคัญด้านการพยาบาล : สำนักการพยาบาล
สุพพัตธิดา แสงทอง, จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์ และสุพัตรา บัวที. (2556). ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการอาการต่อการรับรู้อาการ และการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยวัณโรคปอด.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 31(4). 105-114.
เสาวลักษณ์ โพธา และพรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อราย ใหม่ในเขตพื้นที่สาธารณะสุขที่ 3 จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 20(2). 148-158.
Atif, M., Sulaiman, S.A., Shafie, A.A., Asif, M., Sarfraz, M.K., Low, H.C. et al. (2014). Impact of tuberculosis treatment on health-related quality of life of pulmonary tuberculosis patients: a follow-up study. Health and Quality of Life Outcomes. 12. 19.
Gao, X.F. & Rao, Y. (2015). Quality of life of a migrant population with tuberculosis in West China. The International Journal of Tuberculosis and Lung Disease: The Official Journal of the International Union Against Tuberculosis and Lung Disease. 19(2). 223-230.
Hayakwong, A., Silpakit, C., Komoltri, C. & Udol, K. (2013). Depression and quality of life among adults with pulmonary tuberculosis. Journal of Mental Health of Thailand. 21(2). 110-120.
Hsieh, F.Y., Bloch, D.A. & Larsen, M.D. A simple method of sample size calculation for Linear and logistic regression. Statistics in medicine. 1998;17(14):1623 – 34.
Jaber, A.S., Khan, A.H., Sulaiman, S.A., Ahmad, N. & Anaam, M.S. (2016). Evaluation of Health-Related Quality of Life among Tuberculosis Patients in Two Cities in Yemen. PloS One. 11(6). e0156258.
Masood, S.A., Muhammad, W. & Muhammad, A.A. (2012). Factors influencing quality of life in patients with active tuberculosis in Pakistan. MPRA Paper, University Library of Munich, Germany. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2562, จาก https://ideas.repec.org/p/pra/mpra pa/40043.html
World Health Organization. (1998). Programme on mental health: WHOQOL user manual.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น