ผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของกลุ่มเกษตรกรไร่อ้อย ตำบลหนองอีบุตร อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • นงลักษณ์ โชติมุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เลิศชัย เจริญธัญรักษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ผลกระทบต่อสุขภาพ, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกรไร่อ้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของกลุ่มเกษตรกรไร่อ้อย ตำบลหนองอีบุตร อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากร 254 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และเจาะปลายนิ้วเพื่อตรวจคัดกรองระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส สถิติพรรณนาที่ใช้ เป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลโดยตัวแปรเดี่ยวและนำเสนอด้วยค่า OR และ 95% CI ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรไร่อ้อยส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 86.6 อายุเฉลี่ย 58.0 ± 12.4 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 88.6 มีการใช้สารเคมีฯ ร้อยละ 99.6 และมีอาการผิดปกติหลังจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 87.0 ผลตรวจระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส พบว่า ระดับมีความเสี่ยง ไม่ปลอดภัย ปลอดภัย และ ปกติ ร้อยละ 53.5, ร้อยละ 28.0, ร้อยละ 16.9 และร้อยละ 1.6 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สารเคมี กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเกษตรกรไร่อ้อย พบว่า ทุกพฤติกรรมที่เป็นข้อมูลปัจจัยและอาการผิดปกติหลังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องมีการจัดกิจกรรมการป้องกันตนเอง ให้เกษตรกรไร่อ้อย เพื่อให้เกิดความตระหนัก การปฏิบัติ การป้องกันดูแลสุขภาพตนเอง ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นประจำ

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก:http://stat. bora.dopa.go.th/statstatnew/statTDD/views/showProvinceData.php.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. ผลการสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร [ออนไลน์]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก:http://service.nso.go.th/nso/ nsopublish/service/agricult/ais-wk/ais-wk.pdf.

สำนักคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. รายงานการผลิตอ้อยของประเทศไทยประจำปีการผลิต 2560/61. กรุงเทพ: กระทรวงอุตสาหกรรม; 2561.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ข้อมูลตัวชี้วัด “ปริมาณการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร” [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 16 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.onep. go.th/env_data/2016/01_60/.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 16 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph. go.th/uploads/files/89c294f74b806af79b24cacd7fb58b7f.pdf.

ศิริกัญญา ฤทธิ์แปลก. บทความวิชาการเรื่อง ปัญหาสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ยาง และอ้อย. กาญจนบุรี: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น; 2561.

สาคร ศรีมุข. บทความวิชาการเรื่อง ผลกระทบจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทย [ออนไลน์]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 16 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://library.senate.go.th/document/Ext6409/6409657_0002.PDF.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4: กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์, 2558.

นิภาพร ศรีวงษ์. ผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำไร่อ้อยของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ตำบลหนองกุงแก้ว อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม]. ขอนแก่น:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

ชุติญา ดานะ. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรไร่อ้อย [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

เจียระไน ปาลี. พฤติกรรมและผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่ปลูกยาสูบ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน [การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม] เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

กิตติพันธุ์ ย่งฮะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเกษตรกรพื้นที่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-29