ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • จิรายุทธ นิเลปิยัง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟนของ อสม. ในเขตอำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างคือ อสม. ปีงบประมาณ 2563 ที่มีการใช้งานสมาร์ตโฟน จำนวน 562 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1 – 20 มีนาคม 2563 ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มตามโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก แสดงผลด้วยค่า Adjusted odd ratio (ORadj.) และ 95%CI   ผลการวิจัยพบว่า  อสม. มีความชุกของพฤติกรรมติดสมาร์ตโฟนร้อยละ 40.04 ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก ได้ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยป้องกัน ( < 1) ประกอบด้วย อายุ  50 ปี (ORadj.=0.40, 95%CI = 0.22-0.75) ไม่ได้สมรส (ORadj.= 0.12, 95%CI = 0.06-0.27) ระดับการศึกษาประถมศึกษาและต่ำกว่า (ORadj.= 0.52, 95%CI = 0.27-0.99) และ BMI น้อยกว่าและมากกว่าเกณฑ์ปกติ (ORadj.= 0.35, 95%CI = 0.20-0.59)  ปัจจัยเสี่ยง ( > 1) ประกอบด้วย เพศชาย (ORadj.= 1.96, 95%CI = 1.09-3.51) ประกอบอาชีพเกษตรกร (ORadj.= 2.73, 95%CI = 1.44-5.18) ดำรงตำแหน่งทางการปกครอง (ORadj.= 3.55, 95%CI = 1.67-7.56) มีโรคประจำตัว (ORadj.= 3.67, 95%CI = 1.95-6.91) ใช้สมาร์ตโฟน > 5 ชั่วโมงต่อวัน (ORadj.= 2.34, 95%CI = 1.35-4.03) ใช้สมาร์ตโฟนด้านโลกสังคมออนไลน์ (ORadj.= 4.25,   95%CI = 2.28-7.94) ใช้แอปพลิเคชั่น Facebook (ORadj.= 4.25, 95%CI = 2.28-7.94) และมีปัญหาความเครียด (ORadj.= 11.12, 95%CI = 5.57-22.17) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสรุปแล้ว พฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟนใน อสม. ควรมีการควบคุมการใช้สมาร์ตโฟนด้วยตนเอง  เน้นการใช้งานที่มีประโยชน์สูงสุด เช่น การใช้แอปพลิเคชั่น Line และ Smart อสม. ในการส่งรายงาน ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและลดความเสี่ยงเกี่ยวกับอุบัติเหตุ แต่ควรมีการจำกัดเวลาในการสั่งงาน หรือส่งงาน และประยุกต์ใช้ในงานส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนในเขตบริการ

References

กรมพลศึกษา. โภชนาการกับการออกกำลังกาย. [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.dpe.go.th.

กรมสุขภาพจิต. ภาวะเสพติด. [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จากhttps://www.dmh.go.th.

กรมสุขภาพจิต. ความเครียด. [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://envocc.ddc.moph.go.th.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แนวทางพัฒนาศักยภาพ อสม. 4.0. [ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://phc.moph.go.th.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือ อสม. ยุคใหม่. [ออนไลน์]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://phc.moph.go.th.

จงกลนี บุญณะ, จิตสุภา จึงเจริญนิรชร และ อริสรา สะอาดนัก.พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือที่ส่งผลต่อโรคโนโมโฟเบียของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมประจำปี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ครั้งที่ 9 ปี 2558. [ออนไลน์]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จากhttp://www.mis.ms.su.ac.th.

ชีวรัตน์ ปราสาร, สรันยา เฮงพระพรหม, ณภัควรรต บัวทอง และ ธนะภูมิ รัตนานุพงศ์. ความชุกของภาวะNomophobia ในกลุ่มนิสิตนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรีที่ใช้สมาร์ตโฟน ในมหาวิทยาลัยภาครัฐ. Chula Med Journal. 61; 2. [ออนไลน์]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://clmjournal.org.

นิตยา เจริญกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพของผู้ใช้บริการทันตกรรม: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ. SDU Research Journal.7; 3. [ออนไลน์]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จากhttps://www.tci-thaijo.org.

นิคม ถนอมเสียง. Multiple logistic regression. [ออนไลน์]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://home.kku.ac.th.

ปทิตตา ทองเจือพงษ์. ปัจจัยและผลกระทบของการเสพติดสมาร์ทโฟนต่อประสิทธิภาพการทำงาน โรคกลัวไม่มีสมาร์ทโฟนใช้. วารสารระบบสาระสนเทศด้านธุรกิจ (JISB). 2; 3:40. [ออนไลน์]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.jisb.tbs.tu.ac.th.

เปมิกา ออประเสริฐ และ พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตเทศบาล อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการระบาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2562.

วรพร เอกมนัส. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และอิทธิพลเชิงบวกต่อการเสพติดสมาร์ตโฟน ของพนักงานในกลุ่มบริษัทผู้ผลิตมีเดีย A ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2558.

วาสนา ศิลางาม. อันตรายของการเสพติดสมาร์ทโฟน. วารสาร มฉก. วิชาการ. 22; 43-44: 193–204. [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 11 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.tci-thaijo.org.

วรรณคล เชื้อมงคล, ธีรวิทย์อินทิตานนท์ และ จตุพร หวังเสด. ผลของการใช้สมาร์ตโฟนและแท็บแล็ตต่อสุขภาพและผลการเรียนของนิสิตเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. ศรีนครินทร์เวชสาร. 34; 1. [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 11 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.tci-thaijo.org

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. โปรแกรมประยุกต์. [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. โภชนาการ. [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org

สันทณี เครือขอนและสิริลักษณ์ กาญจโนมัย. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดคอจากการใช้สมาร์ทโฟนในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นเขตคลองหลวง. วารสารกายภาพบำบัด. 38; 1: 23–32. [ออนไลน์]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.tci-thaijo.org.

สิริกานต์ แก่นเพชร. การเสพติดสมาร์ตโฟนของนักเรียนระดับอุดมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2559.

สุคนธ์ธิกา นพเก้า, ภูดิท เตชาติวัฒน์, ปัทมา สุพรรณกุล และ ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยวิถีการแพทย์แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของ อสม. จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์. 11; 2. [ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.tci-thaijo.org.

สุภาวดี เจริญวานิชและรังสิมันต์ สุนทรไชยา. การพัฒนาแบบประเมินพฤติกรรมการติดสมาร์ทโฟนฉบับสั้น ฉบับภาษาไทย. Journal of Mental Health of Thailand. 27; 1: 25–36. [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.tci-thaijo.org.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน. [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://statbbi.nso.go.th.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. เทคโนโลยีในครัวเรือน. [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th.

เสาวนีย์ ขจรเทวาวงศ์. ปัจจัยที่ผลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ตโฟนตราสินค้าจีนของผู้บริโภคคนไทย. [ออนไลน์]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th.

Anderson J. & Rainie L. The 2019 Survey: Digital Life and Well-Being. [Online]. 2019. [Cited 5 October 2019]. Availabe from https://wearesocial.com.

Anderson J. &Rainie L. The 2018 Survey: Digital Life and Well-Being. [Online]. 2018. [Cited 5 October 2019]. Availabe from http://www.elon.edu.

Alhassan A, AlqadhibE, Taha N, Alahmari R, Salam M. &Almutairi A. The relationship between addiction to smartphone usage and depression among adults: A cross sectional study. BMC Psychiatry.18; 1: 148. [Online]. 2018. [Cited 5 October 2019]. Availabe from https://www.ncbi.nlm.nih.gov.

Best. JW. & James VK. Research in Education. [Online]. 1997. [Cited 1 October 2019]. Availabe from http://dc.oas.psu.ac.th.

Cha S-S. & Seo B-K. Smartphone use and smartphone addiction in middle school students in Korea: Prevalence, social networking service, and game use. Health Psychology Open. 5; 1. [Online]. 2018. [Cited 5 October 2019]. Availabe from https://www.researchgate.net.

Chen B, Liu F, Ding S, Ying X, Wang L. & Wen Y. Gender differences in factors associated with smartphone addiction: A cross-sectional study among medical college students. BMC Psychiatry. 17; 1. [Online]. 2017. [Cited 5 October 2019]. Availabe from https://www.researchgate.net.

Emanuel R. The truth about smartphone addiction. College student journal. 49; 1. [Online]. 2015. [Cited 7 October 2019]. Availabe from https://www.researchgate.net.

David W. Hosmer & Lemeshow S. Applied Logistic Regression. [Online]. 2000. [Cited 9 October 2019]. Availabe from http://resource.heartonline.cn.

Kwon M., Kim D., Cho H. &yang S. The Smartphone Addiction Scale: Development and Validation of a Short Version for Adolescents. [Online]. 2013. [Cited 10 October 2019]. Availabe from https://journals.plos.org.

Kwon M., Kim D., Cho H. & yang S. Concurrent validity of SAS-SV. [Online]. 2013. [Cited 10 October 2019]. Availabe from https://www.researchgate.net.

Leon G. Epidemiology 4th. [Online]. 2008. [Cited 10 October 2019]. Availabe from https://www.academia.edu.

Lwanga SK., Lemeshow S. Sample size determination in health studies. [Online]. 1991. [Cited 11 October 2019]. Availabe from https://tbrieder.org.

Severin H., Raquel P., Min K., Andreas F., Tobias K. & Michael P. Smartphone use and smartphone addiction among young people in Switzerland. Journal of Behavioral Addictions.4; 4: 299 – 307. [Online]. 2016. [Cited 10 October 2019]. Availabe from https://www.researchgate.net.

Turner A. Smartphone Addiction & Cell Phone Usage Statistics in 2019. [Online]. 2019. [Cited 10 October 2019]. Availabe from https://www.bankmycell.com

Venkatesh E., Jemal M. &Samani A. Smart phone usage and addiction among dental students in Saudi Arabia: a cross sectional study. [Online]. 2017. [Cited 10 October 2019]. Availabe from https://www.ncbi.nlm.nih.gov

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-29