ความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยง ในการติดเชื้อโรคซิฟิลิสของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเพศชาย ในจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ชินวัตร พลศักดิ์ขวา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • นาถอนงค์ หวานแท้ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • สุกัญญา ฆารสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, โรคซิฟิลิส, สิ่งปลุกเร้าทางเพศ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อโรคซิฟิลิส ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับโรคซิฟิลิส และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อโรคซิฟิลิสของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งหนึ่ง ในอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ประชากรที่ศึกษา เป็นนักเรียนชายในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งหนึ่ง ในอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 276 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 225 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ดำเนินการในเดือน มกราคม พ.ศ 2563 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ แจกแจงข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสมการการถดถอยพหุโลจิสติก พร้อมช่วงเชื่อมั่น (95%CI) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 16.91 ปี (S.D.= 0.81) ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 60.89 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อโรคซิฟิลิสของนักเรียนชายโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งหนึ่ง ได้แก่ ปัจจัยการมีเพศสัมพันธ์ (ORadj = 2.74, 95%CI: 1.26 - 5.95, p-value = 0.011) การสูบบุหรี่ (ORadj =2.13 , 95%CI: 1.13 - 4.01, p-value = 0.019) และการเคยอ่านหนังสือหรือดูวิดีโอเทป วีซีดี ทีวี เกี่ยวกับสิ่งปลุกเร้าทางเพศ (ORadj = 2.44, 95%CI: 1.08 - 5.53, p-value= 0.031) ข้อเสนอแนะ สถานศึกษาต้องเพิ่มความเข้มงวดและเฝ้าระวังการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือการสูบบุหรี่ รวมถึงควรเพิ่มการฝึกสามารถจัดการตนเองเมื่อได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ปลุกเร้าทางเพศ

References

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รง.506 ประจำ ปี 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ10 ตุลาคม 2562].เข้าถึงได้จาก:http://odpc8.ddc.moph.go.th/upload_epi_article.

นิรมล ปัญสุวรรณ, สุปิยา จันทรมณี. ความชุกและอุบัติการณ์การติดเชื้อเอชไอวีประเทศ ไทย พ.ศ. 2556.นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

สามารถ พันธ์เพชร.สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ประเทศไทย พ.ศ. 2555 – 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2562].เข้าถึงได้จาก:file:///C:/Users/admin/Downloads/5a8f8b127c388.pdf.

จุฑามาศ เบ้าคำกอง, สุภารัตน์ คะตา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักศึกษา:กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปี 2562.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2562; 26(1):66-76.

รายงานสถานการณ์ ติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ประเทศไทย พ.ศ. 2555. [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph. go.th/aids/Downloads/book/2557/ Final_report_migrant_2555.pdf.

จุฑามณี กันกรุง. การศึกษาความฉลาดทางสุขภาวะ ของนักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม; 2558.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression 1998.Statistics in medicine:17:1623-34.

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, สมพาน โคตรธารินทร์ สุกัญญา ฆารสินธุ์, ลำพึง วอนอก. ปัจจัยความฉลาดทางสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเอดส์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพศชายในจังหวัดบึงกาฬ ปี 2562. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2562;26(2):71-82.

Bloom BS. Learning for mastery. Evaluation Comment.1968;1:29-62.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. India, New Delhi: Prentice Hall, Inc.1978.

ศริญญา เจริญศิริ, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, ยุวดี ลีลัคนาวีระ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในนักศึกษาชายของการศึกษานอกระบบโรงเรียน ปี 2562.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2562:30(2):14-25.

พอเพ็ญ ไกรนรา. ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2556. 30(4):274-86.

ภาสิต ศิริเทศ, ประกายรัตน์ ทุนิจ, วรัฏฐา เหมทอง, กาญจนา บุศราทิจ. ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเจตคติการป้องกันโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่อําเภอเมืองจังหวัดเพชรบุรี ปี 2563. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข:6:53-70.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และนฤมล ตรีเพชรศรีอุไร.ความฉลาดทางสุขภาพ.กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์;2554.

Farid ND, Rus SC, Dahlui M, Al-Sadat N, Aziz NA. Predictors of sexual risk behaviour among adolescents from welfare institutions in Malaysia: a cross sectional study. BMC Public Health. 2014;14:1-8.

Butterworth B. Sex survey 2014. Gay Times:4(30):58-65.

วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์, อาภาพร เผ่าวัฒนา, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา. ปัจจัยที่ใช้ทำนายพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเด็กวัยรุ่นชาย จังหวัดพิษณุโลก ปี 2556. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2556: 27(1):31-45.

ณิชาภัทร ปุ่นมีกิจ.ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เมืองพัทยา [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา;2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-29