การสำรวจสภาพความพิการปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนในชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วันชัย พรหมศรี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • สิทธิพร นามมา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความพิการ, ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม, ผู้ป่วยโรคเรื้อน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพความพิการ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม และเพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนและบุคคลอื่น ๆ ในชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวนทั้งสิ้น 612 คน เป็นผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนที่ผ่านการคัดกรองปัญหาเบื้องต้นจำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดประเมินความพิการแบบเร็ว (Rapid Disability Assessment toolkit: RDA tool kit) สถิติที่ใช้คือ สถิติเชิงพรรณนา และเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ตัวแปร 2 ตัวด้วย Independent t-test การวิเคราะห์การผันแปรทางเดียว One-way ANOVA

          ผลการศึกษาในผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนในชุมชนที่มีอายุและเพศเดียวกัน พบว่า มีลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกัน แตกต่างในเรื่องการมีงานทำและหนี้สิน ผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยยา MDT และมีความพิการในระดับ 2 เป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และไม่ได้ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายสม่ำเสมอ ไม่ได้ใช้เครื่องช่วยความพิการเลย ปัจจัยทำนายข้อจำกัดในการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อน คือ สถานภาพสมรส การศึกษา สมาชิกในครอบครัว อาชีพ ประเภทที่อยู่อาศัย รายได้เฉลี่ยในครอบครัว และหนี้สินของครอบครัวต่อเดือน ไม่มีข้อจำกัดในการมีส่วนร่วมทางสังคมเนื่องจากอยู่ในชนบทและอาศัยอยู่ในครอบครัว จึงไม่มีข้อจำกัดทางสังคม และไม่มีความรู้สึกของตีตราในสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยทำนายความรู้สึกถูกตีตราของผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อน คือ อาชีพ ประเภทที่อยู่อาศัย และรายได้เฉลี่ยในครอบครัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

1. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2553. (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2554.
2. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. จุดเน้นและกรอบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคเรื้อนและภัยสุขภาพ. การจัดประชุมเรื่องจุดเน้นการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคเรื้อน ประจำปี 2556; เอกสารอัดสำเนา
3. สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. คู่มือการตรวจประเมินและวินิจฉัยความพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550. กรุงเทพมหานคร: สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2553
4. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. บัญชีสากลเพื่อการจำแนกการทำงานความพิการและสุขภาพ (ฉบับภาษาไทย) พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร; 2547.
5. Medicine Net.Definition qf activities qf daily living.Available from (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อ 17 พฤษภาคม 2555 http://www.medtterms.com script/main/art.asp.articlekey,2152.
6. Wim H Van Brakel. Benyamin Sihombing. Hernani Djarir. Kerstin Beise. Laksmi Kusumawardhani. Rita Yulihane. A scale to assess activities of daily in person affected by leprosy. Lepr Rev; 1999 ; 70 : 314-23.
7. The SALSA Collaborative Group. Screening Activity Limitation and Safety Awareness: User Manual Version 1. Netherlands; 2001.
8. Van Brakel WH.Participation Scale Users Manual Version 4.5. (CD-ROM) International Course in Disability and Rehabilitation Management The Netherlands; 2006.
9. ประชาธิป กะทา. การตีตราและรังเกียจเดียดฉันท์.วารสารหมออนามัย 2550; 17 (3): 25-8.
10. Mitchell G.Welss, Jayashree Ramakrishna, & Daryl Somma.Health-related stigma: Rethinking concepts and interventions.Psychol Health Med 2006; 11(3): 277-87.
11. Van Brakel WH. Measuring health-related stigma-A literature review. Psychol Health Med.2006; 11(3): 307-34.
12. Disability Services. Self-stigma. Available from (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อ 17 พฤษภาคม 2555 http://www.victoria.ac.nz/
st_services/disability/publications/downloads/studentguides/Self%20Stigma%20e-version.pdf.
13. สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์.คู่มือการวัดทางจิตวิทยา,กรุงเทพมหานคร: เมดิคัล มีเดีย; 2551.
14. สมพงษ์ เกษมสิน. การบริหาร. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพมหานคร : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2523.
15. ธงชัย สันติวงษ์, พฤติกรรมบุคคลในองค์การ, กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิชย์; 2526.
16. กิตติบดี ใยพูล. สิทธิมนุษยชน. รวบรวมความหมายของการเลือกปฏิบัติ. (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อ 17 พฤษภาคม 2555 http://kittibodee.blogspot.com/2009/02/blog-post_1879.html.
17. The Salsa Coollaborative Study Group.The Development of a shot questionnaire for screening of activity limitation and safety awareness(SALSA) in clients affected by leprosy or diabetes. Disabil Rehabil; 2007 May 15: 9(9): 689-700

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-13