An การสอบสวนการระบาดของโรคคางทูมในโรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ - เมษายน 2561

ผู้แต่ง

  • สุรเชษฐ์ ภูลวรรณ โรงพยาบาลฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การสอบสวน, การระบาด, โรคคางทูม, กาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

การสอบสวนการระบาดของโรคคางทูมในโรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการระบาด อธิบายลักษณะการกระจายของโรคตามบุคคล เวลา สถานที่ ศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการระบาด ประเมินประสิทธิผลของวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน และเสนอแนวทางในการควบคุมการระบาดของโรค เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์ รูปแบบ Retrospective cohort study ศึกษาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และประสิทธิผลของวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน

ผลการสอบสวนพบผู้ป่วยที่เข้าตามนิยาม 66 ราย เป็นผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย และผู้ป่วยสงสัย 65 ราย อาการที่พบมากที่สุด คือ ต่อมน้ำลายใต้กกหูบวม (ร้อยละ 100.00) รองลงมา คือ อ่อนเพลีย ไข้ และเจ็บคอ ตามลำดับ (ร้อยละ 98.48, 93.94 และ 84.85 ตามลำดับ) พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีลักษณะการกระจายตัวแบบแหล่งโรคร่วม ปัจจัยเสี่ยงของการระบาด คือ การใช้แก้วน้ำร่วมกัน ORAdj.= 77.73 (95% CI = 22.36 – 270.19) ประวัติรับวัคซีน MMR ไม่ครบ 2 เข็ม ORAdj.= 20.63 (95% CI = 4.04 - 105.35) การสัมผัสสารคัดหลั่งผู้ป่วยโดยตรง ORAdj.= 20.37 (95% CI = 3.24 – 128.29) ชั้นอนุบาลและประถมศึกษาตอนต้น ORAdj. = 7.71 (95% CI = 2.41 – 24.65) และการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย ORAdj.= 1.51 (95% CI = 0.56 – 4.07) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการประเมินประสิทธิผลของวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) ได้เท่ากับ 91.00

มาตรการป้องกันและควบคุมโรคโดยให้ผู้ป่วยหยุดพักการเรียน และหลีกเลี่ยงการใช้แก้วน้ำร่วมกัน จากการเฝ้าระวังโรค 42 วัน หลังจากพบผู้ป่วยรายสุดท้าย ไม่มีผู้ป่วยเพิ่มเติม

References

1 วีระชัย วัฒนวีรเดช, อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ. คู่มือวัคซีน 2016-2017 และปัญหาที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2559.
2 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง R506 โรค Chickenpox [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จากhttp://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?ds=17
3 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.); 2546.
4 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคคางทูม [อินเทอร์เน็ต]. 2547 [เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/Annual/Annual47/part1/08-Mumps.pdf
5 กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, เกษวดี ลาภพระ, จุฑารัตน์ เมฆมัลลิกา, ฐิติอร นาคบุญนำ, อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์. วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน. ใน: กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ. ตำราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2556. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา; 2556. 119-122.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

ฉบับ

บท

รายงานผลการปฏิบัติงาน