การสอบสวนโรคไอกรน ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561
คำสำคัญ:
โรคไอกรน, การระบาด, การสอบสวนโรค, ควบคุมโรคบทคัดย่อ
บทนำ
วันที่ 5 สิงหาคม 2561 เวลา 16.40 น. ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) อำเภอเมืองภูเก็ต ได้รับแจ้งจากงานระบาดวิทยา กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ว่าพบผู้ป่วยสงสัยโรคไอกรน เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จำนวน 1 ราย เพศหญิง อายุ 1 เดือน 20 วัน พักอาศัยอยู่บ้านไม่มีเลขที่ หมู่ 7 ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เริ่มป่วยวันที่ 26 กรกฎาคม 2561 ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) อำเภอเมืองภูเก็ต จึงดำเนินการสอบสวนโรค ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมและควบคุมโรค ในวันที่ 5 สิงหาคม 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัย การระบาดของโรค ค้นหาสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคในครั้งนี้
วิธีและวิธีดำเนินการ
การสอบสวนโรคไอกรนครั้งนี้ โดยการศึกษาทางระบาดวิทยาเชิงพรรณนา (Descriptive study) ด้วยการทบทวนการระบาดของโรคไอกรน การค้นหาผู้ป่วย โดยนิยามโรคผู้ต้องสงสัยได้แก่ บุคคลในครอบครัวผู้ป่วย ผู้สัมผัสร่วมบ้าน/ละแวกบ้านผู้ป่วย ผู้ที่เรียนหนังสือร่วมห้องเรียนเดียวกับผู้ป่วย และผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลในครอบครัวนี้ ที่มีอาการไอ ร่วมกับอาการไข้ หรือมีน้ำมูก ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 2561ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรค การสำรวจสิ่งแวดล้อม และดำเนินการควบคุมโรคในผู้ป่วย ผู้สัมผัส และสิ่งแวดล้อม
ผลการสอบสวน
พบการระบาดของโรคไอกรน ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ในเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2561 จำนวนผู้ป่วย 34 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยสงสัย 6 ราย ผู้ป่วยเข้าข่าย 22 ราย และผู้ป่วยยืนยัน 6 ราย อาการและอาการแสดงทางคลินิกของผู้ป่วยที่พบมากที่สุด ได้แก่ ไอ ร้อยละ 100 รองลงมาคือ มีน้ำมูก ร้อยละ 70.6 และไข้ ร้อยละ 58.8
สรุปและวิจารณ์ผล
การระบาดครั้งนี้ เป็นการระบาดในลักษณะมีแหล่งโรคร่วม โดยผู้ป่วยรายแรกแพร่เชื้อให้กับบุคคลในครอบครัว พร้อมกับกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน ได้ให้ความรู้เรื่องโรคไอกรน การให้ยาหลังสัมผัสผู้ป่วย รวมถึงการสำรวจความครอบคลุมของวัคซีนไอกรนในชุมชน และให้วัคซีนในเด็ก
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น