การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยเทคนิค BRIEFTM Survey และการสัมผัสความสั่นสะเทือนที่มือและแขนของพนักงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็น
คำสำคัญ:
การยศาสตร์, แบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์, รยางค์ส่วนบน, ความสั่นสะเทือนที่มือและแขนบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเพื่อการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์และระดับความสั่นสะเทือนที่มือและแขนของพนักงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็น โดยจำแนกกลุ่มตัวอย่างตามลักษณะงานและการสัมผัสปัจจัยที่คล้ายคลึงกัน (Similar Exposure Group: SEG) ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้ทั้งหมด 30 SEG ใช้แบบสัมภาษณ์ความรู้สึกไม่สบายบริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกาย แบบสังเกตท่าทางการทำงานเพื่อการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์เบื้องต้นด้วยวิธี BRIEF’s survey ความเสี่ยงเป็น 4 ระดับ และประเมินการสัมผัสความสั่นสะเทือนที่มือและแขนตลอด 8 ชั่วโมงการทำงาน (Vibration Daily Expose: A(8)) ด้วยเครื่องมือวัดความสั่นสะเทือน (Vibration Meter) และชุดหัววัด (hand-arm sensors) พร้อมโปรแกรมสำเร็จรูป พบว่า ส่วนใหญ่พนักงานมีความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในระดับ 4 (ความเสี่ยงสูงมาก) ทั้ง 4 ส่วนของร่างกายสูงสุด คือ บริเวณลำตัวร้อยละ 31.37 รองลงมาคือบริเวณคอ รยางค์ส่วนบนและรยางค์ส่วนล่างร้อยละ 23.53, 22.22 และ 19.61 ตามลำดับ ส่วนลักษณะงานที่มีความเสี่ยงในระดับ 4 (ความเสี่ยงสูงมาก) คือ SEG 13 พนักงานเช็ครั่ว-เคาะสเก็ดมิกซ์ (แผนกเช็ครั่ว) พบความเสี่ยงบริเวณรยางค์ส่วนบนและคอร้อยละ 84.62 เท่ากัน ด้านการรับรู้ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อบริเวณรยางค์ส่วนบนพบว่ามีระดับความรู้สึกไม่สบายสูงสุดในลักษณะงาน SEG 05 พนักงานประกอบ-เตรียมงาน SEG 13 พนักงานเช็ครั่ว-เคาะสเก็ดมิกซ์และ SEG 27 พนักงานประกอบชิ้นงาน เป็นกลุ่มงานที่มีความรุนแรงของความรู้สึกไม่สบายบริเวณรยางค์ส่วนบนสูงสุด ผลการตรวจวัดระดับความสั่นสะเทือนที่มือและแขนพบว่า SEG 30 พนักงานสร้างเครื่องและแม่พิมพ์ (shop) มีค่า A(8) สูงสุดเท่ากับ 0.131 m/s2 เมื่อพิจารณาความสั่นสะเทือนแบบแยกความถี่พบว่าทุก SEG มีระดับความสั่นสะเทือนในช่วงความถี่ 25-50 Hz. ที่ส่งผลต่อความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อบริเวณรยางค์ส่วนบน ดังนั้นองค์กรและหน่วยงานความปลอดภัยควรจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อการเฝ้าระวังสุขภาพทางด้านการยศาสตร์ของพนักงาน โดยเฉพาะความเสี่ยงบริเวณรยางค์ส่วนบนและลำตัวในงานที่ต้องสัมผัสกับเครื่องมืออุปกรณ์ที่มีความสั่นสะเทือนที่มือ รวมถึงการปรับปรุงสถานีงาน การลดขั้นตอนการทำงานที่ทำให้เกิดการทำงานในท่าทางซ้ำๆ เพื่อประสิทธิภาพของการทำงานและความปลอดภัยของพนักงาน
References
อรรถพล แก้วนวล, บรรพต โลหะพูนตระกูล, กลางเดือน โพชนา. ความชุกของความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในอาชีพต่างๆ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 12: 53-64.
จันทิมา ดรจันทร์ใต้, สุนิสา ชายเกลี้ยง. การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดหลังของพนักงานในกระบวนการผลิตมันฝรั่งทอดกรอบ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2560; 29: 138-50
สุนิสา ชายเกลี้ยง, อารยา ปานนาค. การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไล่ในพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2560; 47: 212-21.
รัชดาภรณ์ เพ็ชรงาม, สสิธร เทพตระการพร, เสาวนีย์ หน่อแก้ว. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับลุ่มอาการความผิดปกติที่มือและแขนจากความสั่นสะเทือนของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์แห่งหนึ่ง จังหวัดสมุทรปราการ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการการยศาสตร์แห่งชาติ; 15-17 ธันวาคม 2559; ณ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต): ปทุมธานี; 2559.
สุนิสา ชายเกลี้ยง, วิวัฒน์ สังฆะบุตร. การประยุกต์ใช้เทคนิค BRIEFTM Survey ประเมินความเสี่ยง ทางการยศาสตร์การทำงานในผู้รับงานมาทำที่บ้าน กลุ่มดัดเหล็กปลอกเสาระบบมือโยก. วารสารเทคนิค การแพทย์กายภาพบำบัด 2557; 26: 55-66.
ประมุข โอศิริ. 54113 สุขศาสตร์อุตสาหกรรม: การประเมิน (Industrial Hygiene: Evaluation) เล่ม 2 หน่วยที่ 7 การตรวจวัดและประเมินความสั่นสะเทือน แสงสว่างและ ความดันบรรยากาศ. นนทบุรี. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2555.
Chaiklieng S, Chapter 4-Law and regulation of noise and vibration in occupational health, In: Industrial noise and vibration control and management. Nonthaburi: Sukhothai Thamathirat university printing; 2561.
Health and Safety Executive. The Control of Vibration at Work Regulations 2005 [Internet]. 2018 [Cited 2018 October 21]. Available from http://www.hse.gov.uk/vibration/ hav/regulations.htm
The American Conference of Governmental Industrial Hygienists. Hand-Arm Vibration: 2017 TLVs® and BELs® Based on the Documentation of the Threshold Limit Values for Chemical Substances and Physical Agents and Biological Exposure indices. Cincinnati, Ohio: 2018.
Xueyan S. Xu, Ren G. Dong, Daniel E. Welcome, Christopher Warren, Thomas W. McDowell. Vibrations transmitted from human hands to upper arm, shoulder, back, neck, and head. Int J Ind Ergon 2017; 62: 1-12.
สุนิสา ชายเกลี้ยง, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, วิภารัตน์ โพธิ์ขี. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ปัจจัยเสี่ยง ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และความชุกของการปวดหลังของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.
Chaiklieng S, Chapter 11-Evaluation of occupational exposure to vibration-practical guidance for measurement at the workplace, In: Industrial noise and vibration control and management, Nonthaburi: Sukhothai Thamathirat university printing, 2561.
Vihlborga P, Bryngelssona I, Lindgrenb B, Gunnarssona L, Graff P. Association between vibration exposure and hand-arm vibration symptoms in a Swedish mechanical industry. Int J Ind Ergon 2017; 62: 77-81.
มารุต ตำหนักโพธิ, สรันยา เฮงพระพรหม. กลุ่มอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือนของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2561; 62: 1001–12.
Sauni R, Paakkonen R, Virtema P, Jantti V, Kahonen M, Toppila E, et al. Vibration induced white finger syndrome and carpal tunnel syndrome among Finnish metal workers. Int Arch Occup Environ Health 2009; 82(4): 445-53.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น