ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของผู้ป่วยที่มารับบริการ โรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี ทารส สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย
  • ชนัญญา จิระพรกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เนาวรัตน์ มณีนิล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การรับรู้, มะเร็งลำไส้ใหญ่

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ (Cross-sectional analytical study) เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของผู้ป่วยที่มารับบริการโรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยที่มารับบริการที่หน่วยผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่นจำนวน 230 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการรับรู้การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยใช้สถิติถดถอยพหุโลจิสติก (Multiple Logistic Regression)

          ผลการศึกษา ผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็น      ร้อยละ 60.9 มีอายุระหว่าง 30–49 ปีร้อยละ 57.0 อายุเฉลี่ย 36.3 ปี (SD=9.2) ซึ่งผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลมัญจาคีรีมีการรับรู้การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ร้อยละ 14.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรในสมการ คือ การมีประวัติสมาชิกครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ (ORadj=5.42, 95%CI=1.93-15.24, p-value=0.001) และประวัติการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ORadj=3.61, 95%CI= 1.56-8.35, p-value = 0.003)

          ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ควรมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้แก่ผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาล เพื่อให้มีการรับรู้การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้มีประวัติสมาชิกครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และผู้มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันโรค และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

References

1. International Agency for Research on Cancer (IARC). Globolcan2012: Estimated cancer Incidence, Mortality and Prevalence Worldwide in 2012. Retrieved August 17, 2016, from: http://globocan.iarc.fr.

2. Khuhaprema T, Srivatanakul P. Colon and rectum cancer in Thailand: an overview. Japanese Journal of Clinical Oncology2008; 38(4): 237-243.

3. Ferlay J, Soerjomataram I, Dikshit R, Eser S, Mathers C, Rebelo M, et al. Cancer incidence and mortality worldwide: Sources,methods and major patterns in GLOBOCAN 2012. Int J Cancer. 2015; 136: 359-386.

4. Weerawut I, Arkom C, Surapon W, Donsuk P, Krittika S, Suleeporn S, et al. Cancer in Thailand VIII, 2010-2012. Bangkok: New Thammada Press(Thailand); 2015.
5.ทะเบียนมะเร็งประชากรจังหวัดขอนแก่น. ระบุตำแหน่งโรคตามคู่มือของ International code disease-oncology 3 edition (ICD-O-3rd). ข้อมูล ณ วันที่ 21 กันยายน 2560. (เอกสารอัดสำเนา)

6. Karvellas C J, Fedorak RN, Hanson J, Wong CK. Increased risk of colorectal cancer in ulcerative colitis patients diagnosed after 40 years of age. Can J Gastroenterol 2007; 21(7): 443-446.

7. Poomphakwaen K, Promthet S, Suwanrungruang K, Chopjitt P, Songserm N, Wiangnon S. XRCCgene polymorphism, diet and risk of Colorectal cancer in Thailand. Asian Pac J Cancer Prev 2014;13: 4017-23.

8. Huxley RR, Ansary-Moghaddam A, Clifton P, Czernichow S, Parr CL, Woodward M. The impact of dietary and lifestyle risk factors on risk of colorectal cancer: A quantitative overview of the epidemiological evidence. Int J Cancer 2009; 125: 171–180.

9.วิมลศรี อุทัยพัฒนาชีพ. แนวทางการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระดับจังหวัด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2556.

10. Robb KA, Miles A, Wardle J. Perceived Risk of Colorectal Cancer: Sources of Risk Judgments. Cancer Epidemiol Biomarkers Prev 2007; 16(4): 694–702.

11. Becker MH, Maiman LA. Sociobehavioral determinante of compliance with health and medical care recommendations. Med Care1975; 13(1): 10-24.

12. Beaujean DJ, Bults M, van Steenbergen JE, Voeten HA. Study on public perceptions and protective behaviors regarding Lyme disease among the general public in the Netherlands: implications for prevention programs. BMC Public Health. 2013; 13: 225.

13. นูร์มา แวบือซา. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในอำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 2551; 19(2): 72-85.

14. นงเยาว์ ใบยา. ปัจจัยผู้ป่วยและปัจจัยครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554.

15. Al-Dubai SA, Ganasegeran K, Alabsi AM, Shah SA, Razali FM, Arokiasamy JT. Exploration of risk taking behaviors and perceived susceptibility of colorectal cancer among Malaysian adults: a community based cross-sectional study. BMC Public Health 2013; 13: 930.

16. Bidouei F, Abdolhosseini S, Jafarzadeh N, Izanloo A, Ghaffarzadehgan K, Abdolhosseini A et al. Knowledge and perception toward colorectal cancer screening in east of Iran. Int J Health Policy Manag2014; 3(1): 11–15.

17. Cameron E, Rose S, Carey M. Assessment of family history of colorectal cancer in primary care: Perceptions of first degree relatives of people with colorectal cancer. Patient Education and Counseling 2014; 94(3): 427–431.

18. Friedman S, Cheifetz AS, Farraye FA, Banks PA, Makrauer FL, Burakoff R et al. Doctor message can alter patients behavior and attitudes regarding inflammatory bowel disease and colon cancer. Inflamm Bowel Dis 2012; 18(8): 1531-1539.

19. Bittner Fagan H, Sifri R, Wender R, Schumacher E, Reed JF. Weight Status and Perception of Colorectal Cancer Risk. J Am Board Fam Med 2012; 25(6): 792-797.
20. Dear K, Scott L, Chambers S, Corbett MC, Taupin D. Perception of Colorectal Cancer Risk does not Enhance Participation in Screening. Therap Adv Gastroenterol 2008; 1(3): 157–167.

21. Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine1998; 17(14): 1623-1634.

22.กาญจนา อุบลพงศ์. การพัฒนารูปแบบบริการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ผ่าตัดเปิดทวารเทียม โรงพยาบาลสระบุรี. วารสารกองการพยาบาล 2555; 39(3): 51-64.

23.กุลชญา ลอยหา. การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปาก ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2559; 23(2): 1-8.

24.ฐิติมา แสนเรือง. ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการไม่บริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีของผู้ที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีในโครงการพัฒนาสาธารณสุขเพื่อการตรวจคัดกรอง ตรวจวินิจฉัย และบริการจัดการผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(CASCAP). วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2559; 19(1): 23-29.

25. โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ. การปรับพฤติกรรมการดื่มสุราในชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2559; 27(2): 160-168.

26. นิยะนันท์ สำเภาเงิน, ดวงกมล ชาติประเสริฐ. อิทธิพลของการรับรู้ความเสี่ยงต่อพฤติกรรมสุขภาพ และแนวทางการสื่อสาร เพื่อสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของกลุ่มเสี่ยง. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา 2557; 7(2): 38-58.

27.Arunphong. Protective behaviors from alcohol drinking among high school student in Ubon Ratchathani province. [Ubon Ratcha thani]: Ubon Ratchathani Rajabhat University;2007.

28. Wong MC, Hirai HW, Luk AK, Lam TY, Ching JY, Griffiths SM et al. The Knowledge of Colorectal Cancer Symptoms and Risk Factors among 10,078 Screening Participants: Are High Risk Individuals More Knowledgeable. PLOS ONE 2013;8(4): e60366.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27