การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามสุขบัญญัติของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ไมลา อิสสระสงคราม สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง

คำสำคัญ:

การรับรู้ความสามารถของตนเอง, การมีส่วนร่วม, อาสาสมัครสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามสุขบัญญัติของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครนนทบุรี  จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครนนทบุรี  จำนวน  324  คน  ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 5 - 30 มีนาคม 2561  ใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ในการวิเคราะห์ข้อมูล 

ผลการวิจัย พบว่าการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตาม    สุขบัญญัติ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.40) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านการร่วมดำเนินการ ( = 3.53)  ด้านการร่วมวางแผน ( = 3.31)  และด้านการร่วมประเมินผล ( = 3.22)  อยู่ในระดับปานกลาง และการรับรู้ความสามารถของตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุข โดยรวมอยู่ในระดับสูง      ( = 3.76)  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านประสบการณ์หรือการกระทำที่ประสบความสำเร็จ        ( = 3.80)  ด้านการใช้ตัวแบบหรือประสบการณ์ของผู้อื่น ( = 3.77)  ด้านการกระตุ้นทางอารมณ์ ( = 3.76)  อยู่ในระดับสูง และด้านการใช้คำพูดชักจูง ( = 3.63)  อยู่ในระดับปานกลาง  การรับรู้ความสามารถของตนเองมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามสุขบัญญัติของอาสาสมัครสาธารณสุข (r = 0.218)  จากผลการวิจัยควรเสริมหรือรักษาระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) ให้คงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์หรือการกระทำที่ประสบความสำเร็จ  ด้านการใช้ตัวแบบหรือประสบการณ์ของผู้อื่น  และการกระตุ้นทางอารมณ์  เช่น จัดให้มีการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ อสม. พื้นที่อื่น ๆ  เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงาน  เป็นต้น

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ [Internet]. [cited 2018 September 4]. Available from: http http://www.nso.go.th/sites/2014.

2. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย [Internet]. [cited 2018 September 4]. Available from: http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1533055363-125_1.pdf

3. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. อาสาสมัครสาธารณสุข : จิตอาสากับสุขภาวะไทย. นนทบุรี : มีดีกราฟฟิค; 2550.

4. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือ อสม. ยุคใหม่. นนทบุรี : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554.

5. Cochran, W.G. Sampling techniques. New York: Willey; 1977.

6. Bandura, A. Social foundations of thought and action : A social cognitive theory. N.J.: Prentice – Hall; 1986.

7. สุธิดา ห้าวเจริญ. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.

8. นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. แนวคิดแนวทางการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชน;2550.

9. พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติ์ขจร. แนวคิด ยุทธศาสตร์ การบริหารการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน; 2552.

10. โลน่า โมสิกา. การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2550.

11. วิราวรรณ ชูจันทร์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช. [ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2552.

12. ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, จิรบูรณ์ โตสงวน, และหทัยชนก สุมาลี. รายงานฉบับสมบูรณ์ บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการสร้างเสริมสุขภาพและข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่องการกระจายอำนาจด้านการสร้างเสริมสุขภาพ. นนทบุรี : สำนักวิจัยระบบสาธารณสุข; 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27