ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ด้านการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเมืองอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ธีรศักดิ์ คันศร โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
  • กุลชญา ลอยหา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นนการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research Design) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The Pretest-posttest two group comparison Design) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ด้านการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในจังหวัดอุบลราชธานี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 50 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมสุขศึกษาที่ประกอบด้วยกิจกรรมที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับกลุ่มทดลองที่ถูกสุ่มมาจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี  โดยกิจกรรมประกอบไปด้วยการให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับบทบาทในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ พร้อมทั้งกระบวนการสนทนากลุ่มเพื่อวางแผนงานในการป้องกันโรคไข้เลือดออกตามบทบาทหน้าที่ของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข  ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับความรู้ตามรูปแบบปกติจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่  ทั้งนี้นักวิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และนำเสนอด้วยค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลทั่วไปทางด้านประชากรศาสตร์ และสถิติ Student’s t-test และ Paired samples t-test สำหรับการเปรียบเทียบความแตกต่างทั้งภายในและระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ

             ผลการศึกษาวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ด้านการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และการรับรู้ด้านพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสูงกว่าก่อนการทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

1. สำนักระบาดวิทยา สำนักงานกระทรวงสาธารณสุข. การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก. นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข; 2555.

2. สำนักระบาดวิทยา สำนักงานกระทรวงสาธารณสุข. การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก. นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

3. กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก. [ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 7 ตุลาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http://cdc.phoubon.in.th.

4. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การอบรมฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2552.

5. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. โรคไข้เลือดออกสำหรับประชาชนและเครือข่ายภาคประชาสังคม.นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

6. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2547.

7. กริช แรงสูงเนิน. การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2554.

8. ทัศพร ชูศักดิ์. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) พื้นที่สาธารณสุขเขต 18. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต].นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2554.

9. วิจิตรา ดวงขยาย และเทียนทอง ต๊ะแก้ว. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้านตำบลสบบง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับชาติ ครั้งที่ 1; 3 กรกฎาคม2558; ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

10. จีระศักดิ์ กรมาทิตย์สุข, ชาตรี ประชาพิพัฒ,สาโรจน์ เพชรมณี. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพลังชุมชนในการ
ป้องกันโรคมาลาเรีย บ้านท่านหญิง ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น2559; 4(2): 153-166.

11. อะหลี หมานมานะ, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย และสาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจต่อศักยภาพด้านความเข้าใจ ความสามารถและความพอใจของอาสาสมัครสาธารณสุขในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน จังหวัดปัตตานี. วารสารอัล-ฮิกมะฮฺมหาวิทยาลัยฟาฏอนี 2557; 4(7): 11-21.

12. ผ่องศรี พูลทรัพย์, รัชนี ครองระวะ, ภิรมย์ ลี้สุวรรณ และบรรณฑวรรณ หิรัญเคราะห์. การพัฒนาพฤติกรรมการ
ป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยการส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมตามสภาพจริง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558; 25(2): 206-218.

13. รุจิเรศ วงศ์เล็ก. ผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติของแกนนำชุมชนในการป้องกัน
โรคไข้เลือดออกตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558; 3(2): 273-291.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27