การพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชน
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ Health Literacy พฤติกรรม โรคพยาธิใบไม้ตับบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป จ.ขอนแก่น เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2562 โดย 1) ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรอบรู้ด้านสุขภาพและโรคพยาธิใบไม้ตับ 2) สร้าง(ร่าง)แบบวัดความรอบรู้ 3) ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยนำ(ร่าง)แบบวัดความรอบรู้ที่สร้างขึ้น ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน และปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ 4) เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือฉบับร่าง 2 5) พัฒนาแบบวัดความรอบรู้ จำนวน 2 ครั้ง ดำเนินการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 220 คน ครั้งที่ 1 ตรวจสอบค่าอำนาจจำแนก ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง การตรวจสอบความเที่ยง และ ครั้งที่ 2 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและคำนวณหาจุดตัดที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการจำแนกระดับความรอบรู้
ผลการศึกษา ได้แบบวัดความรอบรู้ จำนวน 59 ข้อ วิเคราะห์ความตรงตามเนื้อหา ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหารายข้ออยู่ระหว่าง 0.6 – 1 ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาทั้งฉบับ = 0.89 ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือฉบับร่าง 2 ค่าความเชื่อมั่น มีค่า = 0.88 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.96 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.40 – 0.93 ค่า KR-20 = 0.67 ค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.52-0.91 ได้แบบวัดจำนวน 45 ข้อ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือฉบับร่าง 3 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับขัอมูลเชิงประจักษ์ ค่าสถิติทดสอบ Chi-Square =15.091 df= 8 p-value = 0.0574 (ค่า Chi-Square/df = 1.8864) RMSEA = 0.063 SRMR =0.036 CFI =0.977 TLI = 0.956 ตัวแปรที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ ความรู้ความเข้าใจ (b=1.00) อธิบายความแปรปรวนได้ 45.9% (R2 = 0.459) รองลงมา คือ การจัดการตนเอง (b=0.896) อธิบายความแปรปรวนได้ 49.4% (R2 = 0.494) และการรู้เท่าทันสื่อ(b=0.835) อธิบายความแปรปรวนได้ 48.6% (R2 = 0.486) วิเคราะห์จุดตัดที่เหมาะสมในการจำแนกระดับความรอบรู้ระดับสูง 52.50 คะแนน ให้ค่าความไวสูงสุด 59.3 % ค่าความจำเพาะ 30.2 % พื้นที่ใต้โค้ง ROC เท่ากับ 0.42 % (95%CI = 0.32-0.52)
สรุป แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ถูกพัฒนาขึ้นมีความถูกต้องด้านเนื้อหา โครงสร้าง และความเที่ยงตรง สามารถนำไปใช้ประเมินผลความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป ในระดับเขตสุขภาพและประเทศได้ ทั้งนี้ควรมีการศึกษาความสัมพันธ์ความรอบรู้ในแต่ละองค์ประกอบ และหากจะนำเครื่องมือนี้ไปใช้กับกลุ่มอื่นควรมีการพัฒนาต่อยอดเพิ่มเติม
References
น้ำดี ปี 2559 – 2568. กรุงเทพฯ:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรม
ราชูปถัมป์;2559.
2. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.ป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งท่อน้ำดี.
3. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล.2557.
4. ลีลาวดี พิริยะตระกูลและคณะ.การศึกษาต้นทุนค่ารักษาพยาบาลจากการเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2556
โรงพยาบาลศรีนครินทร์.The National and International Graduate Research Conference 2016.
5. Sripa B, Bethony JM, Sithithaworn P, KaewkesS, Mairiang E, Loukas A, et al. Opisthorchiasisand
Opisthorchis-associatedcholangiocarcinomain Thailand and Laos. Acta Trop 2011; 120(suppl 1):
158-68.
6. ธนพร หล่อปิยานนท์.สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2552. นนทบุรีสำนักระบาดวิทยากระทรวงสาธารณสุข
2552.
7. Jongsuksuntigul P, Imsomboon T. Epidemiology of opisthorchiasis and national control program in
Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1998; 29:327-32.
8. Picha Suwannahitatornet al.(2013). A follow-up study of Opisthorchisviverriniinfection after the
implementation of controlprogram in a rural community, central Thailand.Parasites & Vectors 2013,
6:188
9. กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์และคณะ.การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคพยาธิ
ใบไม้ตับในชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์;2557.
10. World Health Organization. Health Literacy and Health Promotion. Definitions, Concepts and Examples
In the Eastern Mediterranean Region. Individual Empowerment Conference Working Document.
Global Conference on Health Promotion Promoting Health and Development. 26-30 October 2009.
Nairobi, Kenya. 1988.
11. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.การสร้างเสริมและประเมินความรอบรู้
ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ฉบับปรับปรุง ปี 2561.
12. Nutbeam, D. Health Literacy and adolescents: a framework and agenda for future
research. Health Education Research. 23(5). Published by Oxford University Press.2008.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น