ความรอบรู้ด้านการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าแกนนำชุมชนในพื้นที่อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การป้องกันควบคุมโรค, โรคพิษสุนัขบ้าบทคัดย่อ
โรคพิษสุนัขบ้ายังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของเขตสุขภาพที่ 9 เนื่องจากยังพบผู้เสียชีวิตติดต่อกันตั้งแต่ปี พ.ศ.2560-2562 ความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นมาตรการหนึ่งที่สำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัข จึงได้ทำการสำรวจแบบภาคตัดขวางในกลุ่มแกนนำชุมชน อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์เดือนมีนาคม 2562 ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ในแกนนำชุมชนจำนวน 310 คนได้รับการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีเนื้อหา 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมป้องกันตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย หาความสัมพันธ์ด้วยค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า แกนนำชุมชนเป็นเพศหญิงร้อยละ 65.2 เพศชายร้อยละ 34.8 อายุระหว่าง 44-53 ปี ร้อยละ 47.4 เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขร้อยละ 72.3 โดยแกนนำชุมชนส่วนใหญ่มีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ในระดับปานกลาง( = 4.32, S.D. = 0.40) มีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ในระดับปานกลาง( = 2.55, S.D. = 0.31) และความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.419, p-value ≤0.001) ดังนั้นจึงควรมีการเสริมสร้างให้แกนนำชุมชนมีความรอบรู้เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้ามากขึ้นและควรมีการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคพิษสุนัขบ้า
References
2. สายชล เพชรล้ำ. 2561. รายงานสรุปสถานการณ์การปฏิบัติงาน ทีมตระหนักรู้สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า. กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สคร.9 นครราชสีมา
3. กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สคร.9 จังหวัดนครราชสีมา. สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า เขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์ (วันที่ 1 มกราคม – 6 ตุลาคม 2561)
4. อัญชลี จันทรินทรากร. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) ในเขตเทศบาลตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สุขศึกษา)]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตร, 2557.
5. วราภรณ์ อึ้งพาณิช. คู่มือการสร้างแกนนำป้องกันควบคุมโรค [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก https://odpc4.ddc.moph.go.th/documents/216735102.51348.pdf
6. World Health Organization. 2009. Health Literacy and Health Promotion. Definitions, Concepts and Examples In the Eastern Mediterranean Region. Individual Empowerment Conference Working Document. 7th Global Conference on Health Promotion Promoting Health and Development. 26-30 October 2009. Nairobi, Kenya.)
7. Kristine Sørensen. Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 2 ธันวาคม 2561]. เข้าถึง ได้จาก https://bmcpublichealth.biomedcentral.com/articles/10.1186/1471-2458-12-80
8. ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, 2561. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2561
9. อาเนซ โออิน. ความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของคนไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. วารสารการวิจัยและพัฒนาการบริหาร: 9(1). : 113-125.
10. Hambleton, R.K.Principles and Selected Applicationsn of Item Response Theory. Educational Measurement.(3th).R.L. Linn(ed). New York : John Wiley & Sons.1989.
11. Hinkle, D.E, William, W. & Stephen G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th ed. New York: Houghton Mifflin.
12. ศรกฤษณ์ รักพาณิชย์ และเกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์, 2561. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของเจ้าของสุนัขในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2561; 36(2). 158-166.
13. วาสนา ตันติรัตนานนท์ (2551) [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต]. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551.
14. โก๊ะ อาไก จิราพร ชมพิกุล และชีระวิทย์ รัตนพันธ์,2558. พฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของเจ้าของสุนัข ในจังหวัดนครปฐม ประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา,2558; 13(1). 17-28.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น