พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนเมืองวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
บริโภคอาหาร, คนเมืองในวัยทำงานบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทั่วไปของคนเมืองในวัยทำงานที่อาศัยในกรุงเทพ มหานคร และ (2) พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนเมืองในวัยทำงาน ใช้วิธีการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากบุคคลที่อาศัยและทำงานในกรุงเทพมหานครที่มีอายุมากกว่า 19 แต่ไม่เกิน 60 ปี จำนวน 200 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา เชิงคุณภาพเก็บ ข้อมูลจากสัมภาษณ์เจาะลึก บันทึกสนาม และบันทึกความจำ ผลการวิจัยพบว่า (1) คนเมืองวัยทำงานส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 68.4 อายุระหว่าง 41–50 ปีร้อยละ 38.8 พื้นเพเป็นคนกรุงเทพร้อยละ 47.6 อาศัยคอนโดมิเนียมร้อยละ 37.6 สถานภาพสมรสร้อยละ 57.8 มีบุตรธิดา 2 คนร้อยละ 41.4 สัญชาติไทยร้อยละ 97.0 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 86.4 และไม่มีโรคประจำตัวร้อยละ 78.7 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 48.6 มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 35,001 – 45,000 บาท ร้อยละ 43.7 (2) คนเมืองในวัยทำงานส่วนใหญ่บริโภคอาหารประเภทอาหารตามสั่งร้อยละ 58.7 ที่ผ่านการปรุงแบบต้มหรือลวกสุกร้อยละ 46.3 รสชาติเผ็ดร้อยละ 52.8 สิ่งที่คำนึงเรื่องแรกในการบริโภคอาหารคือ ความสะดวกรวดเร็วร้อยละ 43.4 มีค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหาร 300-499 บาท ต่อวัน ร้อยละ 3.6 น้อยกว่า 100 บาทร้อยละ 18.7 มีระหว่าง 100-299 บาทร้อยละ 34.6 มีระหว่าง 300-499 บาทร้อยละ 29.3 มีระหว่าง 500-699 บาทและร้อยละ 13.8 มีตั้งแต่ 700 บาทขึ้นไป และกลุ่มอาหารที่บริโภคเป็นประจำ ได้แก่ อาหารกล่องโฟม/พลาสติก และพืชผักสวนครัว ตรงข้ามกับอาหารเสริมและวิตามินที่ไม่นิยมบริโภค
References
2 Berniell MI. The effects of working hours on health status and health behaviors. [internet]. [cited 2018 Apr 3].Avaliable from: URL: http://conference.iza.org/conference_fi les/SUMS2012/berniell_m7629.pdf
3 Payne N, Jones F, Harris PR. Employees’ perceptions of the impact of work on health behaviors. Journal of Health Psychology 2013; 18(7): 887-99.
4 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แต่ละวัน แต่ละคำ แต่ละมื้อ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธ ศาสนากรุงเทพฯ; 2556.
5 Creswell JW. Research and design: Qualitative, quantitative and mixed methods approaches. 4th ed. New Delhi: Thousand Oaks Press; 2014.
6 Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Journal of Educational & Psychological Mearsurement 1970; 30: 607-10.
7 Palinkas LA, Horwitz SM, Green CA, Wisdom JP, Duan N, Hoagwood K. Purposeful sampling for qualitative data collection and analysis in mixed method implementation research. Adm Policy Ment Health 2015; 42(5): 533–44.
8 Benedict EM, De Jong MG, Baumgartner H. Socially desirable response tendencies in survey research. Journal of Marketing Research 2010; 47(2): 199-214.
9 Broglio SP, Katz BP, Zhao S, McCrea M, McAllister T. Test-retest reliability and interpretation of common concussion assessment tools: Findings from the NCAA-DoD CARE consortium. Sports Med 2018; 48(5): 1255-68.
10 Peeters MJ, Beltyukova SA, Martin BA. Educational testing and validity of conclusions in the scholarship of teaching and learning. Am J Pharm Educ 2013; 77(9): 186.
11 สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สามลดา; 2554.
12 กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการใช้สมุนไพรไทย-จีน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2551.
13 กรมวิชาการเกษตร. ผักสวนครัวและสมุนไพร. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์; 2548.
14 สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปสำหรับผู้บริหาร การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชน พ.ศ.2560. [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2561]. เข้าถึงได้จากURL:http://ww w.n so.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาสุขภาพ/พฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร/การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร_2560/สรุปสำหรับผู้บริหารสบอ.60แก้ไข2.pdf
15 สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย. สรุปผลโครงการรณรงค์ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ปี2557-2560. [ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 29 มีนาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก URL:http://www.songkanong.go.th/assets-admin/files/news/ 73471606799927.pdf
16 The Society of the Plastics Industry. Good manufacturing practice guideline for the plastic food packaging supply chain. [internet]. [cited 2018 Apr 3].Avaliable from: URL:htt p://www.plasticsindustry.org/sites/plastics.dev/files/GMPGuidelineforPlasticFoodPkg.pdf
17 Schwalfenberg G, Genuis SJ, Rodushkin I. The benefits and risks of consuming brewed tea: Beware of toxic element contamination. Journal of Toxicology 2013; Article ID 370460: 1-8.
18. Evans MO, Starley B, Galagan JC, Yabes JM, Evans S, Salama JJ. Tea and recurrent cdifficile infection. Gastroenterol Research and Practice 2016; 8: 1-6.
19 Fan FS. Iron deficiency anemia due to excessive green tea drinking. Clinical Case Report 2016;4(11): 1053-56.
20 Hallstrom H. Coffee consumption in relation to osteoporosis and fractures: Observational studies in men and women. Uppsala: Digital press; 2013.
21 Macmahon B, Yen S, Trichopoulos D, Warren K, Nard G. Coffee and cancer of the pancreas. The New England Journal of Medicine 1981; 304(11): 630-33.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น