บทบาทของผู้ดูแลในการดูแลสุขภาพของสมาชิกครอบครัวที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง: การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ แบบการวิจัยเชิงคุณภาพ

ผู้แต่ง

  • พิสมัย สุระกาญจน์ The Office of Disease Prevention and Control 7th, Khon Kaen
  • ดารุณี จงอุดมการณ์ The faculty of Nursing, Khon Kaen University

คำสำคัญ:

การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์, บทบาทผู้ดูแล, การดูแลสมาชิกครอบครัว, ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยจากรายงานการวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทผู้ดูแลสุขภาพของสมาชิกครอบครัวที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังที่เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาในประเทศไทย  ตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 -พ.ศ. 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหารายงานการวิจัยเชิงคุณภาพที่คัดสรรถึงการทำบทบาทผู้ดูแลสุขภาพของสมาชิกครอบครัวที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยใช้การทบทวนวรรณกรรมด้วยวิธีของสถาบันโจแอนนนาบริกส์ และการสังเคราะห์งานวิจัย เชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิค การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ประเมินงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้ Qualitative findings critical appraisal scale งานวิจัยที่ศึกษามีทั้งหมด 5 เรื่อง คุณภาพของรายงานวิจัยอยู่ในระดับปานกลางถึงดีมาก  เป็นรายงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบชาติพันธุ์วรรณนา จำนวน 2  เรื่อง แบบศึกษาประสบการณ์ส่วนบุคคลจำนวน  1 เรื่อง แบบกรณีศึกษา จำนวน 1 เรื่อง และแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการณ์ 1 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า การเข้าสู่บทบาทผู้ดูแล คิดว่าคนในครอบครัวสามารถให้การดูแลได้ดีที่สุดเพราะมีความใกล้ชิด มีความผูกพันกัน ทั้งนี้คนในครอบครัวมีการหารือและในที่สุดคัดสรรบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมต่างๆ ระยะการปรับตัวของผู้ดูแล จะมีความสับสน กังวลใจ มีการสืบเสาะข้อมูลในการดูแล และทำใจยอมรับชะตากรรม การให้ความหมายต่อการรับบทบาทผู้ดูแลสามารถแบ่งเงื่อนไขออกเป็นสองประเด็น คือ ความหมายของการเป็นผู้ดูแลในฐานะคู่สมรส มองไม่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของชีวิต เป็นเพราะบุญธรรมกรรมแต่ง และความหมายของการเป็นผู้ดูแลในฐานะบุตรชาย/หญิง มองว่า เป็นการทดแทนบุญคุณ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายก็สามารถดูแลได้เหมือนกัน ผู้รับบทบาทผู้ดูแลให้ความหมายของการเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในครอบครัว ตามการรับรู้ของผู้ดูแล มีการรับรู้ในเชิงบวกในลักษณะความมีอำนาจ เป็นคนสำคัญ มีความกดดันแต่มีอิสระไม่ต้องหารายได้ ไม่มีงานทำไม่มีรายได้ประจำ ส่วนการให้ความหมายเชิงลบในลักษณะ อึดอัด อดทน กดดัน อับอาย  หมดหวัง เป็นภาระ ไร้เสรีภาพ ต้องให้ความสำคัญกับผู้ป่วยก่อนเสมอ ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในครอบครัวมีหลายด้าน ทั้งด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

การศึกษาครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลบทบาทของผู้ดูแลสมาชิกครอบครัวที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างครอบครัว การศึกษา การเจ็บป่วย เศรษฐกิจ และ สิ่งแวดล้อม  ระบบสังคมและระบบสาธารณสุขของประเทศไทยควรมีการวางแผนและพัฒนาสนับสนุนการให้การพยาบาลครอบครัวและผู้ดูแลในการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง พร้อมทั้งเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ในการให้การพยาบาลครอบครัวเพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ครอบครัวดูแลสมาชิกที่เจ็บป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

1. กุลภา วจนสาระ. ภาพและชีวิตครอบครัวในสังคมไทย: รายงานและสังเคราะห์จากฐานข้อมูล. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.

2. สำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2556. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.

3. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. นโยบายและยุทธศาสตร์การ พัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2547-2556 [ออนไลน์]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2558]. เข้าถึงได้จากhttp://www.msociety.go.th.

4. นิลรัตน์ วัชราภิชาต. บทบาทผู้หญิงในฐานะผู้ให้การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังของครอบครัว [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543.

5. อธิษฐาน ชินสุวรรณ. ประสบการณ์ชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยสโตร์คที่บ้าน. [ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2549.
6. The Joanna Briggs Institute. Joanna Briggs Institute Reviewers’ Manual; 2011.

7. Alan Pearson. Balancing the evidence: incorporating the synthesis of qualitative data into systematic reviews. JBI Reports2004; 2(2): 45-64.

8. วิภา วิเสโส. การให้ความหมายของการเป็นญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิต เมื่อรับบทบาทเป็นญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2545.

9. กำทร ดานา. การพัฒนาบทบาทครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ณ ศูนย์สุขภาพชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

10. สดสวย ทองมหา. ประสบการณ์ของผู้ชายในฐานะผู้ดูแลในบริบทสังคมไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.

11. สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, นิลุบล รุจิรประเสร็จ, ทิตยา ทิพย์สำเหนียก. การปรับตัวของครอบครัวต่อการมีสมาชิกในครอบครัวที่มีความพิการทางสมอง. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด2546; 15(1) :36-47.

12. จินตนา ทิพทัส. บทบาทสมาชิกครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดพิษณุโลก [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2543.
13. ศศิธร ช่างสุวรรณ์. ประสบการณ์การดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] .เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.

14. สุดศิริ หิรัญชุณหะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพที่บ้านของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.

15. สุวรรณา มณีจำนง. ประสบการณ์การดูแลแบบองค์รวมของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายของชีวิต[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2552.

16. ชนัญญา กาสินพิลา. ภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30