ปัจจัยความฉลาดทางสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเอดส์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพศชาย ในจังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ Siridorn College of Public Health, Khon Kaen Province
  • สมพาน โคตรธารินทร์ Bueng Khong Long District Public Health Office
  • สุกัญญา ฆารสินธุ์ Ratachatani University, Udon Thani campus

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางสุขภาพ, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, โรคเอดส์

บทคัดย่อ

       การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความฉลาดทางสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงการติดเชื้อโรคเอดส์ของนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพศชาย  ในจังหวัดบึงกาฬ  ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพศชาย  ในจังหวัดบึงกาฬ  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างเอง จากกลุ่มตัวอย่าง 369 คน โดยการสุ่มแบบเป็นระบบจากกลุ่มประชากร 6,172 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลเดือน ตุลาคม 2559  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการหาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด เพื่ออธิบายคุณลักษณะส่วนบุคคล ระดับความฉลาดทางสุขภาพ  ระดับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ สถิติเชิงอนุมาน ในการวิเคราะห์ปัจจัยความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเอดส์ใช้สถิติถดถอยพหุลอจิสติก

จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 18 ปีร้อยละ62.8 (อายุเฉลี่ย =17.05, S.D = 0.89)  ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์อยู่ในระดับต่ำ ระดับความฉลาดทางสุขภาพด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์  ส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับน้อยคิดเป็นร้อยละ 65.9 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเอดส์  ได้แก่  การเคยอ่านหนังสือ หรือดูวีดีโอเทป วีซีดี ทีวีเกี่ยวกับสิ่งปลุกเร้าทางเพศเป็นประจำทุกวัน (Adj.OR=4.44, 95%CI: 2.58 to 7.64, P-value <0.001) และนานๆครั้ง(Adj.OR=2.69, 95%CI: 1.29 to 5.64, P-value <0.001) ปัจจัยความฉลาดทางสุขภาพด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์ ระดับน้อยถึงปานกลาง (Adj.OR=2.37, 95%CI: 1.41 to 3.99, P-value <0.001) และปัจจัยความฉลาดทางสุขภาพด้านทักษะการสื่อสาร ระดับปานกลาง(Adj. OR=2.72; 95 % CI: 1.44-5.13; p-value = 0.002) และระดับน้อย (Adj.OR=2.27; 95 % CI: 1.14-4.48; p-value = 0.002)

ข้อเสนอแนะ  ควรมีการสนับสนุนการสืบค้นข้อมูลสุขภาพทางอินเตอร์เน็ตหรือสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้มากขึ้น  รวมถึงควรมีการให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะด้านการสื่อสารให้มากขึ้น

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์และการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2559].เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/files/report/20151126_87903337.pdf.

2. งานควบคุมโรคเอดส์และกามโรคเอดส์ กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ. สถานการณ์โรคเอดส์จังหวัดบึงกาฬ ถึงวันที่ 31 มกราคม 2558.(เอกสารอัดสำเนา);2558.

3. จุฑามณี กันกรุง. การศึกษาความฉลาดทางสุขภาวะของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.[วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม;2558.

4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตที่ 21. ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน สังกัด สพม.เขต 2. (รายงาน ณ วันที่31 มีนาคม 2559) [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2559].เข้าถึงได้จาก: http://data.bopp-obec.info/emis/school.php?Area_CODE=101721.2559.

5. Hsieh FY, Bloch D A. and Larsen M D. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statist. Med. 1998; 17:1623-1634.
6. Bloom B S. Human characteristics and school learning. New York: McGraw-hill ;1976.

7. Likert, Rensis "A Technique for the Measurement of Attitudes". Archives of Psychology1932; 140: 1–55.

8. Kuder G F,&Richardson M W. The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika1937; 2: 151−160.
9. Cronbach L J. Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins ;1970.

10. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. ผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มนักเรียน ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559.[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 มิถุนายน 2561].เข้าถึงได้จากhttp://www.boe.moph.go.th/aids/Downloads/book/2559/Report_BSS_STU_2559_complete.pdf

11. นรบดี นิดรกูล. การเสพสื่อลามกอนาจารของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์สังคมวิทยามหาบัณฑิต].กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2548.

12. อนุชิต วรกา, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, สุปรียา ตันสกุล,นิรัตน์ อิมามี. ทักษะชีวิตกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดกาญจนบุรี. การประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 17 เรื่อง “บทบาทของประชาชนกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ” ;14–16 พฤษภาคม 2558; ณ โรงแรมจอมเทียน ปาล์มบีช โฮเต็ล แอนด์รีสอร์ท เทศบาลเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี.ชลบุรี;2558.

13. คลังพลอย เอื้อวิทยาศุภร, อรณิชา โพธิ์หมื่นทิพย์. ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2559].เข้าถึงได้จาก http://journal.knc.ac.th/pdf/17_2_2554_2.pdf

14. ฐิติ แสงหาญ,อิสรักษ์ มาเทียน.ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนบ้านม่วงพิทยาคมอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ปี พ.ศ. 2555.[สาระนิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต].อุดรธานี:มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี;2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30