แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายควบคุมยาสูบของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-3

ผู้แต่ง

  • จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ Faculty of Public Health, Naresuan University
  • มนตรี เกษมสุข Office of Disease Prevention and Control, 1 Chiangmai
  • ไพรัตน์ อ้นอินทร์ Office of Disease Prevention and Control, 2 Phitsanulok

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพด้านวิจัย, การขับเคลื่อนนโยบายควบคุมยาสูบ, สำนักงานป้องกันควบคุมโรค, การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายควบคุมยาสูบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-3 ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ เครือข่ายนักวิจัยควบคุมยาสูบของสคร. ที่ 1-3 รวม 62 คน คัดเลือกด้วยวิธีการเจาะจง  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 5 ขั้นตอน คือ  ขั้นวินิจฉัยปัญหา ขั้นทำแผนปฏิบัติการ ขั้นปฏิบัติการ ขั้นประเมินผล และขั้นกำหนดประเด็นที่เฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายควบคุมยาสูบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-3  โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์ปัญหาการบริโภคยาสูบในพื้นที่ 2) การวิเคราะห์ความต้องการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยในพื้นที่ 3) การเสริมสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นให้กับนักวิจัยในพื้นที่ 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายนักวิจัย และ 5) การประเมินผล  ภายหลังการดำเนินงานครบ 6 เดือน พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยเรื่องความรู้และทักษะการวิจัยในภาพรวมภายหลังการอบรม (Mean = 54.6, S.D. = 6.542) สูงกว่าก่อนอบรม (Mean = 40.3,  S.D. = 8.850) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และในภาพรวมผู้เข้าร่วมการอบรมร้อยละ 96.60 มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรการอบรม ฯ ในระดับมาก-มากที่สุด โดยเฉพาะด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านวิทยากรและพี่เลี้ยง ด้านสถานที่และสื่อที่ใช้ในการอบรม และได้โครงร่างการวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายควบคุมยาสูบในเขต สคร.ที่ 1-3 ที่มีคุณภาพจำนวน 9 เรื่อง มากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้

References

1. ศิริวรรณ พิทยรังสฤษณ์, ปานทิพย์ โชติเบญจมาภรณ์,ปวีณา ปั้นกระจ่าง. สรุปสถานการณ์เฝ้าระวังเพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์, 2559.

2. จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน, ปิยะรัตน์นิ่มพิทักษ์พงศ์, ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบให้กับเยาวชนของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในชุมชนชนบท. วารสารพยาบาลทหารบก 2560; 18(1):113-21.

3.Phetphum C, Wangwonsin A, Noosorn N.Predicting factors for retailers’ sale of cigarettes toadolescents in the lower part of northern region of Thailand. J Res Health Sc 2017; 17(3): e00390.

4.จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน, อาทิตยา วังวนสินธุ, บุญชณัฎฐา พงษ์ปรีชา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการขายบุหรี่ให้เยาวชนของ
ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในเขตสุขภาพที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561; 12(1): 56-70.

5.Barrows HS. Problem-based learning applied tomedical education. Rev Ed. Southern IllinoisUniversity School of Medicine, Springfield,
Illinois; 2000.

6.Duch BJ, Groh SE, Allen DE. The power ofproblem-based learning. Stylus Publishing, LLC,Virginia; 2001.

7.Sopaphan Saart, Punlop Pirisurawong,Phatchayanun Ninsok, Namom Jerungsuwan.Development of a problem-based instructionmodel using electronic media (PBIMUEM) withlearning achievement, problem solving ability ofnursing student in nursing college of nursing,Phraboromrachanok Institute. Academic Services
Journal 2555; 22(3): 150-62.

8.Marasri Chandee, Panida pale, Pimonpan Niamhom, Patranit Jongkae, Tipsuda Sengpanit. Effect of case study teaching in the subject ofnursing care for person with health problemspracticum I on nursing students abilities ofapplying nursing process. Journal of Nursing andEducation. 2014; 7(4): 134-55.

9.Patcharawadee Tongnuang. Effect of studentcentered teaching modules on learner knowledgeand learner development in pathophysiology subject among nursing students. Princes ofnaradhivas University Journa 2010; 2(1):73-89.

10.Dehkordi AH. & Heydarnejad MS. The impact of problem-based learning and lecturing on thebehavior and attitudes of Iranian nursing students:
A randomized controlled trail. DANIH MEDICALBuLLETIN 2008; 55(4): 224-6.

11.Hamdan AR, Kwan CI, Khan A, Ghafar M N A,Sihes, AJ. Implementation of problem based learningamong nursing students. International Education
Studies 2014; 7(7):136-42.

12.ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. กรุงเทพฯ : บริษัทวิทยพัฒน์จำกัด; 2552.

13.วรรณดี สุทธินรากร. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การวิจัยเพื่อเสรีภาพและการสรรค์สร้าง Action research:
freedom and creativity-based research. กรุงเทพฯ: ศยาม; 2556.

14.Susman G. Action research: A socio-technicalsystems perspective. G. Morgan. (ed.) London:Sage publication; 1983.

15.Polit D, Beck C. The content validity index: Areyou sure you know what’s being reported?.Research in Nursing & Health 2006; 29: 489-97.

16. George D, Mallery P. SPSS for windows step bystep: A simple guied& reference 11.0 update(4th ed.) Boston: Allyn & Bacon; 2003.

17.Cohen M, Kahn D, Steves R. Hermeneutic phenomenologicalresearch. A practical guide for nurseresearchers. Thousand Oaks, California: Sage;2000.

18.Schwartz P, Mennin S, Webb G. Problem-BasedLearning. Case Studies, Experience and Practice.Kogan Page Ltd, London; 2001.

19.Kiatkamjorn Kusol and Tassri Samienpetch.Self-directed Learning Ability as a LearningOutcomes of Problem-based learning of Walailak
University Nursing Students. Journal of Nursingand Education 2015; 7(4): 134-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30