การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกรณี 5 โรงเรียนนำร่อง จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก, โรงเรียนเป็นฐาน, จังหวัดนครศรีธรรมราชบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์การแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน พัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน และประเมินหลังทดลองใช้รูปแบบ ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ประเมินสถานการณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกับครู ผู้บริหารโรงเรียน พัฒนารูปแบบโดยประชุมกับกลุ่มครู ผู้บริหารโรงเรียน และผู้นำชุมชนเพื่อออกแบบกิจกรรม และทดลองใช้รูปแบบ ประเมินหลังทดลองใช้รูปแบบจากระดับปฏิบัติกิจกรรมและความต่อเนื่อง เปรียบเทียบความแตกต่างความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกของนักเรียน ผู้ดูแล ก่อนและหลังใช้รูปแบบโดยใช้สถิติการทดสอบ t- test และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่บ้านและโรงเรียนด้วยสถิติพรรณนา ร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่าสถานการณ์การแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน มีการรับรู้ปัญหาและแนวทางแก้ไขที่แตกต่างกันตามบริบทของโรงเรียน รูปแบบการพัฒนาออกแบบได้ 12 กิจกรรม หลังการทดลองใช้รูปแบบ จำแนกระดับการปฏิบัติกิจกรรมและความต่อเนื่อง พบโรงเรียนขนาดเล็กมีการปฏิบัติในระดับสูงและระดับปานกลาง โรงเรียนขนาดกลางมีการปฏิบัติในระดับต่ำ คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกของนักเรียน ผู้ดูแลก่อนและหลังใช้รูปแบบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ดัชนีลูกน้ำยุงลายโรงเรียนหลังดำเนินการพบน้อยกว่าก่อนดำเนินการ
รูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมได้ตามบริบทของโรงเรียนและชุมชนโดยเน้นการมีส่วนร่วมทั้งที่โรงเรียน บ้านและชุมชน
References
2. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการพยากรณ์โรคไข้เลือดออก [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: www.thaivbd.org
3. สำนักงานควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช. สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตสุขภาพที่ 11 [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: odpc11.ddc.moph.go.th
4. สำนักงานควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 28 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: www.thaivbd.org
5. Suwanbamrung C, Promsupa S, Doungsin T, Tongjai S. Risk Factors related to student dengue problems in primary school: Exploring dengue's basic knowledge and larval indices, Southern Thailand. Journal of Infection and Public Health. [Research aritcle]. 2013; 6: 47-57.
6 Lennon J. Students' perceptions about mosquito laval control in a dengue-endemic Philippine City. Dengue Bulletin 2004; 28: 196-206.
7 ตวงพร ศรีสวัสดิ์, นพรัตน์ มงคลางกูร, ศรเพชร มหามาตย์, จิรพัฒน์ เกตุแก้ว. การศึกษารูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน. วารสารโรคติดต่อนำโดยแมลง 2551; 5: 14-23.
8. ประภัสร ดำแป้น, อนันต์ ดำแป้น, สุธีระ ขนอม, สุกานดา หมื่นราชฎร์, รัชฎาวรรณ กลางวัง. ผลการวิจัยรูปแบบการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนและนักเรียนแกนนำระดับประถมศึกษาในการดำเนินงานป้องกันการควบคุมโรคไข้เลือดออกพื้นที่ภาคใต้ตอนบน [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://irem2.ddc.moph.go.th
9 Suwanbamrung C, Tapalak N, Jitchun C, Promsuwan C, Prosupa S, Muenraj Y, et al. Student Capacity Building of Dengue Prevention and Control: A Study of an Islamic School, Southern Thailand. Health. 2012; 4: 366-76.
10 WHO. Dengue: Guidelines for diagnosis,Treatment, Prevention and control. Geneva, Swilzerland: WHO Library Cataloguing-in-Publication data; 2009.
11 เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. หลักการและการใช้วิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับทางการพยาบาลและสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. สงขลา: ชานเมืองพิมพ์; 2550.
12 โรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. มาตราการไข้เลือดออกโรงเรียน [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2 กรกฎาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: www.thaivbd.org
13 Sekhon H, Minhas S. A study of larval indices and the risk for dengue outbreak. Scholars Academic Journal of Biosciences (SAJB) 2014; 2: 544-7.
14 Al-Muhandis N, Hunter PR. The Value of Educational Massages Embedded in a Community-based Approach to Dengue Fever: A Systematic Review and Meta Regression Analysis. PLoS Neglected Tropical Diseases 2011; 5: 1-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น