ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ณิชชาภัทร ร ยอดแคล้ว Faculty of Public Health, Khon Kaen University
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ Faculty of Public Health, Khon Kaen University

คำสำคัญ:

ความชุก, ไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง และการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical research) แบบไม่จับคู่ (Unmatched case-control) เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2559 – 30 ก.ย. 2560 สุ่มกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 358 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากแบบสอบถาม และการคัดลอกข้อมูลจากเวชระเบียน สถิติที่ใช้ในการพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์แบบหลายตัวแปรใช้สถิติพหุถดถอยลอจิสติก (Multiple logistic regression) หาขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted odds ratio (ORadj) และช่วงความเชื่อมั่น 95%

      ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยเบาหวาน 3,453 ราย ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง (eGFR < 60 ml/min/1.73 m2) ติดต่อกันเกิน 3 เดือน 557 ราย มีอัตราความชุก 161.31 รายต่อประชากรเบาหวาน 1,000 ราย แบ่งตามระยะของการเป็นโรคไตเรื้อรัง มีรายละเอียดดังนี้ ระยะที่ 3 มีอัตราความชุก 123.66 รายต่อประชากรเบาหวาน 1,000 ราย  ระยะที่ 4 มีอัตราความชุก 26.64 รายต่อประชากรเบาหวาน 1,000 ราย ระยะที่ 5 มีอัตราความชุก 11.00 รายต่อประชากรเบาหวาน 1,000 ราย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ อายุ 70 ปีขึ้นไป (ORadj=5.00, 95%CI=2.43-10.29) ประวัติการป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังของบุคคลในครอบครัว (ORadj=28.87, 95%CI=11.54-72.22) พฤติกรรมเสี่ยงด้านการรับประทานอาหารระดับปานกลาง/ไม่ดี (ORadj=10.96, 95%CI=4.82-24.93) พฤติกรรมเสี่ยงด้านอารมณ์ระดับปานกลาง/ไม่ดี (ORadj=8.82, 95%CI=4.17-18.65) โรคความดันโลหิตสูง (ORadj=2.80, 95%CI=1.05-7.47)

          ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยยังมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่น ด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ดังนั้นสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ควรให้บริการประชาชนเชิงรุก ตรวจคัดกรอง ติดตามระยะและความรุนแรงของโรคไตเรื้อรังเป็นประจำ เพื่อให้การวินิจฉัยและการดูแลรักษาที่เหมาะสม ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ควรจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ดูแล เรื่องการอ่านฉลากโภชนาการเพื่อให้มีความรู้เรื่องปริมาณสารอาหารต่าง ๆ ที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน เช่น ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เหล็ก โซเดียม เป็นต้น จัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคล หรือรายกลุ่ม ในเรื่องการรับประทานอาหารโดยเฉพาะอาหารเค็ม การออกกำลังกาย และด้านอารมณ์

References

1. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: หจก.อรุณการพิมพ์; 2557.

2. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูถัมป์ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560.

3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. อัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอก ทุกสิทธิ (ครั้งต่อคนต่อปี)รายเดือน [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 6 ก.ย.2560]. เข้าถึงได้จากhttp://kkn.hdc.moph.go.th/hdc/reports /report.php?source=formated/opd.php&cat_id=9d8c311d6336373d40437c4423508cad&id=92a705c26f22754d7462e9f742436b6f.

4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในเขตรับผิดชอบ จำแนกตาม Stage [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 6 ก.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก http://kkn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php? source=pformated/format1.php&cat_id=e71a73a77b1474e63b71bccf727009ce&id=5d523ced4c9569123109fa6f4071d35f

5. Schlesselman JJ & Stolley PD. Case-control studies design, conduct, analysis. New York: Oxford University Press; 1982.

6. ทักษพร ฝอดสูงเนิน. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.

7. Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple
method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine. 1998; 17(14): 1623-1634.

8. Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K, et al. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population : Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2010; 25(5): 1567–1575.

9. Süleymanlar G, Utaş C, Arinsoy T, Ateş K, Aletun B, Altiparmark MR, et al.A population-based survey of Chronic Renal Disease In Turkey-the CREDIT study. Nephrol Dial Transplant 2011; 26(6): 1862–71.

10. สังคม ศุภรัตนกุล. แบบแผนครอบครัวในการชะลอความเสื่อมของไต ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารกรมควบคุมโรค 2561; 44(1): 92-101.

11. มณีรัตน์ จิรัปปภา. การชะลอไตเสื่อมจากวัยผู้ใหญ่ถึงวัยผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนี นครราชสีมา 2557; 20(2): 5-16.

12. กมลวรรณ สาระ, สมชาย สุริยะไกร,จุไรรัตน์ ทุมนันท์. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดไตวายเรื้อรังระยะที่ 3-5 ในโรงพยาบาลตระการพืชผล จ. อุบลราชธานี [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 11 ก.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก https://gsbooks.gs. kku. ac.th /59/ingrc2016/pdf/MMP22.pdf

13. Ong-ajyooth L, Vareesangthip K, Khonputsa P & Aekplakorn W. Prevalence of chronic kidney disease in Thai adult : a national health survey. BMC Nephrology 2009; 10(35): 1-6.

14. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. How does high blood pressure affect the kidneys [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 20 พ.ย.2561]. เข้าถึงได้จาก https://www.niddk .nih.gov/health-information/kidney-disease/high-blood-pressure.

15. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร สำรวจพฤติการณ์รมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของ
ประชากร พ.ศ.2560 [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 6 ม.ค. 2562]. เข้าถึงได้จากhttp://www.nso.go.th/sites/
2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาสุขภาพ/พฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา/ 2560/บทสรุปผู้บริหาร_smoke60.pdf

16. อัญฐิริมา พิสัยพันธ์, จรรยา ภัทรอาชาชัย, กัณฑ์วีร์ วิวัฒน์พาณิชย์. ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้ใหญ่. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2556; 13(3): 352-360.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30