ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเมลิออยโดสิส จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
โรคเมลิออยโดสิส, ความชุกบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อศึกษาหาความชุกของโรคเมลิออย
โดสิส จังหวัดอุบลราชธานี และการวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical research) แบบ Unmatched case-control study เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเมลิออยโดสิสของผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 310 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิส 155 ราย และกลุ่มที่ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิส 155 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบคัดลอกข้อมูลจากเวชระเบียน และใช้แบบสัมภาษณ์กับผู้ป่วย ใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายคุณลักษณะของผู้ป่วยเมลิออยโดสิส วิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยวทีละคู่ด้วยสถิติ Simple logistic regression วิเคราะห์ความสัมพันธ์หลายตัวแปร ด้วยสถิติ Multiple logistic regression นำเสนอค่า Adjusted odds ratio (ORadj) และ 95% CI ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเมลิออยโดสิสทั้งสิ้น 629 ราย เสียชีวิต 87 ราย คิดเป็นอัตราความชุกของโรคเมลิออยโดสิส เท่ากับ 29.2 ต่อประชากรแสนคน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ตัวแปรเชิงเดี่ยว พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเมลิออยโดสิส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศชาย (OR=1.97; 95%CI=1.26-3.10) อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (OR=2.15; 95%CI=1.34-3.47) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (OR=4.70; 95%CI=2.91-7.60) การทำกิจกรรมที่สัมผัสดิน/น้ำโดยตรง (OR=24.37; 95%CI=10.72-55.41) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ตัวแปรเชิงพหุถดถอยลอจิสติก พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเมลิออยโดสิส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมีโรคเบาหวานเป็นโรคร่วม (ORadj=8.57; 95%CI=3.54-20.76) มีกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลเปิด (ORadj=6.84; 95%CI=2.55-18.35) มีประวัติการสูบบุหรี่ (ORadj=4.62; 95%CI=1.69-12.56) การสัมผัสกับฝนเป็นประจำ (ORadj=4.14; 95%CI=1.93-8.89) ลักษณะพื้นที่รอบบ้านชื้นแฉะ/มีน้ำขัง (ORadj=3.75; 95%CI=1.71-8.24) การทำกิจกรรมที่สัมผัสดิน/น้ำโดยตรง (ORadj=3.65; 95%CI=1.05-12.63) และการสูดดมละอองของดิน/ฝุ่น (ORadj=2.61; 95%CI=1.05-6.54)
จากผลการศึกษา ควรมีการสื่อสารความเสี่ยงในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเมลิออยโดสิส ได้แก่ เกษตรกร ผู้ที่ทำงานในไร่นา ที่ต้องสัมผัสดิน/น้ำเป็นประจำ และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความชุกของโรคสูง ในประเด็นความรู้และการป้องกันโรคเมลิอยโดสิส เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคเมลิออยโดสิสที่เหมาะสม
References
2.ศิริลักษณ์ อนันต์ณัฐศิริ. เมลิออยโดสิส (Melioidosis) [ออนไลน์] 2549. [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http.//www.ped.si.mahidol.ac.th/site_data/mykku_med/…/Melioidosis.doc
3.อเนก แก้วปาน. พฤติกรรมการป้องกันโรคเมลิออยโดสิส (Melioidosis) ของเกษตรกรจังหวัดอุบลราชธานี. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต] บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2555.
4. เพลินจันทร์ เชษฐโชติศักดิ์. (บรรณาธิการ). โรคเมลิออยโดสิส (Melioidosis). กรุงเทพฯ: โฮลิติก พับลิชชิ่ง; 2547.
5. สุภาภรณ์ พัวเพิ่มพูลศิริ. แบคทีเรียวิทยาของเชื้อ Burkholderia pseudomallei และการเพาะเชื้อ. ใน : เพลินจันทร์ เชษฐ์โชติศักดิ์, (บรรณาธิการ). โรคเมลิออยโดสิส. นนทบุรี: โฮลิสติกพับลิชชิ่ง; 2546.
6. กลุ่มงานระบาดวิทยาและข่าวกรองสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี. ข้อมูลงานระบาดวิทยา. อุบลราชธานี : สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี (เอกสารอัดสำเนา); 2560.
7. ศูนย์วิจัยโรคเมลิออยโดสิส. รายงานผู้ป่วยเมลิออยโดสิส. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยโรคเมลิออยโดสิส. (เอกสารอัดสำเนา); 2552.
8. วิษณุ ศิริโชติ. เมลิออยโดสิส การศึกษาย้อนหลังในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2541.
9.Limmathurotsakul D, Kanoksil M, Wuthiekanun V, Kitphati R, deStavola B, et al. Activities of Daily Living Associated with Acquisition of Melioidosis in Northeast Thailand: A Matched Case-Control Study. PLoS Negl Trop Dis [serial online] 2013; 7(2): e2072. [เข้าถึงเมื่อ 4 กรกฎาคม 2560]. เข้าถึงได้จากhttps://journals.plos.org/plosntds/article?id=10.1371/journal.pntd.0002072
10.Limmathurotsakul D, Wongratanacheewin S, Teerawattanasook N, Wongsuvan G, Chaisuksant S. Increasing Incidence of Human melioidosis in Northeast Thailand. Am J Trop Med Hyg [serial online] 2010; 82(6): 1113-1117. [เข้าถึงเมื่อ 28 เมษายน 2560]. เข้าถึงได้จาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20519609
11.พรพิศ ตรีบุพชาติสกุล. เมลิออยโดสิสในโรงพยาบาลพุทธชินราช พ.ศ. 2547-2550. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต 2552; 30(2): 112-125.
12.Currie J, Fisher A, Diane M, Howard. Endemic Melioidosis in Tropical Northern Australia: A 10-Year Prospective Study and Review of the Literature. Clin Infect Dis [serial online] 2000; 31: 981-6. [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11049780
13.ปิยธิดา สุจริตพงษ์, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, และเกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเมลิออยโดสิสในผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิส โรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557; 7(1): 80-86.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น