ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้ารับการตรวจคัดกรองเอชไอวี ที่คลินิกให้การปรึกษาและตรวจเลือดด้วยความสมัครใจของกลุ่มชาย ที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • นางสาวนงค์นุช สุรัตนวดี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย คลินิกให้การปรึกษาและตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีด้วยความสมัครใจ การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี เกย์ สาวประเภทสอง และไบเซ็กชวล

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบ Cross-sectional Analytical Study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองเชื้อเอชไอวีในคลินิกให้การปรึกษาและตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีด้วยความสมัครใจ (VCT) ของอาสาสมัครชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM) ในเขตสุขภาพที่ 7 เข้าถึงกลุ่มตัวอย่างแบบบอลหิมะ รวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลจากอาสาสมัคร MSM จำนวน 312 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ขอนแก่น ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม 2562

ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของกลุ่ม MSM ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ในการเข้ารับบริการที่คลินิก VCT
ปี 2562 เท่ากับ 62.50% และพบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเข้ารับบริการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 8 ปัจจัย ได้แก่ อายุ (ORajd2.21, 95%CI 1.22-4.01, P = 0.009)  อัตลักษณ์ทางเพศ (ORajd0.55, 95%CI 0.31-0.99, P = 0.046)   ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก (ORajd67.26, 95%CI 4.08-1109.99, P = 0.003)  คู่ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก (ORajd2.70, 95%CI 1.48-4.91, P = 0.001) ประวัติการใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ (ORajd0.06, 95%CI 0.004-0.852, P = 0.038) ระดับความรู้เกี่ยวกับเชื้อเอชไอวี/เอดส์(ORajd6.43, 95%CI 1.48-27.9, P = 0.013) ปัจจัยเอื้อในการเข้ารับบริการที่คลินิก VCT (ORajd2.76, 95%CI 1.36-5.57, P = 0.005) และปัจจัยเสริมในการเข้ารับบริการที่คลินิก VCT (ORajd3.2, 95%CI 1.68-6.12, P <0.001)

การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ความชุกของกลุ่ม MSM ในเขตสุขภาพที่ 7 ไปรับบริการตรวจคัดกรองเอชไอวีที่คลินิก VCT คือ 62.5% ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ 90% ดังนั้น การเน้นให้ความรู้ เพื่อเพิ่มการรับรู้ความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวี ของกลุ่ม MSM ที่อายุน้อยกว่า 24 ปี มีอัตลักษณ์ทางเพศที่ไม่ใช่สาวประเภทสอง เป็นโสดหรือมีคู่คนเดียว รวมถึงการปรับปรุงการให้มีปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมที่ช่วยสนับสนุนให้กลุ่ม MSM เข้าถึงบริการที่คลินิกVCT ได้สะดวก น่าจะช่วยให้การไปรับบริการเพิ่มมากขึ้นได้

References

1. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. บริการข้อมูลสารสนเทศ การใช้บริการผู้ติดเชื้อ
เอชไอวี [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ:สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ;2559
[เข้าถึงเมื่อ 25 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้จากhttps://napdl.nhso.go.th/NAPWebReport
2. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. การติดเชื้อไวรัสเอชไอวีในกลุ่มประชากรชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ:สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์;2561 [เข้าถึงเมื่อ 25 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก https://aidssti.ddc.moph.go.th
3. เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, เพลินจันทร์ เชษฐโชติศักดิ์, สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์, วินัย รัตนสุวรรณ, วรพจน์ ตันติศิริวัฒน์, และคณะ. แนวทางการตรวจรักษาและการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2557. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ; 2557.
4. บังอร เทพเทียน, สุพัตรา ศรีวณิชชากร, กัญญา อภิพรชัยกุล, พักตร์วิมล ศุภลักษณศึกษากร,
ภูษิต ประคองสาย. ปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้ารับบริการขอคำปรึกษาโดยสมัครใจและการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีสำหรับกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของประเทศไทย. Journal of Medicine and Health Sciences. 2558;22(1): 11-20.
5. Vutthikraivit P, Lertnimitr B, Chalardsakul P, Imjaijitt W, Piyaraj P. Prevalence of HIV Testing and Associated Factors among Young Men Who Have Sex with Men (MSM) in Bangkok, Thailand. J Med Assoc Thai 2014. 2557; 97(2): S207-S214.
6. Pines HA, Goodman-Meza D, Pitpitan EV, Torres K, Semple SJ, Patterson TL. HIV testing among men who have sex with men in Tijuana, Mexico: a cross-sectional study. BMJ Open. 2016 ;6(2):e010388.
7. Wimonsat W, Naorat S, Varangrat A, Phanuphak P, Kanggarnrua K, McNiccholl J, et al. Factors Associated with HIV Testing History and Returning for HIV Test Resulth Among Men Who have Sex with Men in Thai land. AID Behav 2011. 2011;15:693-701.
8. จิรภัทร หลงกุล. การเข้ารับบริการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในจังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2558.
9. Li R, Pan X, Ma Q, Wang H, He L, Jiang T, et al. Prevalence of prior HIV testing and associated factors among MSM in Zhejiag Province, China : a coss-sectional study. BMC Public Health 2016. 2016;16:1152-1159.
10. Lee SW, Deiss RG, Segura ER, Clark JL, Lake JE, Konda KA, et al. A cross-sectional study of low HIV testing frequency and high-risk behaviour among men who have sex with men and transgender women in Lima, Peru. BMC Public Health. 2015;15:408-415.
11. MacKellar DA, Valleroy LA, Anderson JE, Behel S, Secura GM, Bingham T, et al. Recent
HIV testing among young men who have sex with men: correlates, contexts, and HIV seroconversion. Sex Transm Dis. 2006;33(3):183-92.
12. พัชณี สมุทรอาลัย, วราภรณ์ บุญเชียง, ประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล. การวิเคราะห์สถานการณ์การตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2559;12(2):10-20.
13. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ;2560 [เข้าถึงเมื่อ10 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th 14. Brito AM, Kendall C, Kerr L, Mota RMS, Guimaraes MDC, Dourado I, et al. Factors associated with Low Levels of HIV Testing among Men Who Have Sex with Men (MSM) in Brazil. PLoS ONE. 2015;10(6): e0130445.
15. วิศรุต แวงไทย. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้ารับการตรวจการติดเชื้อเอชไอวี ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดขอนแก่น[วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2561.
16. Ma W, Raymond HF, Wilson EC, Mcfarland W, Lu H, Ding X, et al. Participation of HIV prevention programs among men who have sex with

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30