ปริมาณและชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศภายในอาคารผู้โดยสาร กรณีศึกษา ท่าอากาศยานนานาชาติแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • จิตรลดา อ่อนสุระทุม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • กาญจนา นาถะพินธุ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

เชื้อจุลินทรีย์, อากาศในอาคาร, ท่าอากาศยาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายชนิด และปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศภายในอาคารผู้โดยสาร ท่าอากาศยานนานาชาติแห่งหนึ่ง โดยทำการเก็บตัวอย่างเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราในอาคาร AและB บริเวณจุด check in ห้องพักผู้โดยสาร และจุดตรวจสัมภาระ ด้วยเครื่องมือเก็บตัวอย่างจุลชีพในอากาศ ผลการศึกษา พบว่า จุดที่พบเชื้อแบคทีเรียมากที่สุด ได้แก่ จุดตรวจสัมภาระอาคาร B (574.38±145.86 CFU/m3) ห้องผู้โดยสารอาคาร B (539.88±42.72 CFU/m3) จุดตรวจสัมภาระอาคาร A (386.88±249.00 CFU/m3) และห้องผู้โดยสารอาคาร A (336.18 ± 48.27 CFU/m3) ตามลำดับ เชื้อราพบมากที่สุด ได้แก่ จุดตรวจสัมภาระ อาคาร B (627.50 ± 323.33 CFU/m3) ห้องผู้โดยสาร อาคาร B (530.25 ± 166.14 CFU/m3) และจุด check in อาคาร B (507.50 ± 165.32 CFU/m3) ตามลำดับ ชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศ พบเชื้อแบคทีเรียทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ Staphylococcus spp., Micrococcus spp., Pseudomonas spp., Bacillus spp., Enterobacteriaceae และ Streptococcus spp. พบเชื้อราทั้งหมด 5 ชนิดได้แก่ Cladosporium spp., Fusarium spp., Penicillium spp., Aspergillus spp. และ Alternaria spp. ทดสอบความแตกต่างของปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศภายในอาคารในการเก็บตัวอย่างรอบเช้าและรอบเย็นด้วยสถิติ Wilcoxon matched pair signed-rank test

พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value =0.05) ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์เทียบกับค่าแนะนำของประเทศสิงคโปร์ พบว่า ปริมาณเชื้อแบคทีเรีย บริเวณห้องผู้โดยสาร อาคาร B จุดตรวจสัมภาระ อาคาร B และจุดตรวจสัมภาระอาคาร A ปริมาณเชื้อราบริเวณจุด check in ทั้งอาคาร A-B  จุดตรวจสัมภาระทั้ง อาคาร A-B และห้องผู้โดยสารอาคาร B เกินเกณฑ์ค่าแนะนำ (> 500 CFU/m3) เมื่อเทียบมาตรฐาน คุณภาพอากาศในอาคารสาธารณะของประเทศฮ่องกง จุดที่มีปริมาณจุลินทรีย์ <500 CFU/m3 เป็นคุณภาพอากาศดีเยี่ยม จุดที่มีปริมาณ <1,000 CFU/m3 จัดอยู่คุณภาพอากาศดี แต่ทั้งนี้ควรมีการเฝ้าระวังและดำเนินมาตรการเพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์ในพื้นที่ที่มีปริมาณเกินค่าแนะนำ

References

กองเศรษฐกิจการบิน ฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน. รายงานสภาวะอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย ปี 2560. สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย; 2560.

พรรณิภา ดีจะมาลา, กาญจนา นาถะพินธุ. ชนิดและปริมาณเชื้อแบคทีเรียในอากาศภายในร้านรับซื้อของเก่าเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. สํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2557; 22(1): 68-77.

อรรถพงษ์ ฤทธิทิศ, กาญจนา นาถะพินธุ. ชนิดและปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศภายในโรงภาพยนตร์ กรณีศึกษาโรงภาพยนตร์แห่งหนึ่งในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2558; 16(3): 92-101.

พิทักษ์ คิมนารักษ์. การแพร่กระจายของเชื้อราในอากาศภายในห้องปฏิบัติการเทคนิค การแพทย์:กรณีศึกษาห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์โรงพยาบาลนครปฐม [วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร ; 2558.

Leila S.R. Brickus. Occurrence of Airborne bacteria and fungi in Bayside office Rio de Janero, Brazil. Indoor and built environmental 1998; 7(5-6): 270-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31