ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและสมรรถภาพทางกาย ในเกษตรกรปลูกแตงโมขายเมล็ดระบบเกษตรพันธสัญญา อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • kawinthida tongluang คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ ศูนย์วิจัย ปวดหลัง ปวดคอ และปวดข้ออื่นๆและสมรรถนะของมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง ศูนย์วิจัย ปวดหลัง ปวดคอ และปวดข้ออื่นๆและสมรรถนะของมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การปวดหลัง, การยศาสตร์, ความชุก, แรงเหยียดขา

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (MSDs) และสมรรถภาพทางกายในกลุ่มเกษตรกรปลูกแตงโมขายเมล็ดระบบเกษตรพันธสัญญา อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 259 คน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติก (Logistic regression) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 67.57 อายุเฉลี่ย 53.81 ปี มีประสบการณ์ปลูกแตงโมขายเมล็ด เฉลี่ย 9.20 ปี พบความชุกของความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ในรอบ 7 วัน และ 6 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 76.45 และ 63.71 โดยในรอบ 6 เดือน ความผิดปกติที่พบสูงสุด 3 อันดับแรก คือหลังส่วนล่าง ร้อยละ 56.37 รองลงมาคือเข่า และน่อง ร้อยละ 23.55, 20.85 ตามลำดับ ด้านสมรรถภาพความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ พบว่า กลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่มีแรงบีบมือข้างถนัด ระดับปานกลาง ร้อยละ 29.73 รองลงมาคือระดับดีมาก ร้อยละ 28.19 แรงเหยียดหลังระดับต่ำมาก ร้อยละ 64.09 รองลงมาคือระดับต่ำ ร้อยละ 33.20 และแรงเหยียดขาระดับต่ำมาก ร้อยละ 31.27 รองลงมาคือระดับปานกลาง ร้อยละ 21.62 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ MSDs ในกลุ่มเกษตรกร ได้แก่ โรคประจำตัว (ORadj=4.57; 95% CI=2.19-9.92; p-value <0.001) การสูบบุหรี่ (ORadj=4.12, 95% CI=1.75-9.66; p-value=0.001) การทรงท่าที่ไม่เหมาะสม (ORadj=4.63; 95% CI=2.11-10.12; p-value<0.001) การได้รับแรงสั่นสะเทือน (ORadj=4.64; 95% CI=1.56-13.79; p-value= 0.006) และแรงเหยียดขา (ORadj=3.22; 95% CI=1.69-6.13; p-value<0.001)

การศึกษานี้พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ MSDs ในกลุ่มเกษตรกรปลูกแตงโมขายเมล็ดระบบเกษตรพันธสัญญา ทั้งปัจจัยจากการทำงาน โรคประจำตัว และสมรรถภาพความเข็งแรงของกล้ามเนื้อ จึงควรจัดให้มีระบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อโดยองค์กรในชุมชน การอบรมให้ความรู้ด้านปัจจัยคุกคามทางการยศาสตร์ บริการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  การส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อเรื้อรัง

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนกรกฎาคม [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 5 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th/sites/2018.

สำนักทะเบียนที่ว่าการอำเภอหนองเรือ. ข้อมูลประชากร อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ปี พ.ศ. 2560; 2560.

เวชระเบียนโรงพยาบาลหนองเรือ. ข้อมูลผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลหนองเรือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ปี พ.ศ. 2560; 2560.

Hsieh FY, Bloch DA, Larson MD. A Simple Method of Sample Size Calculation for Linear and Logistic Regression. Statis Med 1998; 17: 1623-34.

ธวัชชัย คำป้อง, สุนิสา ชายเกลี้ยง. ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการปวดหลังจากการทำงานของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556; 6(2): 70-8.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, วิภารัตน์ โพธิ์ขี. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ปัจจัยเสี่ยง ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และและความชุกของการปวดหลังของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์.ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

สุนิสา ชายเกลี้ยง. สรีรวิทยาการทำงานและการยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล, วัณทนา ศิริธราธิวัตร, ยอดชาย บุญประกอบ, วิชัย อึงพินิจพงศ์, มณเฑียร พันธุเมธากุล. ความชุกของภาวะความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในชาวนา: กรณีศึกษาตำบลศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2558; 23(3): 297-303.

วิวัฒน์ สังฆะบุตร, สุนิสา ชายเกลี้ยง. ความชุกของความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อใน แรงงานนอกระบบกลุ่มดัดเหล็กปลอกเสาระบบมือโยกอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. 2556; 13(1): 135-44.

Chaiklieng S, Suggaravetsiri P, Bunprakob Y. Work ergonomic hazards for musculoskeletal pain among university office workers. Walailak Journal of Science and Technology 2010; 7(2): 169-76.

สสิธร เทพตระการพร. ผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาการยศาสตร์ เอกสารการสอนชุดวิชาการยศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2553

ธัญญาวัฒน์ หอมสมบัติ, สุนิสา ชายเกลี้ยง. ความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลังและรยางค์ ส่วนบนในแรงงานนอกระบบ กลุ่มคนงานทำไม้กวาด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2553; 3(2): 1-10.

พรพิรมย์ ทัศนาวงค์, วิโรจน์ จันทร, จุฑารัตน์ รักประสิทธิ์. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและ กล้ามเนื้อในเกษตรกรเก็บใบชา ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. ศรีนครินทร์เวชสาร 2561; 33(5): 457-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31