The prevalence of Helminthes infection among Host and intermediate hosts at Mae-soi water gate project, Lampoon province year 2016-17

ผู้แต่ง

  • วรยุทธ นาคอ้าย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

parasite infection, host, intermediate hosts, Mae-soi water gate

บทคัดย่อ

โครงการประตูระบายน้ำแม่สอย เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนล่างพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ซึ่งอยู่ในแผนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของกรมชลประทาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการติดโรคหนอนพยาธิในประชาชน โฮสต์กึ่งกลางในธรรมชาติ ดำเนินการในช่วงปี 2559-60 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา (1) การตรวจหาไข่หนอนพยาธิในอุจจาระ โดยการสุ่มตัวอย่าง 442 ราย ตรวจวินิจฉัยด้วยวิธี Formalin Ether Concentration ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนมีการติดโรคหนอนพยาธิ 4 ชนิด ได้แก่ พยาธิใบไม้ตับของคน 29.6 % (131/442) พยาธิปากขอ 4.0% (18/442) พยาธิตืดหมู-วัว 0.5% (2/442) และพยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดเล็ก 24.2% (107/442) (2) การศึกษาโฮสต์กึ่งกลางของพยาธิใบไม้ จากการสำรวจตรวจสอบการติดเชื้อตัวอ่อนระยะเซอร์คาเรียในหอยน้ำจืด โดยวิธี Shedding และ Crushing  ผลการศึกษาสามารถเก็บตัวอย่างหอยได้ทั้งหมด 272 ตัว จัดจำแนกเป็นกลุ่มหอยฝาเดียว 11 ชนิดพันธุ์ กลุ่มหอยสองฝา 2 ชนิดพันธุ์ พบหอยติดเชื้อ 1 ชนิดพันธุ์ คือ Tarebia granifera  คิดเป็นอัตราการติดเชื้อ 0.37% (1/442) สามารถติดเชื้อตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเซอร์คาเรีย    ได้ 1 ชนิด ได้แก่ พยาธิใบไม้ชนิด Loxogenoides bicolor พยาธิใบไม้ลำไส้ของกบ และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (3) การศึกษาการติดเชื้อตัวอ่อนระยะติดต่อเมตาเซอร์คาเรียในปลาน้ำจืดเล็ดขาว โดยวิธี Crushing สามารถตรวจพบปลาติดเชื้อ 3 ชนิดพันธุ์ ได้แก่ ปลาสร้อยขาว ติดเชื้อ 15.63%  ปลาหนามหลัง ติดเชื้อ 67.66% และปลาแปบ ติดเชื้อ 22.14%  จัดจำแนกเป็นพยาธิใบไม้ในลำไส้ขนาดเล็กของสัตว์มีกระดูกสันหลัง 2 ชนิด คือ Haplorchis taichui และ Haplorchoides sp. ในการศึกษานี้ตรวจพบพยาธิใบไม้ตับของคน (Opisthorchis viverrini) ซึ่งเป็นชนิดพยาธิที่มีความสำคัญทางการแพทย์ และเป็นปัญหาของสาธารณสุขที่ก่อโรคมะเร็งท่อน้ำดีในคน แสดงว่าในพื้นที่โครงการยังมีการแพร่ระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับคนได้ครบวงจร จึงควรจะต้องดำเนินการติดตามตรวจสอบตามแผนปฏิบัติการโครงการ และมีการคืนข้อมูลให้ความรู้สู่ชุมชนในพื้นที่เพื่อดำเนินการป้องกันการแพร่โรคหนอนพยาธิในระยะยาวหลังสิ้นสุดโครงการ

References

1. กรมอนามัย.คู่มือการติดตาม ตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพจากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข.นนทบุรี: กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย;2555.
2. กรมชลประทาน.รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โครงการประตูระบายน้ำแม่สอยจังหวัดเชียงใหม่, กรุงเทพฯ: กรมชลประทาน;2554.
3. กรมควบคุมโรค. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการประตูระบายน้ำแม่สอย จังหวัดเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2556. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
4. Daniel,W.W. Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. 7th edition. New York: John Wiley & Sons.;1999.
5. Brandt, A. M.. The non-marine aquatic Mollusca of Thailand. Frankfurt: Arch Moll Band ;1974.
6. Yamaguti, S.. A synoptical review of life histories of digenetic Trematode of Vertebrates. Tokyo: Keigaku publishing;1975.
7. อังษณา ยศปัญญา,สุพรรณ สายหลักคำ,บุญจันทร์ จันทร์มหา,เกษร แถวโนนงิ้ว.ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับจังหวัดเลย ปี 2556. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 2558;22(1):89-97.
8. วรยุทธ นาคอ้าย,สุภัทรตา ศรีทองแท้,อัมภัส วิเศษโมรา,อรนาถ วัฒนวงษ์.อัตราการติดโรคหนอนพยาธิในประชาชนและโฮสต์กึ่งกลางในสิ่งแวดล้อมพื้นที่โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำ อ่างลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารสหวิทยาการเพื่อสุขภาพ 2562;1(1):51-61.
9. วีระพล วิเศษสังข์,รติกร ชาติชนพยืนยง,ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล.โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวต่อการลดการเกิดโรคพยาธใบไม้ตับในกลุ่มวัยแรงงาน ตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 2560;24(3):61-74.
10. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.สรุปผลการประเมินความชุกโรคหนอนพยาธิจังหวัดศรีสะเกษ ปี 2558. ศรีสะเกษ:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ;2558.
11. Adam R, Arnold H, Pipitgool V, Sithithaworn P, Hinz E, and Storch V. Studies on Lophocercous cercariae from Bithynia siamensis goniomphalos (Prosobranchia: Bithyniidae). Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health; 1993; 24(4):697-700.
12. กรมควบคุมโรค. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง จังหวัดปราจีนบุรี ปีงบประมาณ 2558 .กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
13. Wykoff, D.E., Beaver, P.C. and Winn, M.M. Studies on Schistosomiasis in Thailand. Annual Progress Report, SEATO Medical Research Laboratory, Bangkok; 1965.
14. Wongsawad, Ch., Rojanapaibul, A., Mhad-arehin, N., Pachanawan, A., Marayong, T., Suwattanacoupt, S., Rojtinnakorn, J., Wongsawad, P., Kumchoo, K. & Nichapu, A.. Metacercaria from freshwater fishes of Mae Sa stream, Chiang Mai, Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2000; 31 (Suppl 1), 54-57.
15. Waikagul J. Opisthorchis viverini metacercariae in Thai freshwater fish. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1998; 29: 324-6.
16. Kumchoo,K., Wongsawad,Ch.,Joung-Yil,Ch.,Vanittanakorn,P. and Rojanapaibun,A.. High prevalence of Haplorchis taichui metacercariae in Cyprinoid fish from Chiang Mai province,Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health2005; 36(2): 451-455.
17. พิศิษฐ์ สุนทราวิฑูร.ตัวอ่อนพยาธิไบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียในปลาน้ำจืดของไทย.วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 2557;19(2);237-249.
18. พิศิษฐ์ สุนทราวิฑูร, เอมอร ดอกไม้ขาว.ความชุกตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียในปลาวงศ์ปลาตะเพียนตําบลริมกกอําเภอเมืองเชียงรายจังหวัดเชียงราย.สัตวแพทย์มหานครสาร 2557; 9(2);113-120.
19. Srisawangwong, T.,Sithithaworn, P. andTesana, S. Metacercariae isolated from cyprinoid fishes in Khon Kaen District by digestion technic. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1997; 28 (Suppl. 1): 224-226.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30