ความชุกของการเกิดพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรเพาะปลูกจังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
ความชุก, พิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช, ข้าว, มันสัมปะหลัง, ออร์กาโนฟอสเฟต, คาบาเมตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง ในกลุ่มเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเพาะปลูก และฐานข้อมูลผู้ป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชใน 43 แฟ้ม ด้วยรหัส T60.0 - T60.9 ระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2561 จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร และเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อดูการกระจายทางวิทยาการระบาด ความชุกของพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และแนวโน้มของพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เกิดขึ้นในเกษตรกรกลุ่มนี้ ผลการศึกษา พบว่าอัตราป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรของจังหวัดสกลนครในปี พ.ศ. 2559 - 2561 เป็น 78.30, 140.47 และ 47.70 ต่อเกษตรกรแสนคน ตามลำดับ อำเภอที่มีอัตราป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกร 3 ปีย้อนหลัง มากที่สุด คือ อำเภอส่องดาว เท่ากับ 628.69 รองลงมาคือโคกศรีสุพรรณ คือ 447.54 และเจริญศิลป์ คือ 418.38 ต่อเกษตรกรแสนคน ส่วนใหญ่เกษตรกรเป็นเพศชาย ร้อยละ 50.51 อายุ 50 – 59 ปี ร้อยละ 40.67 ชนิดพืชที่เกษตรกรที่ป่วย เพาะปลูกมากที่สุดคือ ข้าวนาปี ร้อยละ 88.60 รองลงมาคือมันสำปะหลัง ร้อยละ 7.51 และอ้อย ร้อยละ 2.33 ตามลำดับ พื้นที่ในการเพาะปลูกของผู้ที่ป่วยคือน้อยกว่า 10 ไร่ ร้อยละ 42.75 และ 10-20 ไร่ ร้อยละ 26.16 ชนิดของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีเกษตรกรป่วยจากการใช้สารออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต (T60.0) มากที่สุด ร้อยละ 64.25 รองลงมาคือ สารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์อื่นๆ (T60.8) ร้อยละ 24.87 และสารกำจัดศัตรูพืช และสัตว์อื่นๆ ที่ไม่ระบุรายละเอียด (T60.9) ร้อยละ 8.81 โดยมีรหัส ผิวหนังอักเสบจากสัมผัสภูมิแพ้ ไม่ระบุสาเหตุ (L23.9) ป่วยร่วมด้วย มากที่สุด ร้อยละ 36.11 และปอดอักเสบจากของแข็งและของเหลว (J69) ร้อยละ 30.55 การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าเกษตรกรปลูกข้าว มันสำปะหลัง ป่วยจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่แนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอำเภอเจริญศิลป์ ซึ่งอาจเป็นปัญหาสุขภาพในระยะยาว ข้อมูลนี้จึงเป็นประโยชน์ในการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในเกษตรกรและการค้นหาปัจจัยเสี่ยงเพื่อการป้องกันพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องต่อไป
References
สุธาสินี อั้งสูงเนิน. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2558; 9(1): 50-63.
กรมวิชาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตราย[ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 19 กรกฎาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://oldweb.oae.go.th/economicdata/pesticides.html.
ปัทมา เมี่ยงมุกข์, สุวรรณา ประณีตวตกุล, จักรกฤษณ์ พจนศิลป์. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและทัศนคติด้านความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกผักในจังหวัดปทุมธานี. วารสารแก่นเกษตร 2559; 44(3): 417-26.
สุนิสา ชายเกลี้ยง. พิษวิทยาสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
World Health Organization. Pesticides. Retrieved June20 2018. from: http://www.who.int/topics/pesticides/en/
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. โรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก ;http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/72.
กระทรวงสาธารณสุข. อัตราป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก https://www.moph.go.th/
วิลาสิณี ทองบุ, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, สุนิสา ชายเกลี้ยง. ความชุกของพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรจังหวัดร้อยเอ็ด กรณีศึกษาพื้นที่โซนใต้. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 12(2), 41-52.
อำนวย ทิพยศรีราช. คุณภาพข้อมูลผู้ป่วยโรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 6 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ปี 2547. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่ 2550; 12(2): 41-52.
สัญญา พึงสร้างแป้น, สุนิสา ชายเกลี้ยง. สถานการณ์โรคจากการทำงานของเกษตรกรปลูกพืชไร่ จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 2560; 2(1): 15-22.
ดลนภา ไชยสมบัติ, จรรยา แก้วใจบุญ, อัมพร ยานะ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร กรณีศึกษาเกษตรใน ต.สันป่าม่วง อ.เมือง จ.พะเยา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 5(พิเศษ): 305-16.
สุนิสา ชายเกลี้ยง, สายชล แปรงกระโทก. การประเมินทางชีวภาพด้านความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรผู้ทำนา: กรณีศึกษาตำบลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนางจังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556; 28(3): 382-9.
ระบบสถิติทางการทะเบียน. สถิติประชากรและบ้าน [ออนไลน์]. 2561[เข้าถึงเมื่อ 28 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php.
สุนิสา ชายเกลี้ยง, สัญญา พึงสร้างแป้น, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. ความชุกและความรุนแรงของโรคจากการทำงานในเกษตรกรปลูกพืชไร่ จังหวัดหนองบัวลำภู. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2562; 26(1): 77-86.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น