ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ - ไตรทิพย์สมบัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • นาฏติยา ศิลคุ้ม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • มุกดา พิศจำรูญ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สุธิดา พลกอง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สุนิสา สังข์สุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สุพัตรา ชาติอดุลย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, นักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน, โรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนจากโรงเรียนทั้งหมด            6 แห่งในเขตพื้นที่ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 164 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2560 โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยปรับปรุงขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็น          เพศชาย ร้อยละ 62.20 มีอายุเฉลี่ย 9.54 ปี (SD = 1.63) เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนเพศเดียวกันและอายุเท่ากัน กลุ่มตัวอย่างคิดเห็นว่าตนเองมีรูปร่างอ้วนเกินไป ร้อยละ 73.17 กลุ่มตัวอย่างได้เงินมาใช้จ่ายในโรงเรียนเฉลี่ยวันละ 45.77 บาท (SD = 23.10) โดยนำไปซื้ออาหารประเภททอด ร้อยละ 31.10 รองลงมา คือ ขนมขบเคี้ยวอบกรอบ มันฝรั่งกรอบ ร้อยละ 27.44 ในแต่ละวันรับประทานอาหารมากกว่า 3 มื้อ ร้อยละ 11.59 เคยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ร้อยละ 70.12 ผ่านทางหนังสือเรียน ร้อยละ 98.17 รองลงมา คือ จดหมายข่าว ร้อยละ 96.34 กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 42.68 มีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 68.90 และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 83.53

เมื่อจำแนกตามกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเพศชายและเพศหญิง อายุ 5-18 ปี พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะอ้วน ร้อยละ 51.22 โดยทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนที่มีภาวะอ้วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.228, p-value = 0.037) ดังนั้น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครูประจำชั้น ครูผู้สอน และผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถนำข้อมูลจากการศึกษามาเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งอาจทำได้โดยการสอดแทรกเนื้อหาเข้ากับการใช้ชีวิตประจำวันและการจัดการเรียน        การสอน รวมทั้งอาจประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนผ่านสื่อต่างๆ ที่เด็กวัยเรียนสามารถเข้าถึงได้ง่าย

References

ปุลวิชช์ ทองแตง, จันทร์จิรา สีสว่าง. ภาวะน้ำหนักเกินในเด็กไทย. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2555; 18(3): 287-97.

กัลยาณี โนอินทร์. ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในวัยเรียนและวัยรุ่นไทย. วารสารพยาบาลทหารบก 2560; 18(ฉบับพิเศษ): 1-8.

วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: บริษัท เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด; 2552.

สุลัดดา พงษ์อุทธา, วาทินี คุณเผือก, บรรณาธิการ. อาหารและโภชนาการในประเทศไทย: เราอยู่ตรงจุดใดในปัจจุบัน. นนทบุรี: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; ม.ป.ป.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย จับมือกรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต หนุน อปท. สร้างสุขภาพดีให้เด็กไทย [ออนไลน์]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 9 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: 5. https://www.anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=6687.

พัชราภรณ์ อารีย์, สุภารัตน์ วังศรีคูณ, ศรีพรรณ กันธวัง. ภาวะโภชนาการพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และกิจกรรมด้านร่างกายของเด็กวัยรุ่น: การศึกษาเบื้องต้น. พยาบาลสาร 2550; 34(2): 98-105.

งานอนามัยเด็กวัยเรียน ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เด็กนครชัยบุรินทร์เติบโตสมวัย ไม่อ้วน สายตาดี มีสติ รู้คิด มีทักษะชีวิต จิตสดใส [ออนไลน์]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ

9 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://hpc9.anamai.moph.go.th/images/

pdf59/kid/satanakann.pdf.

เทศบาลตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. สภาพและข้อมูลพื้นฐาน [ออนไลน์]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.johocity.go.th/base.php?

content_id=2.

กลุ่มสารสนเทศ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนสังกัด สพป. นครราชสีมา เขต 1 [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://data.bopp-obec.info/ emis/school.php?Area_CODE=3001.

ณรงค์ พันธ์ศรี, จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานและอ้วนในตำบลเมืองยาง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558; 8(4): 42-9.

ศิวรักษ์ กิจชนะไพบูลย์. พฤติกรรมการลดน้ำหนักที่ไม่ถูกต้องของวัยรุ่นและเยาวชนไทย. พยาบาลสาร 2555; 39(4): 79-90.

จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ, นันทนา คะลา. การปฏิบัติตนทางด้านโภชนาการและสุขภาพของนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานและอ้วน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559; 31(4): 224-30.

ชิราวุธ ปุญณวิช, ระวิวรรณ แสงฉาย, ล้ำศักดิ์ ชวนิชย์, พรวิภา เย็นใจ, พัฒนา มูลพฤกษ์, อุดมศักดิ์ คงเมือง. พฤติกรรมการบริโภคอาหารในนักเรียนประถมศึกษา ชั้นปีที่ 4-6 โรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 12 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://bkkthon.ac.th/home/user_files/department/department-24/files/12.พฤติกรรมการบริโภคอาหารในนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่%204%20(1).pdf.

พัชรี ศรีกุตา และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านบึงสาร อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ครั้งที่ 4 เรื่อง งานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น; 10 มีนาคม 2560; ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. เพชรบุรี: ม.ป.ป.; 2560. หน้า 328-336.

โรงเรียนบ้านบึงทับช้าง. สรุปผลการดำเนินงานทะเบียนปีการศึกษา 2559 [เอกสารอัดสำเนา]. นครราชสีมา: โรงเรียน; 2560.

โรงเรียนบ้านกล้วยจอหอ. สรุปผลการดำเนินงานทะเบียนปีการศึกษา 2559 [เอกสารอัดสำเนา]. นครราชสีมา: โรงเรียน; 2560.

โรงเรียนบ้านระกาย. สรุปผลการดำเนินงานทะเบียนปีการศึกษา 2559 [เอกสารอัด17. สำเนา]. นครราชสีมา: โรงเรียน; 2560.

โรงเรียนบ้านกรูดหนองออก. สรุปผลการดำเนินงานทะเบียนปีการศึกษา 2559

[เอกสารอัดสำเนา]. นครราชสีมา: โรงเรียน; 2560.

โรงเรียนบ้านจอหอ. สรุปผลการดำเนินงานทะเบียนปีการศึกษา 2559 [เอกสารอัด

สำเนา]. นครราชสีมา: โรงเรียน; 2560.

โรงเรียนสุรนารายณ์วิทยา. สรุปผลการดำเนินงานทะเบียนปีการศึกษา 2559

[เอกสารอัดสำเนา]. นครราชสีมา: โรงเรียน; 2560.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมป้องกันภาวะอ้วนในเด็กนักเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2557.

สุจิตต์ สาลีพันธ์, ทิพรดี คงสุวรรณ, ปิยะ ปุริโส, นาตยา อังคนาวิน, บรรณาธิการ.

แนวทางการจัดทำอาหารกลางวันเด็กวัยเรียน เมนูอาหารจานเดียวทางเลือก

[ออนไลน์]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 11 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/files/แนวทางอาหารกลางวันเด็กวัยเรียน.pdf.

Bloom BS. Human characteristics and school learning. New York: McGraw Hill Book Co; 1976.

Best JW. Research in education. New Jersey: Prentice Hall; 1977.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. โตขึ้นหุ่นดี ไม่มีอ้วน

[ออนไลน์]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 11 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก:

http://nutrition.anamai.moph.go.th/ images/file/studen_slim_rollup58.pdf.

กฤติเดช นุกูลกิจ. พฤติกรรมการซื้อและการบริโภคข้าวกล้องของผู้บริโภคในจังหวัด

ปทุมธานี. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ 2561; 4(1):

355-64.

สง่า ดามาพงษ์. กินอยู่อย่างสง่า [ออนไลน์]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 11

พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://hp.anamai.moph.go.th/download/

วัยทำงาน/ประชุมวัยทอง30เม.ย.56_1 พ.ค.56/M03.30.04.2556.pdf.

กองบรรณาธิการมูลนิธิข้าวไทย. 84 สูตรอาหารข้าวกล้องเฉลิมพระเกียรติ.

พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์;

2555.

โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล หนองแขม. เคี้ยว เคี้ยวอาหารกับสุขภาพ [ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 11 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.vichaivej.com/nongkhaem/

article-detail.php?item=254.

หมอชาวบ้าน. อาหารเช้ากับสุขภาพ [ออนไลน์]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 11

พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doctor.or.th/article/detail/

11005.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. อาหารเช้ามื้อสำคัญ บำรุงสมอง

วัยเรียน [ออนไลน์]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 12 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก:. 31. https://www.thaihealth.or.th/Content/20045-อาหารเช้ามื้อสำคัญ%20%

บำรุงสมองวัยเรียน.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31