ปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการปลูกข้าวโพดของเกษตรกรกลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ประกาศิต ทอนช่วย มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์, อาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, เกษตรกรกลุ่มชาติพันธ์, การปลูกข้าวโพด

บทคัดย่อ

การเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงชันทำให้เกิดความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ซึ่งส่งผลต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงาน การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงด้านการยศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของเกษตรกรกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปลูกข้าวโพดในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย จำนวน 250 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการยศาสตร์ และอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า อัตราความชุกของอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในช่วง 7 วัน และ 12 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 73.2 (95% CI = 68.0-78.4) และร้อยละ 75.6 (95% CI = 69.6-80.8) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) คือ การไม่ได้รับการศึกษา (OR = 2.40, 95% CI = 1.12-5.14) ดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 18.50 (OR = 9.96, 95% CI = 1.95-50.93) การสูบบุหรี่ (OR = 2.41, 95% CI = 1.12-5.19) ประสบการณ์การทำงานมากกว่า 12 ปี (OR = 2.29, 95% CI = 1.12-4.69) และการหยุดพักระหว่างการทำงานมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ครั้ง (OR = 3.46, 95% CI = 1.78-6.73) สำหรับปัจจัยด้านการยศาสตร์ ได้แก่ การทำงานบนพื้นที่สูงชัน (OR = 9.89, 95% CI = 1.31-74.97)  ท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม (OR = 6.43, 95% CI = 3.15-13.12)  และการทำงานที่ต้องออกแรงมาก (OR = 4.42, 95% CI = 1.49-13.10)

ปัจจัยด้านการยศาสตร์มีความสำคัญต่อการเกิดอาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการให้อาชีวสุขศึกษา เพื่อให้เกษตรกรนำความรู้มาปรับปรุงท่าทางการทำงานและลดความเสี่ยงทางสุขภาพจากการทำงาน

References

1. อรรถพล แก้วนวล, บรรพต โลหะพูนตระกูล, กลางเดือน โพชนา. ความชุกของความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในอาชีพต่างๆ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 12: 53-64.
2. Holmberg S, Stiernstrom EL, Thelin A, Svardsudd K. Musculoskeletal symptoms among farmers and non-farmers: a population-based study. International Journal of Occupational and Environmental Health. 2002; 8 :339-45.
3. Holmberg S, Thelin A, Stiernstrom E, Svardsudd K. The impact of physical work exposure on musculoskeletal symptoms among farmers and rural non-farmers. Annals of Agricultural and Environmental Medicine. 2003;10:179-84.
4. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2560.
5. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2559. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม; 2559.
6. น้ำเงิน จันทรมณี. ความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานของอาชีพแรงงานนอกระบบภาคเกษตรกรรม อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560; 11: 112-123.
7. Jo H, Baek S, Park H-W, Lee S-A, Moon J, Yang JE, et al. Farmers' cohort for agricultural work-related musculoskeletal disorders (FARM) study: study design, methods, and baseline characteristics of enrolled subjects. Journal of epidemiology. 2016; 26 :50-6.
8. Apidechkul K, Wongnuch P, Sittisarn S, Ruanjai T. Health situation of Akha Hill Tribe in Chiang Rai Province, Thailand. Journal of Public Health and Development. 2016; 14 :77-97.
9. ดรุณี พวงบุตร. เอกสารประกอบการสอน รายวิชาพืชไร่เศรษฐกิจ. คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี; 2560.
10. ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล, ธานี แก้วธรรมานุกูล, อนนท์ วิสุทธิ์ธนานนท์, วิไลพรรณ ใจวิไล. สถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวโพด. พยาบาลสาร 2562; 46 : 5-17.
11. กตัณชานุช สมนา. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อของเกษตรกรปลูกข้าวโพด ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.
12. อนิรุจน์ มะโนธรรม. การศึกษาแนวทางด้านการยศาสตร์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติทางระบบโครงร่าง กระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทํางานของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จังหวัดลําปาง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม 2561; 17: 95-103.
13. Shin G, Mirka G. The effects of a sloped ground surface on trunk kinematics and L5/S1 moment during lifting. Ergonomics 2004; 47: 646-59.
14. Reiser RF, Dalton EA. Effect of floor slope and load carriage on standing posture. Biomedical Sciences Instrumentation 2005; 41: 25-30.
15. Biswas G, Bhattacharya A, Bhattacharya R. Work-related musculoskeletal disorders: A case study among male molasses workers in Nadia district of West Bengal, India. International Journal of Medical Science and Public Health 2017; 6: 1706-1712.
16. Luangwilai T, Norkaew S, Siriwong W. Factors associated with musculoskeletal disorders among rice farmers: cross sectional study in Tarnlalord Sub-District, Phimai District, Nakhonratchasima Province, Thailand. Journal of Health Research 2014; 28: 85-91.
17. Karukunchit U, Puntumetakul R, Swangnetr M, Boucaut R. Prevalence and risk factor analysis of lower extremity abnormal alignment characteristics among rice farmers. Patient preference and adherence 2015; 9: 785-95.
18. พีรพงษ์ จันทราเทพ, สุนิสา ชายเกลี้ยง.ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำพู. วารสารวิจัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2554; 4: 49-58.
19. Min D, Baek S, Park HW, Lee SA, Moon J, Yang JE, et al. Prevalence and characteristics of musculoskeletal pain in Korean farmers. Annals of Rehabilitation Medicine 2016; 40: 1-13.
20. Paul S, Mitra K, Chakrabarty A, Das DK. Prevalence of musculoskeletal disorders and its Correlates among agricultural workers in Bhatar Block of Purba Bardhaman District, West Bengal. Journal of Dental and Medical Sciences 2019; 18: 22-28.
21. จันจิรา ทิพวัง, กาญจนา นาถะพินธุ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดกล้ามเนื้อของกลุ่มอาชีพเย็บผ้าโหล ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559; 23: 46-61.
22. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่จัน. รายงานประจำปี 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงราย: สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่จัน; 2560.
23. สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงราย. รายงานสถิติจังหวัดเชียงราย. เชียงราย: สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงราย; 2560.
24. ละเอียด ศิลาน้อย. การใช้สูตรทางสถิติ (ที่ถูกต้อง) ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณในทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2560; 12: 50-61.
25. Kuorinka I, Jonsso B, Kibom A, Vinterberg H, Biering-Sorensen F, Andersson G, Jorgensen K. Standardised nordic questionnaires for the analysis of musculoskeletal symptoms. Applied Ergonomics 1987; 18: 233-237.
26. อนัญญา ชุ่มธิ, วีระพร ศุทธากรณ์, วันเพ็ญ ทรงคำ. ภาระงานทางกายและอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อของเกษตรกรปลูกข้าวโพดฝักอ่อน. พยาบาลสาร 2560; 44: 127-137.
27. อนุวัฒน์ อัคคีสุวรรณ์, นุจรีย์ แซ่จิว, จำนงค์ ธนะภพ, จันจิรา มหาบุญ. การบาดเจ็บและอาการทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและกระดูก อันเนื่องมาจากการทำงาน ของเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพสวนปาล์ม เขตพื้นที่ตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2558; 8: 48-58.
28. รัชนี จูมจี, อรอนงค์ บุรีเลิศ, นพรัตน์ ส่งเสริม, เฉลิมสิริ เทพพิทักษ์. ความชุกของอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา. การประชุมวิชาการทางการยศาสตร์แห่งชาติ; 2559.
29. สุนิสา ชายเกลี้ยง, รัชติญา นิธิธรรมธาดา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดคอ ไหล่ หลังของทันตบุคลากรในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2559; 46: 42-56.
30. AL-Bashaireh AM, Haddad LG, Weaver M, Kelly DL, Chengguo X, Yoon S. The effect of tobacco smoking on musculoskeletal health: A systematic review. Journal of Environmental and Public Health. 2018;106.
31. Manothum A, Arphorn S. Study of ergonomic risks of maize farmers in Lampang, Thailand. The Journal of Industrial Technology. 2018; 14: 73-81.
32. Phajan T, Nilvarangkul K, Settheetham D, Laohasiriwong W. Work-related musculoskeletal disorders among sugarcane farmers in north-eastern Thailand. Asia Pacific Journal of Public Health. 2014; 26 :320-7.
33. สิริโชค ปะทิ, สายหยุด มูลเพ็ชร, พิศักดิ์ ชินชัย. พฤติกรรมเสี่ยงต่ออาการปวดหลังของเกษตรกรชาวสวนลำไยที่เข้ารับการรักษาโดยวิธีกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. ลำปางเวชสาร 2560; 38: 59-68
34. เพชรรัตน์ แก้วดวงดี, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล, วัณทนา ศิริธราธิวัตร, ยอดชาย บุญประกอบ, สาวิตรี วันเพ็ญ, ภาณี ฤทธิ์มาก, ยุพา ถาวรพิทักษ์. ความชุกและปัจจัยด้านท่าทางการทำงานที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมสิ่งทอ (แหอวน) จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26: 317-324.
35. Thetkathuek A, Meepradit P, Sa-ngiamsak T. A cross-sectional study of musculoskeletal symptoms and risk factors in Cambodian fruit farm workers in eastern region, Thailand. Safety and Health at Work. 2018; 9:192-202.
36. พรพิรมย์ ทัศนาวงศ์, วิโรจน์ จันทร, จุฑารัตน์ รักประสิทธิ์. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในเกษตรกรเก็บใบชา ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. ศรีนครินทร์เวชสาร 2561; 33: 457-464.
37. อิสรีย์รัช สืบศรี, มัณฑนา ดำรงศักดิ์, ธีรนุช ห้านิรัติศัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บโครงร่างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในผู้ประกอบอาชีพผลิตธูป. พยาบาลสาร 2556; 40: 108-119.
38. ณัฏฐพร ประดิษฐพจน์, สันทณี เครือขอน, กาญจนา ควรพึ่ง, นรัฐ ปัญญาศักดิ์, สุชาติ ทองอาจ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของพนักงานขนผลไม้ จังหวัดปทุมธานี. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2560; 17: 60-68.
39. Ng YG, Mohd Tamrin SB, Mohd Yusoff IS, Hashim Z, Deros BM, Abu Bakar S, How V. Risk factors of musculoskeletal disorders among oil palm fruit harvesters during early harvesting stage. Annals of Agricultural and Environmental Medicine 2015; 22: 285-291.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-13